ครุศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมมือหลักสูตรภูมิพลังแผ่นดิน เร่งพัฒนาครูต้นแบบเพื่อยกระดับการศึกษาใน อ.แก่งคอย จ.สระบุรี ชูเป็นต้นแบบชุมชน เผยเดินหน้าอบรมครูต้นแบบทั้งเทคนิคการสอน ออกข้อสอบ วิเคราะห์และตรวจข้อสอบเดือน ก.ค. และตลอดภาคการศึกษาปลาย 2557
วันที่ (16 ก.ค.) ที่คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับกับผู้เข้าอบรมหลักสูตร ภูมิพลังแผ่นดิน สำหรับผู้บริหารระดับสูงรุ่นที่ 2 จัดแถลงข่าวโครงการพัฒนาศักยภาพสถานศึกษาและชุมชน (ครูต้นแบบ) อ.แก่งคอย จ.สระบุรี โดย รศ.ดร.ชนิตา รักษ์พลเมือง คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า โครงการดังกล่าวเริ่มดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2556 ใน อ.แก่งคอย จ.สระบุรี เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานการศึกษา ด้วยกระบวนการสร้างคน พัฒนาและแก้ปัญหาชุมชน โดยมุ่งเน้นการพัฒนา “ครูต้นแบบ” ให้เป็นแม่พิมพ์ของชุมชน สามารถใช้ความรู้ ศักยภาพ และการสอนเป็นต้นแบบในการขับเคลื่อน ยกระดับครูในพื้นที่ เพราะครูเป็นคำตอบของทุกอย่าง ซึ่งจากการที่มหาวิทยาลัยได้จัดการสำรวจความต้องการ สภาพปัญหาของชุมชนกลุ่มเป้าหมาย พบว่า สิ่งที่ชุมชนต้องการ คือ เพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ครูต้นแบบ เพิ่มคะแนนการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) และความรู้เรื่องอาเซียน ทางโครงการจึงได้ลงพื้นที่ พัฒนาครู ที่ไม่ใช่เป็นการดึงครูออกจากห้องเรียน หรือทำให้ครูทิ้งเด็ก และเพิ่มศักยภาพการเรียนการสอน จนทำให้ผลการประเมินในปี 2556 คะแนน O-Net ของนักเรียนดีขึ้นอย่างมาก
ดังนั้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาครูอย่างต่อเนื่อง ทางคณะและหลักสูตรภูมิพลังแผ่นดิน จะจัดอบรมให้แก่ครูระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาใน อ.แก่งคอย จ.สระบุรี ทั้งสิ้น 261 คน โดยได้รับการสนับสนุนและร่วมมือจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 และประธานกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษา อ.แก่งคอย สำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาเขต 4 ซึ่งโครงการจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 - 27 ก.ค. 2557 และวันที่ 2 ส.ค.2557 และตลอดภาคการศึกษาปลาย 2557 จะเป็นการนิเทศติดตามและประเมินผลโครงการอีกครั้ง ทั้งนี้ จะมีการอบรมครูต้นแบบประกอบด้วย เทคนิคการสอนรายวิชาหลัก 4 วิชา ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และอาเซียนศึกษา รวมถึงเทคนิคการออกข้อสอบ วิเคราะห์และตรวจข้อสอบ โดยมีวิทยากรต้นแบบจากโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถมและฝ่ายมัธยมศึกษา เป็นผู้ให้การอบรม
รศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ประธานหลักสูตรภูมิพลังแผ่นดิน กล่าวว่า โครงการนี้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงจังหวะเวลาที่เหมาะสม กับการเปลี่ยนแปลงและความต้องการของประเทศในปัจจุบัน เพราะขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงปฎิรูปประเทศ ซึ่งหัวใจการปฎิรูปประเทศที่สำคัญที่สุด คือการปฎิรูปการศึกษา และหัวใจการปฎิรูปการศึกษา คือการสร้าง เตรียม และพัฒนาคนที่จะเป็นอนาคต หรือเยาวชนของชาติที่จะเข้ามาขับเคลื่อน ผลักดันให้ประเทศก้าวหน้าต่อไป และผู้ที่จะสร้างเยาวชนที่ดีของชาติ คือครู ดังนั้น ครูคือหัวใจปฎิรูปการศึกษาโครงการนี้ จึงเป็นโครงการที่มองเห็นว่าการปฎิรูปคน ครู คือหัวใจที่นำมาพามาซึ่งความเจริญยั่งยืนของประเทศ และสอดคล้องกับเจตจำนงค์ของจุฬาฯ ในการเป็นเสาหลักของแผ่นดิน
ด้าน ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดี จุฬาฯ กล่าวว่า โครงการนี้เป็นความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กับหลักสูตรภูมิพลังแผ่นดิน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของจุฬาฯ ที่ต้องการขยายโอกาสทางการศึกษาสูงภูมิภาค เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้สู่ประชาชน และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมน ภายใต้ยุทธศาสตร์เกื้อกูลของมหาวิทยาลัย และคณะครุศาสตร์ได้ดำเนินการตามนโยบายของมหาวิทยาลัย ดังนั้น โครงการนี้จะก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในความร่วมมือการพัฒนาครู ผู้เรียน และสถานศึกษาโดยเริ่มที่ อ.แก่งคอย จะสระบุรี เพื่อนำร่องเป็นต้นแบบในชุมชนอื่นต่อไป
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันที่ (16 ก.ค.) ที่คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับกับผู้เข้าอบรมหลักสูตร ภูมิพลังแผ่นดิน สำหรับผู้บริหารระดับสูงรุ่นที่ 2 จัดแถลงข่าวโครงการพัฒนาศักยภาพสถานศึกษาและชุมชน (ครูต้นแบบ) อ.แก่งคอย จ.สระบุรี โดย รศ.ดร.ชนิตา รักษ์พลเมือง คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า โครงการดังกล่าวเริ่มดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2556 ใน อ.แก่งคอย จ.สระบุรี เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานการศึกษา ด้วยกระบวนการสร้างคน พัฒนาและแก้ปัญหาชุมชน โดยมุ่งเน้นการพัฒนา “ครูต้นแบบ” ให้เป็นแม่พิมพ์ของชุมชน สามารถใช้ความรู้ ศักยภาพ และการสอนเป็นต้นแบบในการขับเคลื่อน ยกระดับครูในพื้นที่ เพราะครูเป็นคำตอบของทุกอย่าง ซึ่งจากการที่มหาวิทยาลัยได้จัดการสำรวจความต้องการ สภาพปัญหาของชุมชนกลุ่มเป้าหมาย พบว่า สิ่งที่ชุมชนต้องการ คือ เพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ครูต้นแบบ เพิ่มคะแนนการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) และความรู้เรื่องอาเซียน ทางโครงการจึงได้ลงพื้นที่ พัฒนาครู ที่ไม่ใช่เป็นการดึงครูออกจากห้องเรียน หรือทำให้ครูทิ้งเด็ก และเพิ่มศักยภาพการเรียนการสอน จนทำให้ผลการประเมินในปี 2556 คะแนน O-Net ของนักเรียนดีขึ้นอย่างมาก
ดังนั้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาครูอย่างต่อเนื่อง ทางคณะและหลักสูตรภูมิพลังแผ่นดิน จะจัดอบรมให้แก่ครูระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาใน อ.แก่งคอย จ.สระบุรี ทั้งสิ้น 261 คน โดยได้รับการสนับสนุนและร่วมมือจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 และประธานกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษา อ.แก่งคอย สำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาเขต 4 ซึ่งโครงการจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 - 27 ก.ค. 2557 และวันที่ 2 ส.ค.2557 และตลอดภาคการศึกษาปลาย 2557 จะเป็นการนิเทศติดตามและประเมินผลโครงการอีกครั้ง ทั้งนี้ จะมีการอบรมครูต้นแบบประกอบด้วย เทคนิคการสอนรายวิชาหลัก 4 วิชา ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และอาเซียนศึกษา รวมถึงเทคนิคการออกข้อสอบ วิเคราะห์และตรวจข้อสอบ โดยมีวิทยากรต้นแบบจากโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถมและฝ่ายมัธยมศึกษา เป็นผู้ให้การอบรม
รศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ประธานหลักสูตรภูมิพลังแผ่นดิน กล่าวว่า โครงการนี้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงจังหวะเวลาที่เหมาะสม กับการเปลี่ยนแปลงและความต้องการของประเทศในปัจจุบัน เพราะขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงปฎิรูปประเทศ ซึ่งหัวใจการปฎิรูปประเทศที่สำคัญที่สุด คือการปฎิรูปการศึกษา และหัวใจการปฎิรูปการศึกษา คือการสร้าง เตรียม และพัฒนาคนที่จะเป็นอนาคต หรือเยาวชนของชาติที่จะเข้ามาขับเคลื่อน ผลักดันให้ประเทศก้าวหน้าต่อไป และผู้ที่จะสร้างเยาวชนที่ดีของชาติ คือครู ดังนั้น ครูคือหัวใจปฎิรูปการศึกษาโครงการนี้ จึงเป็นโครงการที่มองเห็นว่าการปฎิรูปคน ครู คือหัวใจที่นำมาพามาซึ่งความเจริญยั่งยืนของประเทศ และสอดคล้องกับเจตจำนงค์ของจุฬาฯ ในการเป็นเสาหลักของแผ่นดิน
ด้าน ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดี จุฬาฯ กล่าวว่า โครงการนี้เป็นความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กับหลักสูตรภูมิพลังแผ่นดิน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของจุฬาฯ ที่ต้องการขยายโอกาสทางการศึกษาสูงภูมิภาค เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้สู่ประชาชน และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมน ภายใต้ยุทธศาสตร์เกื้อกูลของมหาวิทยาลัย และคณะครุศาสตร์ได้ดำเนินการตามนโยบายของมหาวิทยาลัย ดังนั้น โครงการนี้จะก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในความร่วมมือการพัฒนาครู ผู้เรียน และสถานศึกษาโดยเริ่มที่ อ.แก่งคอย จะสระบุรี เพื่อนำร่องเป็นต้นแบบในชุมชนอื่นต่อไป
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่