หนุนผู้พิการมีงานทำ กกจ.นัดถก ส.อ.ท. หาแนวทางจ้างงาน ผู้ประกอบการยันไม่อยากส่งเงินเข้ากองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ชี้ไม่ใช่แนวทางช่วยเหลือที่ยั่งยืน อยากให้มีรายได้พึ่งพาตนเอง
นายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ได้หารือกับผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เกี่ยวกับการจ้างงานผู้พิการตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ พ.ศ.2550 ซึ่งกำหนดให้สถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 100 คนขึ้นไป ต้องจ้างผู้พิการ 1 คน หากผู้ประกอบการไม่สามารถจ้างงานผู้พิการได้ จะต้องปฏิบัติตามมาตรา 34 ส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการโดยจะต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการวันละ 300 บาท ในเวลา 365 วัน หรือคิดเป็นเงินทั้งหมดปีละ 109,500 บาทต่อผู้พิการ 1 คน หรือดำเนินการตามมาตรา 35 โดยการให้สัมปทาน สถานที่จำหน่ายสินค้าให้แก่ผู้พิการ ทั้งนี้ ผู้แทน ส.อ.ท. ได้ยืนยันว่ามีความต้องการจ้างงานผู้พิการเป็นหลัก และไม่ต้องการส่งเงินเข้ากองทุนฯ เนื่องจากมองว่าไม่ได้เป็นการช่วยเหลือให้ผู้พิการสามารถพึ่งพาตนเองและมีรายได้เลี้ยงตัว
“กกจ. และ ส.อ.ท. มีความเห็นสอดคล้องกัน คือ ต้องการให้มีการจ้างงานผู้พิการเพื่อให้พวกเขาสามารถยืนหยัดและเลี้ยงตัวเองได้ อยู่อย่างมีศักดิ์ศรี และใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข การส่งเงินเข้ากองทุนฯไม่ใช่แนวทางที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการอย่างยั่งยืน ผมได้นัดผู้แทน ส.อ.ท. หารือถึงแนวทางการจ้างงานผู้พิการในวันที่ 21 ก.ค.นี้” อธิบดี กกจ. กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากข้อมูลของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) พบว่า ปัจจุบันมีผู้พิการประมาณกว่า 1.3 ล้านคน เป็นวัยแรงงานประมาณกว่า 7 แสนคน โดยในจำนวนนี้มีการประกอบอาชีพประมาณ 2.6 แสนคนไม่ได้ประกอบอาชีพประมาณกว่า 4.3 แสนคน และช่วยเหลือตนเองไม่ได้อีกประมาณ 2,200 คน ขณะที่ข้อมูลของกระทรวงแรงงานขณะนี้มีสถานประกอบการทั่วประเทศจะต้องจ้างงานผู้พิการประมาณ 47,000 คน และจ้างงานไปแล้วประมาณ 27,000 คน ยังคงเหลือจำนวนผู้พิการที่ต้องจ้างงานอีกประมาณ 20,000 คน
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ได้หารือกับผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เกี่ยวกับการจ้างงานผู้พิการตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ พ.ศ.2550 ซึ่งกำหนดให้สถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 100 คนขึ้นไป ต้องจ้างผู้พิการ 1 คน หากผู้ประกอบการไม่สามารถจ้างงานผู้พิการได้ จะต้องปฏิบัติตามมาตรา 34 ส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการโดยจะต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการวันละ 300 บาท ในเวลา 365 วัน หรือคิดเป็นเงินทั้งหมดปีละ 109,500 บาทต่อผู้พิการ 1 คน หรือดำเนินการตามมาตรา 35 โดยการให้สัมปทาน สถานที่จำหน่ายสินค้าให้แก่ผู้พิการ ทั้งนี้ ผู้แทน ส.อ.ท. ได้ยืนยันว่ามีความต้องการจ้างงานผู้พิการเป็นหลัก และไม่ต้องการส่งเงินเข้ากองทุนฯ เนื่องจากมองว่าไม่ได้เป็นการช่วยเหลือให้ผู้พิการสามารถพึ่งพาตนเองและมีรายได้เลี้ยงตัว
“กกจ. และ ส.อ.ท. มีความเห็นสอดคล้องกัน คือ ต้องการให้มีการจ้างงานผู้พิการเพื่อให้พวกเขาสามารถยืนหยัดและเลี้ยงตัวเองได้ อยู่อย่างมีศักดิ์ศรี และใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข การส่งเงินเข้ากองทุนฯไม่ใช่แนวทางที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการอย่างยั่งยืน ผมได้นัดผู้แทน ส.อ.ท. หารือถึงแนวทางการจ้างงานผู้พิการในวันที่ 21 ก.ค.นี้” อธิบดี กกจ. กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากข้อมูลของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) พบว่า ปัจจุบันมีผู้พิการประมาณกว่า 1.3 ล้านคน เป็นวัยแรงงานประมาณกว่า 7 แสนคน โดยในจำนวนนี้มีการประกอบอาชีพประมาณ 2.6 แสนคนไม่ได้ประกอบอาชีพประมาณกว่า 4.3 แสนคน และช่วยเหลือตนเองไม่ได้อีกประมาณ 2,200 คน ขณะที่ข้อมูลของกระทรวงแรงงานขณะนี้มีสถานประกอบการทั่วประเทศจะต้องจ้างงานผู้พิการประมาณ 47,000 คน และจ้างงานไปแล้วประมาณ 27,000 คน ยังคงเหลือจำนวนผู้พิการที่ต้องจ้างงานอีกประมาณ 20,000 คน
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่