สพฐ. ทำโปรแกรมเรียนรู้คำศัพท์ไทย-มอญ แจก ร.ร. ให้ 10 เขตพื้นที่ฯ กระจายให้ 26 โรง
นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จัดทำโครงการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนโรงเรียนแนวชายแดนและพื้นที่พิเศษ เพื่อสนับสนุนให้นำภาษาท้องถิ่นเข้ามาจัดการเรียนรู้และใช้วิธีการสอนภาษาไทยอย่างการสอนภาษาที่สองสำหรับเด็กชนเผ่า ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบันเด็กไทย มีจำนวนประมาณ 8 - 9 ล้านคน แต่ในจำนวนนี้มีประมาณ 2 แสนคนที่ไม่ได้พูดและใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่ หรือ ภาษาที่ 1 แต่ใช้ภาษาชนเผ่าหรือภาษาถิ่นตนเองสื่อสารเป็นหลักซึ่งมีอยู่หลายภาษา อาทิ กะเหรี่ยง มูเซอ มอร์แกน มอญ เป็นต้น
ดังนั้น เพื่อให้การพัฒนาการเรียนการสอนของเด็ก สพฐ. จึงได้นำร่องจัดทำพจนานุกรมภาษาไทย - มอญ โดยมอบให้มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร จัดทำโปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาท้องถิ่น ภาษาไทย - มอญ (Thai-Dialect Dictionary App.) โดยนำไปติดตั้งในแท็บเล็ต รวมทั้งทำในรูปแบบดีวีดี และบรรจุใน Micro SD Card โดยขณะนี้สพฐ.จะจัดส่งโปรแกรมคำศัพท์ภาษาท้องถิ่น ภาษาไทย - มอญ ไปให้ 10 เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) เพื่อกระจายไปยัง 26 โรงเรียนกลุ่มเป้าหมายที่มีเด็กพูดภาษามอญอยู่จำนวนมาก ได้แก่ สพป.กาญจนบุรี เขต 3, สพป.สมุทรสาคร, สพป.ราชบุรี เขต 2, สพป.เชียงใหม่ เขต5, สพป.เชียงราย เขต 1, 3 และ 4, สพป.ตาก เขต 2, สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 2, สพป.สุรินทร์ เขต 3 เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอน
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จัดทำโครงการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนโรงเรียนแนวชายแดนและพื้นที่พิเศษ เพื่อสนับสนุนให้นำภาษาท้องถิ่นเข้ามาจัดการเรียนรู้และใช้วิธีการสอนภาษาไทยอย่างการสอนภาษาที่สองสำหรับเด็กชนเผ่า ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบันเด็กไทย มีจำนวนประมาณ 8 - 9 ล้านคน แต่ในจำนวนนี้มีประมาณ 2 แสนคนที่ไม่ได้พูดและใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่ หรือ ภาษาที่ 1 แต่ใช้ภาษาชนเผ่าหรือภาษาถิ่นตนเองสื่อสารเป็นหลักซึ่งมีอยู่หลายภาษา อาทิ กะเหรี่ยง มูเซอ มอร์แกน มอญ เป็นต้น
ดังนั้น เพื่อให้การพัฒนาการเรียนการสอนของเด็ก สพฐ. จึงได้นำร่องจัดทำพจนานุกรมภาษาไทย - มอญ โดยมอบให้มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร จัดทำโปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาท้องถิ่น ภาษาไทย - มอญ (Thai-Dialect Dictionary App.) โดยนำไปติดตั้งในแท็บเล็ต รวมทั้งทำในรูปแบบดีวีดี และบรรจุใน Micro SD Card โดยขณะนี้สพฐ.จะจัดส่งโปรแกรมคำศัพท์ภาษาท้องถิ่น ภาษาไทย - มอญ ไปให้ 10 เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) เพื่อกระจายไปยัง 26 โรงเรียนกลุ่มเป้าหมายที่มีเด็กพูดภาษามอญอยู่จำนวนมาก ได้แก่ สพป.กาญจนบุรี เขต 3, สพป.สมุทรสาคร, สพป.ราชบุรี เขต 2, สพป.เชียงใหม่ เขต5, สพป.เชียงราย เขต 1, 3 และ 4, สพป.ตาก เขต 2, สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 2, สพป.สุรินทร์ เขต 3 เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอน
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่