สพฐ. นำร่องเรียน - สอนภาษาอังกฤษเพื่อการประกอบอาชีพ ในกลุ่ม ร.ร. ขยายโอกาส ตั้งเป้าให้นักเรียนกลุ่มที่ไม่เรียนต่อมีความรู้ทักษะภาษาติดตัวเพื่อใช้ประกอบอาชีพได้เมื่อไทยก้าวเข้าสู่อาเซียน เบื้องต้นนำร่องใน 450 โรงเรียนเริ่มภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557ก่อนขยายผลให้ครบ 7,000 โรง
นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสถาบันภาษาอังกฤษ ได้พัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการประกอบอาชีพขึ้นมาเพื่อนำมาใช้ในโรงเรียนขยายโอกาส นักเรียนส่วนใหญ่ของโรงเรียนประเภทนี้มีฐานะยากจน จึงมีโอกาสเรียนต่อน้อยมาก ต้องออกไปประกอบอาชีพหลังสำเร็จระดับมัธยมต้น ขณะเดียวกัน ประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 สพฐ. จึงพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพขึ้นมา เพื่อนำไปสอนในโรงเรียนขยายโอกาส โดยมีเป้าหมายให้นักเรียนสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้เพียงพอจะหางานทำ หรือประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ ได้หลังเรียนจบ ม.3
สำหรับหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่ออาชีพนั้น จะเน้นสอนให้เด็กสามารถสนทนาหรือสื่อสารได้ในสถานการณ์พื้นฐานของการประอาชีพ 10 กลุ่มอาชีพ อาทิ เช่น ภาษาอังกฤษสำหรับการโรงแรม (English for Hotels ) ภาษาอังกฤษสำหรับช่างก่อสร้าง (English for Construction Workers) ภาษาอังกฤษสำหรับพนักงานเก็บเงิน (English for Cashies ) ภาษาอังกฤษสำหรับร้านสะดวก (English for Convenience Stores) ทั้ง นี้ โรงเรียนจะพิจารณาปรับการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษเดิม เปิดช่องให้สอนแทรกการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพ และอาจจัดกิจกรรมเสริมเพิ่มเติมโดยจำเป็นต้องเพิ่มชั่วโมงเรียนวิชาภาษาอังกฤษอีก เพราะ สพฐ.ไม่ต้องการให้นักเรียนต้องเรียนมากเกินไป
“ขณะนี้ สพฐ. ได้จัดอบรมครูภาษาอังกฤษจาก ร.ร. ขยายโอกาสทั่วประเทศไปแล้ว 4 รุ่น รวม 450 คน เพราะฉะนั้น จะนำร่องการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 ในโรงเรียนขยาย 450 โรงก่อน จากนั้น ก็จะขยายผลให้ครอบคลุมโรงเรียนขยายโอกาสทั้งหมดประมาณ 7,000 โรง” นายกมล กล่าวและว่า สำหรับการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพนั้น เป็นไปตามนโยบายการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของ สพฐ. ซึ่งต้องการส่งเสริมให้มีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่มีมาตรฐาน แต่ด้วยวิธีการที่แตกต่างกันได้ทั้งนี้ตามความพร้อมของแต่ละสถานศึกษาและแสดงถึงความถนัดและความสนใจของผู้เรียนด้วย
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสถาบันภาษาอังกฤษ ได้พัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการประกอบอาชีพขึ้นมาเพื่อนำมาใช้ในโรงเรียนขยายโอกาส นักเรียนส่วนใหญ่ของโรงเรียนประเภทนี้มีฐานะยากจน จึงมีโอกาสเรียนต่อน้อยมาก ต้องออกไปประกอบอาชีพหลังสำเร็จระดับมัธยมต้น ขณะเดียวกัน ประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 สพฐ. จึงพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพขึ้นมา เพื่อนำไปสอนในโรงเรียนขยายโอกาส โดยมีเป้าหมายให้นักเรียนสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้เพียงพอจะหางานทำ หรือประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ ได้หลังเรียนจบ ม.3
สำหรับหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่ออาชีพนั้น จะเน้นสอนให้เด็กสามารถสนทนาหรือสื่อสารได้ในสถานการณ์พื้นฐานของการประอาชีพ 10 กลุ่มอาชีพ อาทิ เช่น ภาษาอังกฤษสำหรับการโรงแรม (English for Hotels ) ภาษาอังกฤษสำหรับช่างก่อสร้าง (English for Construction Workers) ภาษาอังกฤษสำหรับพนักงานเก็บเงิน (English for Cashies ) ภาษาอังกฤษสำหรับร้านสะดวก (English for Convenience Stores) ทั้ง นี้ โรงเรียนจะพิจารณาปรับการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษเดิม เปิดช่องให้สอนแทรกการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพ และอาจจัดกิจกรรมเสริมเพิ่มเติมโดยจำเป็นต้องเพิ่มชั่วโมงเรียนวิชาภาษาอังกฤษอีก เพราะ สพฐ.ไม่ต้องการให้นักเรียนต้องเรียนมากเกินไป
“ขณะนี้ สพฐ. ได้จัดอบรมครูภาษาอังกฤษจาก ร.ร. ขยายโอกาสทั่วประเทศไปแล้ว 4 รุ่น รวม 450 คน เพราะฉะนั้น จะนำร่องการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 ในโรงเรียนขยาย 450 โรงก่อน จากนั้น ก็จะขยายผลให้ครอบคลุมโรงเรียนขยายโอกาสทั้งหมดประมาณ 7,000 โรง” นายกมล กล่าวและว่า สำหรับการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพนั้น เป็นไปตามนโยบายการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของ สพฐ. ซึ่งต้องการส่งเสริมให้มีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่มีมาตรฐาน แต่ด้วยวิธีการที่แตกต่างกันได้ทั้งนี้ตามความพร้อมของแต่ละสถานศึกษาและแสดงถึงความถนัดและความสนใจของผู้เรียนด้วย
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่