อึ้ง! คนรุ่นใหม่เมินอาชีพนักจดหมายเหตุ - โบราณคดี เหตุเรียนไม่มีงานรองรับ วธ. จับมือ ม.ศิลปากร เปิด ป.โท หลักสูตรการจัดการจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม สอนโดยตรง เน้น ขรก. นำองค์ความรู้ทางการวิจัยมาพัฒนาใช้ในการปฏิบัติงาน ดึงความสนใจคนรุ่นใหม่
ศ. ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ วธ. และมหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้มีความร่วมมือในด้านวิชาการ วิจัย และบริการวิชาการด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญา และอุตสาหกรรมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ การตีพิมพ์ เผยแพร่ผลงานทางวิชาการร่วมกันเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง จิตสำนึก และค่านิยมที่ดีงามของคนในชาติ รวมทั้งพัฒนาบุคลากรของทั้งสองสถาบัน ให้สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาตนเองและองค์กร เกิดการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ
ด้าน ผศ.ชัยชาญ ถาวรเวช อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้จะนำไปสู่การเปิดการเรียนการสอนหลักสูตรปริญญาโทที่มีจุดเด่นของหลักสูตรแบบสหวิทยาการ คือ การนำเอาความรู้จากหลากหลายสาขามารวมกัน เช่น คณะจิตรกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ ช่วยให้มหาบัณฑิตย์มีความรู้เรื่องการอนุรักษ์ภาพเขียนโบราณตามวัดและโบราณสถานต่างๆ กลายมาเป็นหลักสูตรการจัดการจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม เนื่องจากที่ผ่านมาได้ศึกษาพบว่าคนรุ่นใหม่ไม่มีใครอยากเรียนด้านจดหมายเหตุ เพราะจบไปแล้วไม่รู้จะไปประกอบอาชีพอะไร มีหน่วยงานรองรับน้อยมาก ดังนั้น ทางมหาวิทยาลัยศิลปากร จึงแก้ปัญหาด้วยการนำเอาหลักสูตรหรือศาสตร์ด้านอื่นมาช่วย อาทิ หลักสูตรเกี่ยวกับเทคโนโลยี ไอที และมรดกทางวัฒนธรรมผสมผสานเข้าไปกับหลักสูตรจดหมายเหตุเพื่อให้มีเนื้อหาตรงกับสถานการณ์ปัจจุบัน ผู้ที่จบการศึกษานอกจากจะเป็นนักจดหมายเหตุแล้วสามารถไปประกอบอาชีพด้านเทคโนโลยี ไอที เป็นเลขานุการเนื่องจากมีความรู้เกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทำให้จากหลักสูตรที่ไม่มีใครสนใจ คนรุ่นใหม่ก็เริ่มเห็นคุณค่า มีความหลากหลายในวิชาชีพ และเหมาะกับข้ารากชาร วธ. เป็นอย่างมากในการอนุรักษ์และสร้างบุคลากรด้านวัฒนธรรม
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ศ. ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ วธ. และมหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้มีความร่วมมือในด้านวิชาการ วิจัย และบริการวิชาการด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญา และอุตสาหกรรมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ การตีพิมพ์ เผยแพร่ผลงานทางวิชาการร่วมกันเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง จิตสำนึก และค่านิยมที่ดีงามของคนในชาติ รวมทั้งพัฒนาบุคลากรของทั้งสองสถาบัน ให้สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาตนเองและองค์กร เกิดการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ
ด้าน ผศ.ชัยชาญ ถาวรเวช อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้จะนำไปสู่การเปิดการเรียนการสอนหลักสูตรปริญญาโทที่มีจุดเด่นของหลักสูตรแบบสหวิทยาการ คือ การนำเอาความรู้จากหลากหลายสาขามารวมกัน เช่น คณะจิตรกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ ช่วยให้มหาบัณฑิตย์มีความรู้เรื่องการอนุรักษ์ภาพเขียนโบราณตามวัดและโบราณสถานต่างๆ กลายมาเป็นหลักสูตรการจัดการจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม เนื่องจากที่ผ่านมาได้ศึกษาพบว่าคนรุ่นใหม่ไม่มีใครอยากเรียนด้านจดหมายเหตุ เพราะจบไปแล้วไม่รู้จะไปประกอบอาชีพอะไร มีหน่วยงานรองรับน้อยมาก ดังนั้น ทางมหาวิทยาลัยศิลปากร จึงแก้ปัญหาด้วยการนำเอาหลักสูตรหรือศาสตร์ด้านอื่นมาช่วย อาทิ หลักสูตรเกี่ยวกับเทคโนโลยี ไอที และมรดกทางวัฒนธรรมผสมผสานเข้าไปกับหลักสูตรจดหมายเหตุเพื่อให้มีเนื้อหาตรงกับสถานการณ์ปัจจุบัน ผู้ที่จบการศึกษานอกจากจะเป็นนักจดหมายเหตุแล้วสามารถไปประกอบอาชีพด้านเทคโนโลยี ไอที เป็นเลขานุการเนื่องจากมีความรู้เกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทำให้จากหลักสูตรที่ไม่มีใครสนใจ คนรุ่นใหม่ก็เริ่มเห็นคุณค่า มีความหลากหลายในวิชาชีพ และเหมาะกับข้ารากชาร วธ. เป็นอย่างมากในการอนุรักษ์และสร้างบุคลากรด้านวัฒนธรรม
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่