องคมนตรี เปิดอาคารสวนหัวใจและอาคารรังสีรักษา รพ.ราชบุรี ดูแลผู้ป่วยหัวใจและมะเร็งในเขตพื้นที่ ลดการส่งต่อ ด้าน สปสช. สนับสนุนงบประมาณครุภัณฑ์ ช่วยเพิ่มเข้าถึงการรักษายิ่งขึ้น
วันนี้ (7 ก.ค.) ที่โรงพยาบาลราชบุรี ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดอาคารสวนหวใจและอาคารรังสีรักษา โรงพยาบาลราชบุรี พร้อมเยี่ยมชมภายในอาคารฯ โดยมี นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี กล่าวต้อนรับ และ นพ.สุริยะ วงศ์คงคาเทพ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้กล่าวรายงานความเป็นมา โดยในการก่อสร้างอาคารสวนหัวใจและอาคารรังสีรักษานี้ งบประมาณส่วนหนึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่เล็งเห็นความสำคัญต่อการเข้าถึงการรักษาของผู้ป่วยโรคหัวใจและมะเร็งในเขตราชบุรี
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคมะเร็ง นับเป็นโรคที่มีอัตราการป่วยสูงอยู่ในระดับต้นๆ ของปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย ซึ่งในผู้ป่วยที่มีภาวะโรคลุกลามจำเป็นเป็นต้องได้รับการรักษาโดยเร็ว แต่ด้วยการรักษาที่มีความซับซ้อน ผู้ป่วยจึงต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิที่มีศักยภาพพร้อม ทั้งด้านแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงเครื่องมือแพทย์ ส่งผลต่อการเข้าถึงการรักษาของผู้ป่วย
ทั้งนี้ เขตราชบุรี ซึ่งประกอบด้วย 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดราชบุรี, สุพรรณบุรี, กาญจนบุรี, นครปฐม, สมุทรสาคร, สมุทรสงคราม, เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ นับเป็นพื้นที่ซึ่งมีปัญหาการเข้าถึงการรักษาอย่างมาก โดยในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งที่จำเป็นต้องได้รับการฉายรังสีรักษา มีปัญหาการเข้าถึง ซึ่งเกิดจากพื้นที่ไม่มีหน่วยบริการที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะให้การรักษาผู้ป่วยได้ ที่ผ่านมาผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาเหล่านี้จึงจะถูกส่งต่อเข้ารักษายังโรงพยาบาลยังเขตพื้นที่อื่นทั้งหมด ขณะที่การรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจด้วยการใส่สายสวน แม้ว่าจะมีจะมีหน่วยบริการในพื้นที่รักษาได้ แต่ยังไม่เพียงพอต่อผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับบริการ
นพ.วินัย กล่าวว่า จากข้อมูลการส่งต่อผู้ป่วยมะเร็งเขตราชบุรี ปี 2556 พบว่า ในกลุ่มผู้ป่วยในมีการส่งต่อผู้ป่วย 351 ครั้ง โดยโรงพยาบาลที่รับส่งต่อ คือ 1. โรงพยาบาลมหาวชิราลงกรณ์ ธัญบุรี ร้อยละ 37.6 หรือ 132 ครั้ง 2. สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ร้อยละ 32.47 หรือ 114 ครั้ง และ 3. ศูนย์มะเร็งลพบุรี ร้อยละ 11.68 หรือ 41 ครั้ง ขณะนี้ในส่วนผู้ป่วยนอก มีการส่งต่อถึง 11,966 ครั้ง โรงพยาบาลที่รับส่งต่อผู้ป่วย 1. โรงพยาบาลศิริราช ร้อยละ 25.94 หรือ 3105 ครั้ง 2. สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ร้อยละ 20.96 หรือ 2,508 ครั้ง 3. โรงพยาบาลราชวิถี ร้อยละ 18.10 หรือ 2166 ครั้ง และ 4. ศูนย์มะเร็งลพบุรี ร้อยละ 9.81 หรือ 1,174 ครั้ง
ส่วนการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจด้วยการใส่สายสวนหัวใจนั้น เฉพาะพื้นที่เขตราชบุรรี ปี 2556 มีผู้ป่วยที่ได้รับการการขยายหลอดเลือดหัวใจ 1,111 ครั้ง มีโรงพยาบาลในเขตที่บริการขยายหลอดเลือเพียง 3 แห่ง คือ โรงพยาบาลมหาชัย โรงพยาบาลสนามจันทร์ และโรงพยาบาลหัวหิน และในปี 2557 นี้ ได้เปิดเพิ่มเติมที่โรงพยาบาลนครปฐม และโรงพยาบาลราชบุรีซึ่งได้ทำพิธีเปิดอาคารในวันนี้
“สปสช. ได้ให้การสนับสนุนงบครุภัณฑ์ในการให้บริการรังสีรักษา และครุภัณฑ์อื่นๆ ในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง ในปี 2553 จำนวน 88,933,216 บาท โดยที่ผ่านมาทางโรงพยาบาลราชบุรี ได้ร่วมมือกับโรงพยาบาลศิริราช และได้เริ่มทำการฉายรังสีรักษาตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปี 2557 ให้กับผู้ป่วยในพื้นที่ไปแล้ว 10 ราย ขณะที่การรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจที่ผ่านมา สปสช. ได้สนับสนุนงบตติยภูมิหัวใจ ตั้งแต่ปี 2550 - 2556 เป็นเงิน 68,481,364 บาท เพื่อสนับสนุนครุภัณฑ์ให้บริการสนับสนุนด้านการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจ ได้แก่ ผ่าตัดหัวใจ ขยายเส้นเลือดหัวใจด้วยการใส่สายสวน” เลขาธิการ สปสช. กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (7 ก.ค.) ที่โรงพยาบาลราชบุรี ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดอาคารสวนหวใจและอาคารรังสีรักษา โรงพยาบาลราชบุรี พร้อมเยี่ยมชมภายในอาคารฯ โดยมี นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี กล่าวต้อนรับ และ นพ.สุริยะ วงศ์คงคาเทพ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้กล่าวรายงานความเป็นมา โดยในการก่อสร้างอาคารสวนหัวใจและอาคารรังสีรักษานี้ งบประมาณส่วนหนึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่เล็งเห็นความสำคัญต่อการเข้าถึงการรักษาของผู้ป่วยโรคหัวใจและมะเร็งในเขตราชบุรี
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคมะเร็ง นับเป็นโรคที่มีอัตราการป่วยสูงอยู่ในระดับต้นๆ ของปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย ซึ่งในผู้ป่วยที่มีภาวะโรคลุกลามจำเป็นเป็นต้องได้รับการรักษาโดยเร็ว แต่ด้วยการรักษาที่มีความซับซ้อน ผู้ป่วยจึงต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิที่มีศักยภาพพร้อม ทั้งด้านแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงเครื่องมือแพทย์ ส่งผลต่อการเข้าถึงการรักษาของผู้ป่วย
ทั้งนี้ เขตราชบุรี ซึ่งประกอบด้วย 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดราชบุรี, สุพรรณบุรี, กาญจนบุรี, นครปฐม, สมุทรสาคร, สมุทรสงคราม, เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ นับเป็นพื้นที่ซึ่งมีปัญหาการเข้าถึงการรักษาอย่างมาก โดยในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งที่จำเป็นต้องได้รับการฉายรังสีรักษา มีปัญหาการเข้าถึง ซึ่งเกิดจากพื้นที่ไม่มีหน่วยบริการที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะให้การรักษาผู้ป่วยได้ ที่ผ่านมาผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาเหล่านี้จึงจะถูกส่งต่อเข้ารักษายังโรงพยาบาลยังเขตพื้นที่อื่นทั้งหมด ขณะที่การรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจด้วยการใส่สายสวน แม้ว่าจะมีจะมีหน่วยบริการในพื้นที่รักษาได้ แต่ยังไม่เพียงพอต่อผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับบริการ
นพ.วินัย กล่าวว่า จากข้อมูลการส่งต่อผู้ป่วยมะเร็งเขตราชบุรี ปี 2556 พบว่า ในกลุ่มผู้ป่วยในมีการส่งต่อผู้ป่วย 351 ครั้ง โดยโรงพยาบาลที่รับส่งต่อ คือ 1. โรงพยาบาลมหาวชิราลงกรณ์ ธัญบุรี ร้อยละ 37.6 หรือ 132 ครั้ง 2. สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ร้อยละ 32.47 หรือ 114 ครั้ง และ 3. ศูนย์มะเร็งลพบุรี ร้อยละ 11.68 หรือ 41 ครั้ง ขณะนี้ในส่วนผู้ป่วยนอก มีการส่งต่อถึง 11,966 ครั้ง โรงพยาบาลที่รับส่งต่อผู้ป่วย 1. โรงพยาบาลศิริราช ร้อยละ 25.94 หรือ 3105 ครั้ง 2. สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ร้อยละ 20.96 หรือ 2,508 ครั้ง 3. โรงพยาบาลราชวิถี ร้อยละ 18.10 หรือ 2166 ครั้ง และ 4. ศูนย์มะเร็งลพบุรี ร้อยละ 9.81 หรือ 1,174 ครั้ง
ส่วนการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจด้วยการใส่สายสวนหัวใจนั้น เฉพาะพื้นที่เขตราชบุรรี ปี 2556 มีผู้ป่วยที่ได้รับการการขยายหลอดเลือดหัวใจ 1,111 ครั้ง มีโรงพยาบาลในเขตที่บริการขยายหลอดเลือเพียง 3 แห่ง คือ โรงพยาบาลมหาชัย โรงพยาบาลสนามจันทร์ และโรงพยาบาลหัวหิน และในปี 2557 นี้ ได้เปิดเพิ่มเติมที่โรงพยาบาลนครปฐม และโรงพยาบาลราชบุรีซึ่งได้ทำพิธีเปิดอาคารในวันนี้
“สปสช. ได้ให้การสนับสนุนงบครุภัณฑ์ในการให้บริการรังสีรักษา และครุภัณฑ์อื่นๆ ในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง ในปี 2553 จำนวน 88,933,216 บาท โดยที่ผ่านมาทางโรงพยาบาลราชบุรี ได้ร่วมมือกับโรงพยาบาลศิริราช และได้เริ่มทำการฉายรังสีรักษาตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปี 2557 ให้กับผู้ป่วยในพื้นที่ไปแล้ว 10 ราย ขณะที่การรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจที่ผ่านมา สปสช. ได้สนับสนุนงบตติยภูมิหัวใจ ตั้งแต่ปี 2550 - 2556 เป็นเงิน 68,481,364 บาท เพื่อสนับสนุนครุภัณฑ์ให้บริการสนับสนุนด้านการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจ ได้แก่ ผ่าตัดหัวใจ ขยายเส้นเลือดหัวใจด้วยการใส่สายสวน” เลขาธิการ สปสช. กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่