กรมสุขภาพจิตเตรียมเปิดผลสำรวจอารมณ์การเมืองประชาชน เรื่องใดกดดัน เรื่องใดสร้างความสุข หวังใช้เป็นข้อมูลประกอบรับฟังความเห็นต่างที่ต้องเสร็จสิ้นใน ก.ค. ก่อนวิเคราะห์ปัญหาหาแนวทางแก้ไขใน ส.ค. รับอาจต้องใช้เวลา เหตุขัดแย้งยาวนานเกือบ 10 ปี ห่วงพื้นที่ กทม. จัดงานเสวนายาก เพราะเป็นชุมชนเมืองเร่งรีบ
วันนี้ (7 ก.ค.) พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังภาวะสุขภาพจิต ภายใต้โครงการสมานฉันท์ กล่าวว่า ขณะนี้การดำเนินการโครงการมีความคืบหน้าไปมาก โดยในส่วนของการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ ได้ติดตามแล้ว 393 ราย จากจำนวนรายชื่อที่ได้รับมาประมาณ 890 กว่าราย ส่วนการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ก็ได้มีการเตรียมทีมนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดดำเนินการร่วมกับเครือข่ายอื่นๆ ของศูนย์ปรองดองแต่ละจังหวัด ซึ่งจะเน้นการเดินหน้าเรื่องแก้ปัญหาความขัดแย้งของคนในพื้นที่ โดยกรมสุขภาพจิตมีหน้าที่ในการสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ ซึ่งขณะนี้กำลังจัดทำคู่มือประชาเสวนา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเปิดรับฟังความคิดเห็นกันและกันมากขึ้น ในการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นแต่ละแห่ง ว่าแต่ละฝ่ายมีความต้องการอะไร แล้วพยายามหาฉันทามติร่วมกัน จัดลำดับว่าจะก้าวเดินอย่างไร ไม่มีการตัดสินว่าความคิดเห็นของฝ่ายใดถูกหรือผิด ซึ่งกระบวนการนี้จะดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน ก.ค. จากนั้นจะมีการประมวลผลและวิเคราะห์ปัญหาความขัดแย้งของแต่ละเวที เพื่อวางแผนการดำเนินงานในระยะกลางต่อไปว่าจะดำเนินการเช่นไร
พญ.พรรณพิมล กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ภายใน ก.ค. กรมสุขภาพจิตจะรายงานผลการติดตามความรู้สึกของประชาชนในเรื่องอารมณ์การเมืองด้วย ว่าเรื่องใดที่ยังรู้สึกกดดันอยู่ และเรื่องการเมืองใดที่ทำให้ประชาชนมีความสุข เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาช่วยวิเคราะห์และวางแผนในการแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วย สำหรับระยะเวลาในการสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในชาติ เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลานาน เพราะความขัดแย้งมีมากถึงเกือบ 10 ปี ตั้งแต่ปี 2549 และขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ด้วยว่ามีปัญหาความขัดแย้งสะสมมายาวนานมากน้อยเพียงไร ซึ่งการแก้ปัญหาก็จะใช้เวลาแตกต่างกัน สำหรับพื้นที่ที่คาดว่า จะมีการคลี่คลายปัญหาความขัดแย้งได้มากที่สุด ได้แก่ กทม. เนื่องจากเป็นพื้นที่ มีความรุนแรงขัดแย้ง ต่อสู้หลายครั้ง มีความหลากหลายทางความคิด อีกทั้งเป็นชุมชนเมือง ที่มีความคิดเห็น และบริโภคข่าวสาร ขณะเดียวกันก็มีการแสดงออก แต่จากความเร่งรีบในการทำงาน จึงเป็นเรื่องยากที่จะจัดงานสานเสวนาได้
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (7 ก.ค.) พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังภาวะสุขภาพจิต ภายใต้โครงการสมานฉันท์ กล่าวว่า ขณะนี้การดำเนินการโครงการมีความคืบหน้าไปมาก โดยในส่วนของการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ ได้ติดตามแล้ว 393 ราย จากจำนวนรายชื่อที่ได้รับมาประมาณ 890 กว่าราย ส่วนการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ก็ได้มีการเตรียมทีมนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดดำเนินการร่วมกับเครือข่ายอื่นๆ ของศูนย์ปรองดองแต่ละจังหวัด ซึ่งจะเน้นการเดินหน้าเรื่องแก้ปัญหาความขัดแย้งของคนในพื้นที่ โดยกรมสุขภาพจิตมีหน้าที่ในการสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ ซึ่งขณะนี้กำลังจัดทำคู่มือประชาเสวนา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเปิดรับฟังความคิดเห็นกันและกันมากขึ้น ในการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นแต่ละแห่ง ว่าแต่ละฝ่ายมีความต้องการอะไร แล้วพยายามหาฉันทามติร่วมกัน จัดลำดับว่าจะก้าวเดินอย่างไร ไม่มีการตัดสินว่าความคิดเห็นของฝ่ายใดถูกหรือผิด ซึ่งกระบวนการนี้จะดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน ก.ค. จากนั้นจะมีการประมวลผลและวิเคราะห์ปัญหาความขัดแย้งของแต่ละเวที เพื่อวางแผนการดำเนินงานในระยะกลางต่อไปว่าจะดำเนินการเช่นไร
พญ.พรรณพิมล กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ภายใน ก.ค. กรมสุขภาพจิตจะรายงานผลการติดตามความรู้สึกของประชาชนในเรื่องอารมณ์การเมืองด้วย ว่าเรื่องใดที่ยังรู้สึกกดดันอยู่ และเรื่องการเมืองใดที่ทำให้ประชาชนมีความสุข เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาช่วยวิเคราะห์และวางแผนในการแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วย สำหรับระยะเวลาในการสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในชาติ เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลานาน เพราะความขัดแย้งมีมากถึงเกือบ 10 ปี ตั้งแต่ปี 2549 และขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ด้วยว่ามีปัญหาความขัดแย้งสะสมมายาวนานมากน้อยเพียงไร ซึ่งการแก้ปัญหาก็จะใช้เวลาแตกต่างกัน สำหรับพื้นที่ที่คาดว่า จะมีการคลี่คลายปัญหาความขัดแย้งได้มากที่สุด ได้แก่ กทม. เนื่องจากเป็นพื้นที่ มีความรุนแรงขัดแย้ง ต่อสู้หลายครั้ง มีความหลากหลายทางความคิด อีกทั้งเป็นชุมชนเมือง ที่มีความคิดเห็น และบริโภคข่าวสาร ขณะเดียวกันก็มีการแสดงออก แต่จากความเร่งรีบในการทำงาน จึงเป็นเรื่องยากที่จะจัดงานสานเสวนาได้
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่