อึ้ง! หอยแมลงภู่เพาะเลี้ยงฝั่งอ่างศิลาเจอสารแคดเมียมมากกว่า ฝั่งนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด แม้ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่ สธ. กำหนด แต่ควรเร่งศึกษาการปนเปื้อนแคดเมียม
น.ส.วราพร ชลอำไพ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 6 ชลบุรี เสนอผลการศึกษา เรื่อง “ระดับแคดเมียมในหอยแมลงภู่ที่เพาะเลี้ยงในฟาร์มบริเวณชายฝั่งทะเลเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง เปรียบเทียบกับบริเวณชายฝั่งทะเลอ่างศิลา จ.ชลบุรี ปี 2555 - 2557” ในงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ครั้งที่ 22 ประจำปี 2557 ว่า จากการเก็บตัวอย่างหอยแมลงภู่ที่เพาะเลี้ยงในฟาร์มบริเวณชายฝั่งทะเลทั้ง 2 แหล่ง เป็นเวลา 3 ปี จำนวน 240 ตัวอย่าง โดยเก็บตัวอย่างหอยแมลงภู่ขนาดเล็กความยาวเปลือกน้อยกว่า 6 เซนติเมตร และมากกว่า 6 เซนติเมตร ขนาดละ 20 ตัวอย่างต่อปี โดยนำไปตรวจวิเคราะห์ระดับสารแคดเมียมด้วยเครื่องอะตอมมิกแอปวอปชันเทคนิคกราไฟต์ พบว่า ระดับแคดเมียมในเนื้อเยื่อหอยแมลงภู่จากทั้งสองแหล่งไม่มีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐานอาหารที่กำหนดตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ. 2529 ซึ่งกำหนดไว้ไม่เกิน 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม น้ำหนักเปียก
น.ส.วราพร กล่าวอีกว่า แต่เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง 2 แหล่งแล้ว หอยแมลงภู่บริเวณชายฝั่งทะเลอ่างศิลามีระดับแคดเมียมเฉลี่ยสูงกว่าชายฝั่งทะเลนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดทั้ง 3 ปี คือ สูงกว่า 11 เท่า 4 เท่า และ 6 เท่าตามลำดับ บ่งชี้ว่าบริเวณชายฝั่งทะเลอ่างศิลาควรจะมีการศึกษาแหล่งที่มาของการปนเปื้อนแคดเมียม
ทั้งนี้ ระดับแคดเมียมในเนื้อเยื่อหอยแมลงภู่บริเวณชายฝั่งทะเลเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด มีค่าเฉลี่ยในปี 2555 เท่ากับ 0.0099 ปี 2556 เท่ากับ 0.0120 และปี 2557 จำนวน 0.0114 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักเปียก ส่วนที่บริเวณชายฝั่งทะเลอ่างศิลา มีค่าเฉลี่ยปี 2555 เท่ากับ 0.1086 ปี 2556 เท่ากับ 0.0499 และปี 2557 เท่ากับ 0.0705 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม น้ำหนักเปียก
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
น.ส.วราพร ชลอำไพ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 6 ชลบุรี เสนอผลการศึกษา เรื่อง “ระดับแคดเมียมในหอยแมลงภู่ที่เพาะเลี้ยงในฟาร์มบริเวณชายฝั่งทะเลเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง เปรียบเทียบกับบริเวณชายฝั่งทะเลอ่างศิลา จ.ชลบุรี ปี 2555 - 2557” ในงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ครั้งที่ 22 ประจำปี 2557 ว่า จากการเก็บตัวอย่างหอยแมลงภู่ที่เพาะเลี้ยงในฟาร์มบริเวณชายฝั่งทะเลทั้ง 2 แหล่ง เป็นเวลา 3 ปี จำนวน 240 ตัวอย่าง โดยเก็บตัวอย่างหอยแมลงภู่ขนาดเล็กความยาวเปลือกน้อยกว่า 6 เซนติเมตร และมากกว่า 6 เซนติเมตร ขนาดละ 20 ตัวอย่างต่อปี โดยนำไปตรวจวิเคราะห์ระดับสารแคดเมียมด้วยเครื่องอะตอมมิกแอปวอปชันเทคนิคกราไฟต์ พบว่า ระดับแคดเมียมในเนื้อเยื่อหอยแมลงภู่จากทั้งสองแหล่งไม่มีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐานอาหารที่กำหนดตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ. 2529 ซึ่งกำหนดไว้ไม่เกิน 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม น้ำหนักเปียก
น.ส.วราพร กล่าวอีกว่า แต่เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง 2 แหล่งแล้ว หอยแมลงภู่บริเวณชายฝั่งทะเลอ่างศิลามีระดับแคดเมียมเฉลี่ยสูงกว่าชายฝั่งทะเลนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดทั้ง 3 ปี คือ สูงกว่า 11 เท่า 4 เท่า และ 6 เท่าตามลำดับ บ่งชี้ว่าบริเวณชายฝั่งทะเลอ่างศิลาควรจะมีการศึกษาแหล่งที่มาของการปนเปื้อนแคดเมียม
ทั้งนี้ ระดับแคดเมียมในเนื้อเยื่อหอยแมลงภู่บริเวณชายฝั่งทะเลเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด มีค่าเฉลี่ยในปี 2555 เท่ากับ 0.0099 ปี 2556 เท่ากับ 0.0120 และปี 2557 จำนวน 0.0114 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักเปียก ส่วนที่บริเวณชายฝั่งทะเลอ่างศิลา มีค่าเฉลี่ยปี 2555 เท่ากับ 0.1086 ปี 2556 เท่ากับ 0.0499 และปี 2557 เท่ากับ 0.0705 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม น้ำหนักเปียก
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่