ดันมาตรการงดเหล้าเข้าพรรษา ช่วยลดอุบัติเหตุทางถนน เผย WHO ระบุมีผู้เสียชีวิตจากการดื่มแอลกอฮอล์ 3.3 ล้านรายทั่วโลก ในแต่ละปี พบกลุ่มอายุ 15 ปี ดื่มมากสุด ขับเร็ว เหตุให้ไทยมียอดตายบนถนนอันดับ 2 ของโลก
นายพรหมมินทร์ กัณธิยะ ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) กล่าวว่า ช่วงเทศกาลเข้าพรรษา ในระยะเวลา 3 เดือน มีช่วงวันหยุดยาวติดต่อกันหลายวัน รวมทั้งเข้าสู่ฤดูฝน การขับรถบนท้องถนน และการเดินทางกลับต่างจังหวัดต้องเพิ่มความระมัดระวังยิ่งขึ้น โดยในปีนี้ ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ได้มีนโยบายให้ทุกภาคส่วนร่วมดำเนินภารกิจด้านป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ในหัวข้อหลักการรณรงค์คือ “เข้าพรรษาปลอดภัย ร่วมใจลดอุบัติเหตุ” เพื่อสร้างความตระหนักให้เกิดความระมัดระวังการใช้รถใช้ถนนของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงฤดูฝนที่มีลมพายุและฝนตก ถนนเปียกลื่น สภาพภูมิทัศน์ของถนนไม่ดีและบางพื้นที่ อาจมีดินโคลนถล่ม มีสิ่งตกหล่นกีดขวางช่องจราจร จำเป็นต้องระวัง
“จากข้อมูลศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ระบุว่า ปัจจุบันมีคนไทยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนเฉลี่ยวันละ 33 ราย เฉลี่ยปีละไม่น้อยกว่า 12,000 ราย และยิ่งตอกย้ำไปกว่านั้น เมื่อสถาบันวิจัยด้านการคมนาคม มหาวิทยาลัยมิชิแกน สหรัฐอเมริกา ร่วมกับข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก รายงานสถิติการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนทั่วโลก มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 18 คน ต่อประชากร 100,000 คนต่อปี พบประเทศไทยอยู่อันดับที่ 2 มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน เฉลี่ย 44 คนต่อแสนประชากร โดยอันดับหนึ่ง ได้แก่ ประเทศนาบิเมีย นอกจากนี้ ยังพบข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ออกรายงานฉบับใหม่ ว่าด้วยการดื่มแอลกอฮอล์ของโลกประจำปี 2557 ระบุว่าประชากรทั่วโลกมากกว่าร้อยละ 38 ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ และมีผู้เสียชีวิตจากการดื่มแอลกอฮอล์ 3.3 ล้านรายทั่วโลกในแต่ละปี และประเทศที่มีการดื่มสูงสุด คือ เบลารุส ดื่มแอลกอฮอล์เฉลี่ยปีละ 17.5 ลิตรต่อคน” นายพรหมมินทร์ กล่าว
นายพรหมมินทร์ กล่าวด้วยว่า WHO ยังระบุด้วยว่าผู้สูงอายุทั่วโลกดื่มแอลกอฮอล์เฉลี่ยปีละ 6.2 ลิตรต่อคน ขณะที่กลุ่มอายุที่บริโภคแอลกอฮอล์มากที่สุดคือวัย 15 ปี สำหรับประเทศไทย มีอัตราการดื่มแอลกอฮอล์เฉลี่ยประมาณ 5 ลิตรต่อปีต่อคน และการดื่มแล้วขับ คือ ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ซึ่งสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สูงถึง 39.1% ขับรถเร็วเกินที่กฎหมายกำหนด 23.6% จักรยานยนต์มากที่สุด และการดื่มทำให้ความสามารถในการขับขี่ยานพาหนะลดลง สภาพร่างกายไม่พร้อมที่จะควบคุมรถ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากขับรถขณะมึนเมาและขาดสติ ประมาท ขับเร็วเกินกำหนด การเกิดอุบัติเหตุจะมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ดังนั้น หากทุกคนร่วมมือ ร่วมใจกัน ลด ละเลิก การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก็จะช่วยให้ไม่ต้องเสี่ยงกับอุบัติเหตุทางถนน และไม่เป็นสาเหตุทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน บาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากการขาดสติของตนเอง
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นายพรหมมินทร์ กัณธิยะ ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) กล่าวว่า ช่วงเทศกาลเข้าพรรษา ในระยะเวลา 3 เดือน มีช่วงวันหยุดยาวติดต่อกันหลายวัน รวมทั้งเข้าสู่ฤดูฝน การขับรถบนท้องถนน และการเดินทางกลับต่างจังหวัดต้องเพิ่มความระมัดระวังยิ่งขึ้น โดยในปีนี้ ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ได้มีนโยบายให้ทุกภาคส่วนร่วมดำเนินภารกิจด้านป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ในหัวข้อหลักการรณรงค์คือ “เข้าพรรษาปลอดภัย ร่วมใจลดอุบัติเหตุ” เพื่อสร้างความตระหนักให้เกิดความระมัดระวังการใช้รถใช้ถนนของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงฤดูฝนที่มีลมพายุและฝนตก ถนนเปียกลื่น สภาพภูมิทัศน์ของถนนไม่ดีและบางพื้นที่ อาจมีดินโคลนถล่ม มีสิ่งตกหล่นกีดขวางช่องจราจร จำเป็นต้องระวัง
“จากข้อมูลศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ระบุว่า ปัจจุบันมีคนไทยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนเฉลี่ยวันละ 33 ราย เฉลี่ยปีละไม่น้อยกว่า 12,000 ราย และยิ่งตอกย้ำไปกว่านั้น เมื่อสถาบันวิจัยด้านการคมนาคม มหาวิทยาลัยมิชิแกน สหรัฐอเมริกา ร่วมกับข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก รายงานสถิติการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนทั่วโลก มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 18 คน ต่อประชากร 100,000 คนต่อปี พบประเทศไทยอยู่อันดับที่ 2 มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน เฉลี่ย 44 คนต่อแสนประชากร โดยอันดับหนึ่ง ได้แก่ ประเทศนาบิเมีย นอกจากนี้ ยังพบข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ออกรายงานฉบับใหม่ ว่าด้วยการดื่มแอลกอฮอล์ของโลกประจำปี 2557 ระบุว่าประชากรทั่วโลกมากกว่าร้อยละ 38 ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ และมีผู้เสียชีวิตจากการดื่มแอลกอฮอล์ 3.3 ล้านรายทั่วโลกในแต่ละปี และประเทศที่มีการดื่มสูงสุด คือ เบลารุส ดื่มแอลกอฮอล์เฉลี่ยปีละ 17.5 ลิตรต่อคน” นายพรหมมินทร์ กล่าว
นายพรหมมินทร์ กล่าวด้วยว่า WHO ยังระบุด้วยว่าผู้สูงอายุทั่วโลกดื่มแอลกอฮอล์เฉลี่ยปีละ 6.2 ลิตรต่อคน ขณะที่กลุ่มอายุที่บริโภคแอลกอฮอล์มากที่สุดคือวัย 15 ปี สำหรับประเทศไทย มีอัตราการดื่มแอลกอฮอล์เฉลี่ยประมาณ 5 ลิตรต่อปีต่อคน และการดื่มแล้วขับ คือ ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ซึ่งสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สูงถึง 39.1% ขับรถเร็วเกินที่กฎหมายกำหนด 23.6% จักรยานยนต์มากที่สุด และการดื่มทำให้ความสามารถในการขับขี่ยานพาหนะลดลง สภาพร่างกายไม่พร้อมที่จะควบคุมรถ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากขับรถขณะมึนเมาและขาดสติ ประมาท ขับเร็วเกินกำหนด การเกิดอุบัติเหตุจะมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ดังนั้น หากทุกคนร่วมมือ ร่วมใจกัน ลด ละเลิก การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก็จะช่วยให้ไม่ต้องเสี่ยงกับอุบัติเหตุทางถนน และไม่เป็นสาเหตุทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน บาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากการขาดสติของตนเอง
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่