รพ.จุฬาภรณ์ ตรวจรักษาผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 2 ฟรี ถวายเป็นโครงการบำเพ็ญพระกุศล เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ “เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์” เผยใช้เทคนิคตรวจพันธุกรรมเฉพาะบุคคลพิจารณาควรรับยาเคมีบำบัดหรือไม่ ลดเสี่ยงมะเร็งหวนคืน
วันนี้ (1 ก.ค.) เมื่อเวลา 14.00 น. ที่โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ศ.กิตติคุณ นพ.จรัส สุวรรณเวลา รองประธานบริหาร รพ.จุฬาภรณ์ แถลงข่าวโครงการบำเพ็ญพระกุศล ในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ ศ.ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พ.ศ.2557 “โครงการตรวจรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 2 โดยใช้รหัสพันธุกรรมเฉพาะบุคคล” ว่า ที่ผ่านมา 5 ปี รพ.จุฬาภรณ์ ดำเนินโครงการบำเพ็ญพระกุศลเน้นในเรื่องการคัดกรองมะเร็ง ส่วนปีนี้เน้นเรื่องการตรวจรักษา ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าใหม่ เพราะมีการนำข้อมูลรหัสพันธุกรรมเฉพาะบุคคล มาใช้ในการดูแลรักษามะเร็ง ซึ่งจะช่วยให้รู้ว่าผู้ป่วยคนไหนควรรับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด เนื่องจากเคมีบำบัดมีผลกระทบอาจทำให้เบื่ออาหาร ผมร่วง เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยบางรายไม่จำเป็นต้องใช้ การนำข้อมูลรหัสพันธุกรรมเฉพาะบุคคลมาใช้ในการตรวจรักษา จึงถือเป็นอีกความก้าวหน้าที่เกิดขึ้น
ศ.กิตติคุณ นพ.จรัส กล่าวอีกว่า สาเหตุที่เลือกตรวจรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ เพราะเป็นโรคที่พบมากในไทย ทั้งในเขตเมืองและชนบท เห็นได้จากโครงการบำเพ็ญพระกุศลเมื่อปี 2552 ในการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักในประชาชนที่ไม่มีอาการ 1,408 ราย พบเป็นมะเร็ง 19 ราย และพบติ่งเนื้อที่เสี่ยงเป็นมะเร็งอีก 200 ราย ขณะที่การตรวจประชาชน จ.ร้อยเอ็ด จำนวน 10,081 ราย พบเป็นมะเร็ง 10 ราย และติ่งเนื้ออีก 166 ราย
“ผู้ป่วยที่ร่วมโครงการจะได้รับการตรวจรักษาฟรี โดยเก็บค่าใช้จ่ายตามสิทธิการรักษาทั้ง 3 กองทุนคือ กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กองทุนประกันสังคม และกองทุนสิทธิสวัสดิการข้าราชการ ส่วนค่าใช้จ่ายที่นอกเหนือจากสิทธิการรักษา โครงการจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด ซึ่งโครงการนี้ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 55 ล้านบาท โดยรับผู้ป่วยเข้าร่วมโครงการจำนวน 100 คน เริ่มรับผู้ป่วยตั้งแต่วันที่ 7 ก.ค. 2557 เป็นต้นไป” ศ.กิตติคุณ นพ.จรัส กล่าว
นพ.วรวิทย์ ชัยวิริยะวงศ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาอายุรศาสตร์มะเร็ง รพ.จุฬาภรณ์ กล่าวว่า หลังผ่าตัดรักษามะเร็งลำไส้ระยะที่ 2 บางรายมีความเสี่ยงที่จะมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้อีก คนกลุ่มนี้จึงควรได้รับการรักษาเสริมคือการให้ยาเคมีบำบัด ซึ่งการพิจารณาว่าควรได้รับยาเคมีบำบัดหรือไม่ คือกลุ่มผู้ป่วยที่มีการพยากรณ์โรคไม่ดี ซึ่งจะพิจารณาจากรหัสพันธุกรรมเฉพาะบุคคล ด้วยการตรวจทางพยาธิวิทยาด้วยกล้องจุลทรรศน์ว่า เซลล์มีการแบ่งตัวผิดปกติหรือไม่ ร่วมกับอาการอย่างอื่น เช่น มีอาการลำไส้อุดตัน ลำไส้แตกทะลุหรือไม่ ซึ่งเมื่อได้รับการรักษาเสริมด้วยยาเคมีบำบัด ก็จะควบคุมโรคได้มากขึ้น มีโอกาสหายขาด และกลับมาเป็นมะเร็งอีกน้อยลง ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการไม่ว่าจะได้รับยาเคมีบำบัดหรือไม่ จะต้องมีการตรวจติดตามว่าจะมีเนื้องอกใหม่หรือไม่เป็นเวลา 5 ปี โดยต้องมาตรวจทุก 3 เดือนใน 2-3 ปีแรก และทุก 6 เดือน ในปีที่ 3-5
นพ.วรวิทย์ กล่าวอีกว่า ผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการมีเกณฑ์ดังนี้ คือ 1. ต้องเป็นผู้ที่มีอายุ 20-65 ปี มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง 2. ต้องเป็นผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 2 คือตรวจแล้วมะเร็งยังไม่ลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้ลำไส้ใหญ่ และส่วนที่เป็นมะเร็งต้องไม่ใช่ลำไส้ตรง 3. ต้องไม่เคยได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดมาก่อน และ 4. ยังไม่ได้รับการผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือหากผ่าตัดหลังวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 2 แล้วต้องไม่เกิน 4 สัปดาห์ โดยต้องนำชิ้นเนื้อมาด้วย เพื่อหาข้อมูลรหัสพันธุกรรมเฉพาะบุคคล ซึ่งกรณีเช่นนี้โรงพยาบาลต่างๆ ที่รักษาสามารถส่งตัวผู้ป่วยเข้ามาร่วมโครงการได้เลย
“หากยังไม่ได้รับการผ่าตัด และสงสัยว่าเป็นมะเร็งลำไส้ระยะที่ 2 สามารถเดินทางมาตรวจวิเคราะห์ได้ที่ คลินิกประเมินความเสี่ยง รพ.จุฬาภรณ์ หากเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 2 ก็สามารถเข้าสู่โครงการได้เลย โดย รพ.จุฬาภรณ์ ได้ร่วมกับ รพ.ศิริราช ในการผ่าตัดรักษาด้วยการส่องกล้อง ซึ่งจะทำให้มีแผลเล็ก โอกาสการติดเชื้อน้อยลง ไม่กระทบต่อการให้ยาเคมีบำบัด แต่หากเป็นมะเร็งแต่ไม่ใช่ระยะที่ 2 ก็จะได้รับการรักษาต่อไป แต่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว” นพ.วรวิทย์ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (1 ก.ค.) เมื่อเวลา 14.00 น. ที่โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ศ.กิตติคุณ นพ.จรัส สุวรรณเวลา รองประธานบริหาร รพ.จุฬาภรณ์ แถลงข่าวโครงการบำเพ็ญพระกุศล ในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ ศ.ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พ.ศ.2557 “โครงการตรวจรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 2 โดยใช้รหัสพันธุกรรมเฉพาะบุคคล” ว่า ที่ผ่านมา 5 ปี รพ.จุฬาภรณ์ ดำเนินโครงการบำเพ็ญพระกุศลเน้นในเรื่องการคัดกรองมะเร็ง ส่วนปีนี้เน้นเรื่องการตรวจรักษา ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าใหม่ เพราะมีการนำข้อมูลรหัสพันธุกรรมเฉพาะบุคคล มาใช้ในการดูแลรักษามะเร็ง ซึ่งจะช่วยให้รู้ว่าผู้ป่วยคนไหนควรรับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด เนื่องจากเคมีบำบัดมีผลกระทบอาจทำให้เบื่ออาหาร ผมร่วง เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยบางรายไม่จำเป็นต้องใช้ การนำข้อมูลรหัสพันธุกรรมเฉพาะบุคคลมาใช้ในการตรวจรักษา จึงถือเป็นอีกความก้าวหน้าที่เกิดขึ้น
ศ.กิตติคุณ นพ.จรัส กล่าวอีกว่า สาเหตุที่เลือกตรวจรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ เพราะเป็นโรคที่พบมากในไทย ทั้งในเขตเมืองและชนบท เห็นได้จากโครงการบำเพ็ญพระกุศลเมื่อปี 2552 ในการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักในประชาชนที่ไม่มีอาการ 1,408 ราย พบเป็นมะเร็ง 19 ราย และพบติ่งเนื้อที่เสี่ยงเป็นมะเร็งอีก 200 ราย ขณะที่การตรวจประชาชน จ.ร้อยเอ็ด จำนวน 10,081 ราย พบเป็นมะเร็ง 10 ราย และติ่งเนื้ออีก 166 ราย
“ผู้ป่วยที่ร่วมโครงการจะได้รับการตรวจรักษาฟรี โดยเก็บค่าใช้จ่ายตามสิทธิการรักษาทั้ง 3 กองทุนคือ กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กองทุนประกันสังคม และกองทุนสิทธิสวัสดิการข้าราชการ ส่วนค่าใช้จ่ายที่นอกเหนือจากสิทธิการรักษา โครงการจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด ซึ่งโครงการนี้ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 55 ล้านบาท โดยรับผู้ป่วยเข้าร่วมโครงการจำนวน 100 คน เริ่มรับผู้ป่วยตั้งแต่วันที่ 7 ก.ค. 2557 เป็นต้นไป” ศ.กิตติคุณ นพ.จรัส กล่าว
นพ.วรวิทย์ ชัยวิริยะวงศ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาอายุรศาสตร์มะเร็ง รพ.จุฬาภรณ์ กล่าวว่า หลังผ่าตัดรักษามะเร็งลำไส้ระยะที่ 2 บางรายมีความเสี่ยงที่จะมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้อีก คนกลุ่มนี้จึงควรได้รับการรักษาเสริมคือการให้ยาเคมีบำบัด ซึ่งการพิจารณาว่าควรได้รับยาเคมีบำบัดหรือไม่ คือกลุ่มผู้ป่วยที่มีการพยากรณ์โรคไม่ดี ซึ่งจะพิจารณาจากรหัสพันธุกรรมเฉพาะบุคคล ด้วยการตรวจทางพยาธิวิทยาด้วยกล้องจุลทรรศน์ว่า เซลล์มีการแบ่งตัวผิดปกติหรือไม่ ร่วมกับอาการอย่างอื่น เช่น มีอาการลำไส้อุดตัน ลำไส้แตกทะลุหรือไม่ ซึ่งเมื่อได้รับการรักษาเสริมด้วยยาเคมีบำบัด ก็จะควบคุมโรคได้มากขึ้น มีโอกาสหายขาด และกลับมาเป็นมะเร็งอีกน้อยลง ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการไม่ว่าจะได้รับยาเคมีบำบัดหรือไม่ จะต้องมีการตรวจติดตามว่าจะมีเนื้องอกใหม่หรือไม่เป็นเวลา 5 ปี โดยต้องมาตรวจทุก 3 เดือนใน 2-3 ปีแรก และทุก 6 เดือน ในปีที่ 3-5
นพ.วรวิทย์ กล่าวอีกว่า ผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการมีเกณฑ์ดังนี้ คือ 1. ต้องเป็นผู้ที่มีอายุ 20-65 ปี มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง 2. ต้องเป็นผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 2 คือตรวจแล้วมะเร็งยังไม่ลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้ลำไส้ใหญ่ และส่วนที่เป็นมะเร็งต้องไม่ใช่ลำไส้ตรง 3. ต้องไม่เคยได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดมาก่อน และ 4. ยังไม่ได้รับการผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือหากผ่าตัดหลังวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 2 แล้วต้องไม่เกิน 4 สัปดาห์ โดยต้องนำชิ้นเนื้อมาด้วย เพื่อหาข้อมูลรหัสพันธุกรรมเฉพาะบุคคล ซึ่งกรณีเช่นนี้โรงพยาบาลต่างๆ ที่รักษาสามารถส่งตัวผู้ป่วยเข้ามาร่วมโครงการได้เลย
“หากยังไม่ได้รับการผ่าตัด และสงสัยว่าเป็นมะเร็งลำไส้ระยะที่ 2 สามารถเดินทางมาตรวจวิเคราะห์ได้ที่ คลินิกประเมินความเสี่ยง รพ.จุฬาภรณ์ หากเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 2 ก็สามารถเข้าสู่โครงการได้เลย โดย รพ.จุฬาภรณ์ ได้ร่วมกับ รพ.ศิริราช ในการผ่าตัดรักษาด้วยการส่องกล้อง ซึ่งจะทำให้มีแผลเล็ก โอกาสการติดเชื้อน้อยลง ไม่กระทบต่อการให้ยาเคมีบำบัด แต่หากเป็นมะเร็งแต่ไม่ใช่ระยะที่ 2 ก็จะได้รับการรักษาต่อไป แต่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว” นพ.วรวิทย์ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่