นักวิชาการแนะ คสช. ออก กม. นิรโทษกรรม นายจ้างและต่างด้าวผิดกฎหมาย ก่อนสำรวจหาอาชีพที่ขาดแคลน เพื่อแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นระบบ ชี้ส่งผลดีต่อการแก้ปัญหาแรงงานก่อสร้าง
วันนี้ (17 มิ.ย.) นายยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยถึงการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวว่า การเข้ามาดูแลปัญหาด้านแรงงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ถือเป็นเรื่องดี เนื่องจากสามารถออกกฎหมายได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ อยากเสนอให้มีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมกับนายจ้างที่มีแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายและแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายทุกประเภท เพื่อให้มาลงทะเบียนภายในเวลา 2 - 3 เดือน จากนั้นให้สนับสนุนงบประมาณในการวิจัยให้สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน (กกจ.) เพื่อศึกษาถึงอาชีพที่แรงงานต่างด้าวสามารถทำได้หรือมีความขาดแคลนจริง รวมถึงศึกษาระยะเวลาการทำงานให้ชัดเจน เช่น ต่ออายุใบอนุญาตทุกปี หากอาชีพใดที่แรงงานต่างด้าวไม่สามารถทำได้ หรือเกินความต้องการจึงผลักดันกลับประเทศ ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวที่สะสมมานานอย่างเป็นระบบมากขึ้น
ทั้งนี้ ยังเป็นประโยชน์กับการแก้ปัญหาแรงงานก่อสร้างด้วย เพราะจะทำให้แรงงานต่างด้าวไม่ต้องเดินทางกลับประเทศ เนื่องจากการเดินทางกลับเข้ามาใหม่นั้นจะต้องเสียค่านายหน้ากว่าคนละ 10,000 บาท ซึ่งจะตกเป็นภาระกับแรงงานเอง ซึ่งปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายประมาณ 60,000 คน
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่
วันนี้ (17 มิ.ย.) นายยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยถึงการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวว่า การเข้ามาดูแลปัญหาด้านแรงงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ถือเป็นเรื่องดี เนื่องจากสามารถออกกฎหมายได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ อยากเสนอให้มีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมกับนายจ้างที่มีแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายและแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายทุกประเภท เพื่อให้มาลงทะเบียนภายในเวลา 2 - 3 เดือน จากนั้นให้สนับสนุนงบประมาณในการวิจัยให้สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน (กกจ.) เพื่อศึกษาถึงอาชีพที่แรงงานต่างด้าวสามารถทำได้หรือมีความขาดแคลนจริง รวมถึงศึกษาระยะเวลาการทำงานให้ชัดเจน เช่น ต่ออายุใบอนุญาตทุกปี หากอาชีพใดที่แรงงานต่างด้าวไม่สามารถทำได้ หรือเกินความต้องการจึงผลักดันกลับประเทศ ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวที่สะสมมานานอย่างเป็นระบบมากขึ้น
ทั้งนี้ ยังเป็นประโยชน์กับการแก้ปัญหาแรงงานก่อสร้างด้วย เพราะจะทำให้แรงงานต่างด้าวไม่ต้องเดินทางกลับประเทศ เนื่องจากการเดินทางกลับเข้ามาใหม่นั้นจะต้องเสียค่านายหน้ากว่าคนละ 10,000 บาท ซึ่งจะตกเป็นภาระกับแรงงานเอง ซึ่งปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายประมาณ 60,000 คน
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่