เทศบาลผ่านคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม 152 แห่ง จาก 202 เทศบาล ตั้งเป้าปี 2558 กระตุ้นเทศบาลทั่วประเทศให้ผ่านมาตรฐานไม่ต่ำกว่า 20% จากเทศบาลทั้งหมดกว่า 2,000 แห่ง
วันนี้ (16 มิ.ย.) นพ.ณรงค์ สายวงศ์ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงานประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Environmental Health Accreditation :EHA) ว่า กรมอนามัยร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นดำเนินงานพัฒนารับรองระบบคุณภาพบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ซึ่งมีเทศบาลนครและเทศบาลเมืองทั่วประเทศ ประมาณ 202 เทศบาล สมัครเข้าร่วมการประเมินรับรองจำนวน 181 เทศบาล คิดเป็นร้อยละ 90 ผ่านการประเมินพื้นฐานจำนวน 101 เทศบาล คิดเป็นร้อยละ 50 ผ่านการประเมินดีเยี่ยมจนได้รับเกียรติบัตร จำนวน 51 เทศบาล คิดเป็นร้อยละ 25
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า มาตรฐานระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี 9 ระบบ ได้แก่ 1. ระบบการจัดการสุขาภิบาลอาหาร 2. ระบบการจัดการคุณภาพน้ำบริโภค 3. ระบบการจัดการสิ่งปฏิกูล 4. ระบบการจัดการมูลฝอย 5. ระบบการรองรับภาวะฉุกเฉินและภัยพิบัติ 6. ระบบการจัดการเหตุรำคาญ 7. ระบบการจัดการกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 8. ระบบการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ และ 9. ระบบการบังคับใช้กฎหมาย โดยในปี 2558 ตั้งเป้าจะสนับสนุนให้เทศบาลทุกระดับสมัครเข้ารับการประเมินระบบคุณภาพไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของเทศบาลทั่วประเทศที่มีประมาณ 2,000 กว่าแห่ง
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (16 มิ.ย.) นพ.ณรงค์ สายวงศ์ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงานประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Environmental Health Accreditation :EHA) ว่า กรมอนามัยร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นดำเนินงานพัฒนารับรองระบบคุณภาพบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ซึ่งมีเทศบาลนครและเทศบาลเมืองทั่วประเทศ ประมาณ 202 เทศบาล สมัครเข้าร่วมการประเมินรับรองจำนวน 181 เทศบาล คิดเป็นร้อยละ 90 ผ่านการประเมินพื้นฐานจำนวน 101 เทศบาล คิดเป็นร้อยละ 50 ผ่านการประเมินดีเยี่ยมจนได้รับเกียรติบัตร จำนวน 51 เทศบาล คิดเป็นร้อยละ 25
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า มาตรฐานระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี 9 ระบบ ได้แก่ 1. ระบบการจัดการสุขาภิบาลอาหาร 2. ระบบการจัดการคุณภาพน้ำบริโภค 3. ระบบการจัดการสิ่งปฏิกูล 4. ระบบการจัดการมูลฝอย 5. ระบบการรองรับภาวะฉุกเฉินและภัยพิบัติ 6. ระบบการจัดการเหตุรำคาญ 7. ระบบการจัดการกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 8. ระบบการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ และ 9. ระบบการบังคับใช้กฎหมาย โดยในปี 2558 ตั้งเป้าจะสนับสนุนให้เทศบาลทุกระดับสมัครเข้ารับการประเมินระบบคุณภาพไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของเทศบาลทั่วประเทศที่มีประมาณ 2,000 กว่าแห่ง
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่