กรมควบคุมโรคเผยสถิติ 15 ปี พบคนป่วยจากแมงกะพรุนพิษ 918 ราย ระบุหากถูกพิษให้ใช้น้ำส้มสายชูราดนาน 30 วินาที ช่วยยับยั้งได้รับพิษเพิ่ม พร้อมแนะ 3 วิธีป้องกัน และ 4 วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น ล่าสุดลงนาม MOU กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พัฒนาองค์ความรู้ทุกด้าน
วันนี้ (3 มิ.ย.) ที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรุงเทพฯ นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวภายหลังลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) ด้านองค์ความรู้เกี่ยวกับแมงกะพรุนพิษ ร่วมกับ นายนพพล ศรีสุข อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ว่า หลังนักท่องเที่ยวชาวอเมริกันเสียชีวิตจากพิษแมงกะพรุนกล่องที่ออสเตรเลีย เมื่อปี 2550 ทำให้คนตื่นตัวกับการจัดการแมงกะพรุนมากขึ้น ส่วนในไทย ช่วง 15 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2541-2556 พบผู้ป่วยซึ่งอาการเข้าได้กับแมงกะพรุนกล่องถึง 918 ราย มีอาการหนัก หมดสติ และเสียชีวิต 12 ราย โดยพื้นที่ที่พบผู้ป่วยสอดคล้องกับแหล่งที่อยู่ของแมงกะพรุนกล่อง คือ บริเวณน้ำตื้นใกล้ชายหาดในพื้นที่อ่าวโค้งเว้า ทั้งนี้ ความรู้เรื่องแมงกะพรุนกล่องยังเป็นเรื่องใหม่ในไทย การลงนาม MOU ในครั้งนี้ ก็เพื่อให้เกิดความเข้าใจและความร่วมมือในการพัฒนาความก้าวหน้าด้านการจัดการองค์ความรู้เกี่ยวกับแมงกะพรุนพิษ ทั้งชนิดการแพร่กระจาย และฤดูกาลของแมงกะพรุนพิษในไทย รวมถึงองค์ความรู้ทางการแพทย์และสาธารณสุข
นายนพพล กล่าวว่า แมงกะพรุนกล่อง เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีลักษณะโปร่งใสสีฟ้าอ่อน รูปร่างคล้ายลูกบาศก์จึงได้ชื่อว่า แมงกะพรุนกล่อง มีขนาด 10-30 เซนติเมตร เคลื่อนที่พุ่งขึ้นสู่ด้านบนได้อย่างรวดเร็วมาก ว่ายน้ำได้เร็ว 5 ฟุตต่อวินาที มีดวงตาที่มีประสิทธิภาพสูงเกาะกลุ่มกันอยู่รอบตัวสี่ทิศ มีหนวดบางๆ งอกออกมา 15 เส้น สามารถยืดได้ไกล 3 เมตร หนวดแต่ละเส้นจะประกอบด้วยเซลล์พิษมากกว่าล้านเซลล์ จึงเป็นแมงกะพรุนพิษที่ร้ายแรงที่สุด ซึ่งพิษสามารถทำให้เซลล์ผิวหนังที่สัมผัสตายได้ และเข้าสู่กระแสเลือดไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดง เมื่อเข้าสู่ระบบประสาท จะกดทับระบบประสาททำให้หยุดหายใจ และยังทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือหยุดเต้นเฉียบพลัน
นายนพพล กล่าวอีกว่า แมงกะพรุนกล่องอาศัยอยู่ในทะเลเขตอุ่น บริเวณน้ำตื้นใกล้ชายหาดในพื้นที่อ่าวโค้งเว้า และคลื่นลมสงบ เพราะจะหาเหยื่อพวกลูกกุ้ง ลูกปลาในพื้นที่ลักษณะนี้ เช่น ตามชายฝั่งของออสเตรเลียตอนเหนือ ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ หมู่เกาะฮาวาย สำหรับในไทย พบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ช่วงที่พบมากคือ ต.ค. - เม.ย. และหลังช่วงพายุฝนที่จะถูกน้ำทะเลพัดเข้ามาจนใกล้ฝั่ง ทั้งนี้ จากการสุ่มเก็บตัวอย่างแมงกะพรุน 14 จังหวัดจากสองฝั่งทะเลของไทย โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน พบแมงกะพรุนกล่องครบทุกจังหวัด แต่ชนิดที่มีพิษร้ายแรงพบได้ไม่บ่อย
นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ ผอ.สำนักระบาดวิทยา คร. กล่าวว่า การป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากแมงกะพรุนกล่อง ได้แก่ 1. สวมเสื้อผ้ามิดชิดขณะลงทะเล ในพื้นที่และฤดูกาลที่พบแมงกะพรุนกล่อง แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมสำหรับนักท่องเที่ยว 2. ติดตั้งตาข่ายในทะเลเพื่อกันแมงกะพรุน และให้นักท่องเที่ยวเล่นน้ำในบริเวณที่กั้นตาข่าย และ 3. มีจุดวางน้ำส้มสายชู และติดป้ายให้ความรู้เกี่ยวกับการช่วยเหลือเบื้องต้น สำหรับการปฐมพยาบาล คือ 1. เรียกให้คนช่วยหรือเรียกรถพยาบาล โทร. 1669 แต่ห้ามทิ้งผู้บาดเจ็บอยู่ตามลำพัง 2. ให้ผู้บาดเจ็บอยู่นิ่งๆ เพื่อลดการยิงพิษจากแมงกะพรุน 3. ห้ามขัดถูบริเวณที่ถูกแมงกะพรุน เพราะจะทำให้มีการยิงพิษเพิ่มขึ้น 4. ราดน้ำส้มสายชูบริเวณที่สัมผัสแมงกะพรุนให้ทั่วอย่างน้อย 30 วินาที จะช่วยระงับการยิงพิษจากถุงพิษที่ยังไม่ออกฤทธิ์ ไม่ให้ได้รับพิษเพิ่มมากขึ้น แต่ไม่ได้ลดอาการปวด ที่สำคัญห้ามราดด้วยน้ำเปล่า น้ำทะเล เพราะจะทำให้มีการยิงพิษเพิ่มขึ้น และ 5. ถ้าหมดสติ ไม่มีชีพจรให้ปั๊มหัวใจก่อน
ผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุใดน้ำส้มสายชูจึงมีฤทธิ์ในการยับยั้งการฉีดพิษแมงกะพรุน นพ.โสภณ กล่าวว่า ครั้งแรกที่สัมผัสกับแมงกะพรุนจะถูกเข็มพิษจากแมงกะพรุนฉีดพิษเข้าไปประมาณ 10% ถ้าไปขยี้ หรือเอาน้ำเปล่า น้ำทะเลราด พบว่าจะเพิ่มการฉีดพิษของเข็มพิษที่ฝังอยู่ในผิวหนัง แต่เมื่อนำน้ำส้มสายชูมาราดนาน 30 วินาที พบว่า จะช่วยหยุดการฉีดพิษเข้าไปเพิ่มได้ ส่วนเข็มที่ฝังอยู่นั้นจะหลุดออกมาเอง เนื่องจากพิษของแมงกะพรุนจะทำให้เนื้อบริเวณนั้นตาย หลังจากนี้ให้รักษาตามอาการ เช่น ลดการปวด การอักเสบ หรือหากกล้ามเนื้อหัวใจหยุดเต้นก็ให้ปั๊มหัวใจ เป็นต้น
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่
วันนี้ (3 มิ.ย.) ที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรุงเทพฯ นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวภายหลังลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) ด้านองค์ความรู้เกี่ยวกับแมงกะพรุนพิษ ร่วมกับ นายนพพล ศรีสุข อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ว่า หลังนักท่องเที่ยวชาวอเมริกันเสียชีวิตจากพิษแมงกะพรุนกล่องที่ออสเตรเลีย เมื่อปี 2550 ทำให้คนตื่นตัวกับการจัดการแมงกะพรุนมากขึ้น ส่วนในไทย ช่วง 15 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2541-2556 พบผู้ป่วยซึ่งอาการเข้าได้กับแมงกะพรุนกล่องถึง 918 ราย มีอาการหนัก หมดสติ และเสียชีวิต 12 ราย โดยพื้นที่ที่พบผู้ป่วยสอดคล้องกับแหล่งที่อยู่ของแมงกะพรุนกล่อง คือ บริเวณน้ำตื้นใกล้ชายหาดในพื้นที่อ่าวโค้งเว้า ทั้งนี้ ความรู้เรื่องแมงกะพรุนกล่องยังเป็นเรื่องใหม่ในไทย การลงนาม MOU ในครั้งนี้ ก็เพื่อให้เกิดความเข้าใจและความร่วมมือในการพัฒนาความก้าวหน้าด้านการจัดการองค์ความรู้เกี่ยวกับแมงกะพรุนพิษ ทั้งชนิดการแพร่กระจาย และฤดูกาลของแมงกะพรุนพิษในไทย รวมถึงองค์ความรู้ทางการแพทย์และสาธารณสุข
นายนพพล กล่าวว่า แมงกะพรุนกล่อง เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีลักษณะโปร่งใสสีฟ้าอ่อน รูปร่างคล้ายลูกบาศก์จึงได้ชื่อว่า แมงกะพรุนกล่อง มีขนาด 10-30 เซนติเมตร เคลื่อนที่พุ่งขึ้นสู่ด้านบนได้อย่างรวดเร็วมาก ว่ายน้ำได้เร็ว 5 ฟุตต่อวินาที มีดวงตาที่มีประสิทธิภาพสูงเกาะกลุ่มกันอยู่รอบตัวสี่ทิศ มีหนวดบางๆ งอกออกมา 15 เส้น สามารถยืดได้ไกล 3 เมตร หนวดแต่ละเส้นจะประกอบด้วยเซลล์พิษมากกว่าล้านเซลล์ จึงเป็นแมงกะพรุนพิษที่ร้ายแรงที่สุด ซึ่งพิษสามารถทำให้เซลล์ผิวหนังที่สัมผัสตายได้ และเข้าสู่กระแสเลือดไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดง เมื่อเข้าสู่ระบบประสาท จะกดทับระบบประสาททำให้หยุดหายใจ และยังทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือหยุดเต้นเฉียบพลัน
นายนพพล กล่าวอีกว่า แมงกะพรุนกล่องอาศัยอยู่ในทะเลเขตอุ่น บริเวณน้ำตื้นใกล้ชายหาดในพื้นที่อ่าวโค้งเว้า และคลื่นลมสงบ เพราะจะหาเหยื่อพวกลูกกุ้ง ลูกปลาในพื้นที่ลักษณะนี้ เช่น ตามชายฝั่งของออสเตรเลียตอนเหนือ ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ หมู่เกาะฮาวาย สำหรับในไทย พบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ช่วงที่พบมากคือ ต.ค. - เม.ย. และหลังช่วงพายุฝนที่จะถูกน้ำทะเลพัดเข้ามาจนใกล้ฝั่ง ทั้งนี้ จากการสุ่มเก็บตัวอย่างแมงกะพรุน 14 จังหวัดจากสองฝั่งทะเลของไทย โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน พบแมงกะพรุนกล่องครบทุกจังหวัด แต่ชนิดที่มีพิษร้ายแรงพบได้ไม่บ่อย
นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ ผอ.สำนักระบาดวิทยา คร. กล่าวว่า การป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากแมงกะพรุนกล่อง ได้แก่ 1. สวมเสื้อผ้ามิดชิดขณะลงทะเล ในพื้นที่และฤดูกาลที่พบแมงกะพรุนกล่อง แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมสำหรับนักท่องเที่ยว 2. ติดตั้งตาข่ายในทะเลเพื่อกันแมงกะพรุน และให้นักท่องเที่ยวเล่นน้ำในบริเวณที่กั้นตาข่าย และ 3. มีจุดวางน้ำส้มสายชู และติดป้ายให้ความรู้เกี่ยวกับการช่วยเหลือเบื้องต้น สำหรับการปฐมพยาบาล คือ 1. เรียกให้คนช่วยหรือเรียกรถพยาบาล โทร. 1669 แต่ห้ามทิ้งผู้บาดเจ็บอยู่ตามลำพัง 2. ให้ผู้บาดเจ็บอยู่นิ่งๆ เพื่อลดการยิงพิษจากแมงกะพรุน 3. ห้ามขัดถูบริเวณที่ถูกแมงกะพรุน เพราะจะทำให้มีการยิงพิษเพิ่มขึ้น 4. ราดน้ำส้มสายชูบริเวณที่สัมผัสแมงกะพรุนให้ทั่วอย่างน้อย 30 วินาที จะช่วยระงับการยิงพิษจากถุงพิษที่ยังไม่ออกฤทธิ์ ไม่ให้ได้รับพิษเพิ่มมากขึ้น แต่ไม่ได้ลดอาการปวด ที่สำคัญห้ามราดด้วยน้ำเปล่า น้ำทะเล เพราะจะทำให้มีการยิงพิษเพิ่มขึ้น และ 5. ถ้าหมดสติ ไม่มีชีพจรให้ปั๊มหัวใจก่อน
ผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุใดน้ำส้มสายชูจึงมีฤทธิ์ในการยับยั้งการฉีดพิษแมงกะพรุน นพ.โสภณ กล่าวว่า ครั้งแรกที่สัมผัสกับแมงกะพรุนจะถูกเข็มพิษจากแมงกะพรุนฉีดพิษเข้าไปประมาณ 10% ถ้าไปขยี้ หรือเอาน้ำเปล่า น้ำทะเลราด พบว่าจะเพิ่มการฉีดพิษของเข็มพิษที่ฝังอยู่ในผิวหนัง แต่เมื่อนำน้ำส้มสายชูมาราดนาน 30 วินาที พบว่า จะช่วยหยุดการฉีดพิษเข้าไปเพิ่มได้ ส่วนเข็มที่ฝังอยู่นั้นจะหลุดออกมาเอง เนื่องจากพิษของแมงกะพรุนจะทำให้เนื้อบริเวณนั้นตาย หลังจากนี้ให้รักษาตามอาการ เช่น ลดการปวด การอักเสบ หรือหากกล้ามเนื้อหัวใจหยุดเต้นก็ให้ปั๊มหัวใจ เป็นต้น
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่