ห่วงแรงงานต่างด้าวแพร่กระจายโรค พบ 1 ใน 100 คน มีปัญหาสุขภาพ ขณะที่แรงงานต่างด้าวยังไม่เข้าสู่ระบบหลักประกัน ทั้งประกันสังคม และ สธ. มีอีกมาก หวั่นเกิดปัญหา เผยรอ รบ.ใหม่ เล็งเสนอการจัดการอย่างเป็นระบบ พร้อมตั้งพนักงานสาธารณสุขต่างด้าวดูแลกันเอง
นพ.ชาญวิทย์ ทระเทพ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า จากการดำเนินการขายบัตรประกันสุขภาพต่างด้าวที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม ในราคา 2,800 บาท พบว่า การดำเนินงานในปี 2556 จำหน่ายได้ประมาณแสนกว่าใบ ถือว่าไม่มากนัก เนื่องจากปี 2554 มีแรงงานต่างด้าวมาขึ้นทะเบียนในไทย 1.9 ล้านคน ขึ้นทะเบียนกับประกันสังคม 7-8 แสนคน หมายความว่าตัวเลขที่ขาดหายไปนี้เมื่อเจ็บป่วยจะไม่ได้รับการรักษาและมีโอกาสแพร่กระจายเชื้อโรค
นพ.ชาญวิทย์ กล่าวอีกว่า ปัญหาอีกเรื่องคือ แรงงานต่างด้าวที่เข้าสู่ประกันสังคม จะต้องจ่ายสมทบให้ครบ 3 เดือนก่อนจึงเกิดสิทธิ ดังนั้น หากแรงงานป่วยช่วงก่อนครบ 3 เดือนก็ไม่สามารถใช้สิทธิได้ สุดท้ายก็ต้องเข้าระบบการรักษาของ สธ. ที่ต้องให้การรักษาตามหลักมนุษยธรรม อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าวที่ผ่านมาพบว่า 1 ใน 100 คนมีปัญหาสุขภาพ ดังนั้น หากไม่มีการจัดการอย่างเป็นระบบ ปัญหาโรคติดต่อ การระบาดของโรคต่างๆ ก็น่ากังวลด้วย ซึ่งเดิมทีมีคณะกรรมการในการดูแลเรื่องนี้จากหลายกระทรวง แต่เมื่อมีการยุบสภาก็เงียบไป หากมีรัฐบาลใหม่ จะเสนอเรื่องนี้เน้นการจัดการอย่างเป็นระบบอีกครั้ง โดยอาจเสนอให้ตั้งพนักงานสาธารณสุขต่างด้าวดูแลกันเองด้วย
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่
นพ.ชาญวิทย์ ทระเทพ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า จากการดำเนินการขายบัตรประกันสุขภาพต่างด้าวที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม ในราคา 2,800 บาท พบว่า การดำเนินงานในปี 2556 จำหน่ายได้ประมาณแสนกว่าใบ ถือว่าไม่มากนัก เนื่องจากปี 2554 มีแรงงานต่างด้าวมาขึ้นทะเบียนในไทย 1.9 ล้านคน ขึ้นทะเบียนกับประกันสังคม 7-8 แสนคน หมายความว่าตัวเลขที่ขาดหายไปนี้เมื่อเจ็บป่วยจะไม่ได้รับการรักษาและมีโอกาสแพร่กระจายเชื้อโรค
นพ.ชาญวิทย์ กล่าวอีกว่า ปัญหาอีกเรื่องคือ แรงงานต่างด้าวที่เข้าสู่ประกันสังคม จะต้องจ่ายสมทบให้ครบ 3 เดือนก่อนจึงเกิดสิทธิ ดังนั้น หากแรงงานป่วยช่วงก่อนครบ 3 เดือนก็ไม่สามารถใช้สิทธิได้ สุดท้ายก็ต้องเข้าระบบการรักษาของ สธ. ที่ต้องให้การรักษาตามหลักมนุษยธรรม อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าวที่ผ่านมาพบว่า 1 ใน 100 คนมีปัญหาสุขภาพ ดังนั้น หากไม่มีการจัดการอย่างเป็นระบบ ปัญหาโรคติดต่อ การระบาดของโรคต่างๆ ก็น่ากังวลด้วย ซึ่งเดิมทีมีคณะกรรมการในการดูแลเรื่องนี้จากหลายกระทรวง แต่เมื่อมีการยุบสภาก็เงียบไป หากมีรัฐบาลใหม่ จะเสนอเรื่องนี้เน้นการจัดการอย่างเป็นระบบอีกครั้ง โดยอาจเสนอให้ตั้งพนักงานสาธารณสุขต่างด้าวดูแลกันเองด้วย
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่