“อภิชาติ” เล็งแยกวิชาประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ออกจากกลุ่มสังคมศึกษาฯ พร้อมตั้ง “วินัย” ผู้ทรงคุณวุฒิ สพฐ. เป็นประธานศึกษาความเป็นไปได้ และวางแผนพัฒนาการสอน เพื่อให้การสอนเข้มข้นขึ้น
นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ และวิชาหน้าที่พลเมืองนั้นยังคงมีอยู่ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพียงแต่ถูกบรรจุอยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม จึงอาจทำให้เนื้อหาและเวลาในการเรียนมีน้อยกว่าที่ผ่านมา ทำให้เด็กอาจได้เรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์รวมถึงตระหนักในและเข้าใจเกี่ยวกับหน้าที่พลเมืองไม่ดีมากนัก ดังนั้น ตนเห็นว่าน่าจะพัฒนาวิธีการเรียนการสอนทั้ง 2 วิชานี้ให้ชัดเจน โดยอาจจะต้องแยกออกจากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ ด้วย โดยขณะนี้ได้แต่งตั้ง นายวินัย รอดจ่าย ประธานกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เป็นประธานคณะกรรมการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง เพื่อวางแผนพัฒนาการสอนและศึกษาแนวทางความเป็นไปได้การแยกสองวิชานี้ออกมาจากหมวดสังคมศึกษาให้ชัดเจนขึ้น อย่างไรก็ตาม ในส่วนการสอนวิชาศีลธรรม ก็ยังมีอยู่เพียงแต่รวมอยู่ในวิชาพระพุทธศาสนาซึ่งเด็กทุกคนต้องเรียน
ด้าน นายกมล รอดคล้าย รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า ในการประชุมร่วมกับ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) รองหัวหน้า คสช. ในฐานะหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคมที่ผ่านมานั้น ผบ.ทร. ได้พูดถึงการเรียนการสอนในวิชาประวัติศาสตร์ และหน้าที่ของพลเมือง รวมถึงการสอนศีลธรรมแก่นักเรียนซึ่งเป็นสิ่งสำคัญและควรส่งเสริมการเรียนให้เข้มข้น ซึ่งตนได้รายงานว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) โดย สพฐ. ให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนทั้ง 2 วิชานี้มาก ซึ่งก่อนหน้านี้ย้อนไป 7-8 ปีที่ผ่านมาวิชาประวัติศาสตร์จะถูกบรรจุอยู่ในวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต (สปช.) แต่ก็มาพบปัญหาว่าครูที่สอนวิชา สปช. เลือกสอนในหมวดที่ตนเองถนัด ต่อมาเมื่อมีการปรับปรุงหลักสูตรฯ ก็ได้ปรับมาอยู่ในกลุ่มสาระสังคมศึกษา อย่างไรก็ตาม เลขาธิการ กพฐ. มีแนวคิดจะแยกวิชาประวัติศาสตร์ และหน้าที่พลเมืองออกมารายวิชาที่ชัดเจน มีเนื้อหาการสอนและกิจกรรมส่งเสริมหลักสูตรอย่างเข้มข้น เน้นให้นักเรียนได้มีประสบการณ์ตรง ได้สัมผัสเรียนรู้อย่างแท้จริง
“แนวคิดเมื่อแยกวิชาประวัติศาสตร์ และหน้าที่พลเมือง ออกมาเป็นรายวิชาชัดเจนขึ้นจะให้มีเนื้อหาการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตรเข้มข้น เช่น วิชาประวัติศาสตร์ ต้องพานักเรียนไปสัมผัสสถานที่จริง ให้เด็กได้เรียนรู้และซึมซับ รวมไปถึงต้องสอนให้เด็กรู้จักสิทธิและหน้าที่ที่ถูกต้อง เพราะปัจจุบันคนไทยรู้สิทธิ แต่ไม่ค่อยรู้หน้าที่ของคนเอง” นายกมล กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ และวิชาหน้าที่พลเมืองนั้นยังคงมีอยู่ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพียงแต่ถูกบรรจุอยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม จึงอาจทำให้เนื้อหาและเวลาในการเรียนมีน้อยกว่าที่ผ่านมา ทำให้เด็กอาจได้เรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์รวมถึงตระหนักในและเข้าใจเกี่ยวกับหน้าที่พลเมืองไม่ดีมากนัก ดังนั้น ตนเห็นว่าน่าจะพัฒนาวิธีการเรียนการสอนทั้ง 2 วิชานี้ให้ชัดเจน โดยอาจจะต้องแยกออกจากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ ด้วย โดยขณะนี้ได้แต่งตั้ง นายวินัย รอดจ่าย ประธานกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เป็นประธานคณะกรรมการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง เพื่อวางแผนพัฒนาการสอนและศึกษาแนวทางความเป็นไปได้การแยกสองวิชานี้ออกมาจากหมวดสังคมศึกษาให้ชัดเจนขึ้น อย่างไรก็ตาม ในส่วนการสอนวิชาศีลธรรม ก็ยังมีอยู่เพียงแต่รวมอยู่ในวิชาพระพุทธศาสนาซึ่งเด็กทุกคนต้องเรียน
ด้าน นายกมล รอดคล้าย รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า ในการประชุมร่วมกับ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) รองหัวหน้า คสช. ในฐานะหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคมที่ผ่านมานั้น ผบ.ทร. ได้พูดถึงการเรียนการสอนในวิชาประวัติศาสตร์ และหน้าที่ของพลเมือง รวมถึงการสอนศีลธรรมแก่นักเรียนซึ่งเป็นสิ่งสำคัญและควรส่งเสริมการเรียนให้เข้มข้น ซึ่งตนได้รายงานว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) โดย สพฐ. ให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนทั้ง 2 วิชานี้มาก ซึ่งก่อนหน้านี้ย้อนไป 7-8 ปีที่ผ่านมาวิชาประวัติศาสตร์จะถูกบรรจุอยู่ในวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต (สปช.) แต่ก็มาพบปัญหาว่าครูที่สอนวิชา สปช. เลือกสอนในหมวดที่ตนเองถนัด ต่อมาเมื่อมีการปรับปรุงหลักสูตรฯ ก็ได้ปรับมาอยู่ในกลุ่มสาระสังคมศึกษา อย่างไรก็ตาม เลขาธิการ กพฐ. มีแนวคิดจะแยกวิชาประวัติศาสตร์ และหน้าที่พลเมืองออกมารายวิชาที่ชัดเจน มีเนื้อหาการสอนและกิจกรรมส่งเสริมหลักสูตรอย่างเข้มข้น เน้นให้นักเรียนได้มีประสบการณ์ตรง ได้สัมผัสเรียนรู้อย่างแท้จริง
“แนวคิดเมื่อแยกวิชาประวัติศาสตร์ และหน้าที่พลเมือง ออกมาเป็นรายวิชาชัดเจนขึ้นจะให้มีเนื้อหาการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตรเข้มข้น เช่น วิชาประวัติศาสตร์ ต้องพานักเรียนไปสัมผัสสถานที่จริง ให้เด็กได้เรียนรู้และซึมซับ รวมไปถึงต้องสอนให้เด็กรู้จักสิทธิและหน้าที่ที่ถูกต้อง เพราะปัจจุบันคนไทยรู้สิทธิ แต่ไม่ค่อยรู้หน้าที่ของคนเอง” นายกมล กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่