วัยทำงานพบป่วยโรคปริทันต์อักเสบมากขึ้น ชี้แปรงฟันปกติไม่เพียงพอ แนะแปรงซอกฟันทำความสะอาด ช่วยลดคราบจุลินทรีย์ ฟันสะอาดกว่าแปรงปกติ 20% ป้องกันการเกิดโรคปริทันต์ได้
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ประชาชนกลุ่มวัยทำงานเริ่มมีปัญหาเรื่องโรคปริทันต์และพบมากขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุ ทั้งนี้ โรคปริทันต์มีความรุนแรงกว่าเหงือกอักเสบมาก เพราะจะอาการอักเสบที่อวัยวะอื่นด้วย เช่น กระดูกเบ้าฟัน เอ็นยึดปริทันต์ และผิวรากฟัน โดยผู้ที่เป็นโรคปริทันต์มักมีอาการเลือดออกขณะแปรงฟัน เหงือกบวมแดง มีกลิ่นปาก เหงือกร่น มีหนองออกจากร่องเหงือก ฟันโยกหรือฟันเคลื่อนห่างออกจากกัน นำไปสู่การสูญเสียฟัน โรคนี้เกิดจากคราบจุลินทรีย์ (พลัค) ที่มีเชื้อโรคแฝงอยู่เป็นจำนวนมาก พบมากที่บริเวณคอฟัน ขอบเหงือก และซอกฟัน เมื่อกินอาหารเข้าไปคราบจุลินทรีย์นี้จะใช้น้ำตาลจากอาหารสร้างกรดและสารพิษ ทำลายเคลือบฟันทำให้ฟันผุ และสารพิษจะทำให้เหงือกอักเสบจนเกิดโรคปริทันต์ หากทำความสะอาดฟันและเหงือกไม่ทั่วถึงคราบจุลินทรีย์จะเพิ่มขึ้นและเป็นอันตรายต่อเหงือกและฟันได้
นพ.พรเทพ กล่าวว่า การดูแลและทำความสะอาดช่องปากและฟัน ควรทำตามสูตรแปรงฟัน 2 2 2 คือ แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง ด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ แปรงนานอย่างน้อย 2 นาที ให้สะอาดทั่วทั้งปากทุกซี่ ทุกด้าน และไม่กินขนมหรืออาหารหวานหลังแปรงฟัน 2 ชั่วโมง เพราะจะกลายสภาพเป็นกรดทำลายสารเคลือบฟัน แต่ผู้ที่เป็นโรคปริทันต์ หรือเสี่ยงต่อการเกิดโรคปริทันต์อักเสบ การแปรงฟันปกติอาจไม่เพียงพอ เนื่องจากมีช่องว่างระหว่างซี่ฟันบริเวณเหนือเหงือกขนาดใหญ่ และมีร่องลึกลงไปใต้เหงือกที่ยากจะทำความสะอาด การใช้แปรงซอกฟันทำความสะอาด จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำความสะอาดได้มากกว่าการแปรงฟันอย่างเดียวร้อยละ 20 ซึ่งนอกจากจะช่วยลดคราบจุลินทรีย์แล้วยังช่วยป้องกันโรครำมะนาด รวมถึงผู้ที่เป็นโรคปริทันต์อยู่ระหว่างการรักษา การแปรงซอกฟันเป็นประจำวันละครั้ง จะชะลอและลดการลุกลามของโรค เก็บรักษาฟันแท้ให้คงสภาพที่ดีและใช้งานได้นานมากขึ้น
“การเลือกแปรงสำหรับแปรงซอกฟันควรเลือกขนาดให้เหมาะกับช่องว่างระหว่างซี่ฟัน ซึ่งจะมีตั้งแต่ขนาด 0.6 - 1.8 มม. ขนาดของแปรงไม่เล็กจนเกินไปเพราะจะหักง่าย และไม่ใหญ่เกินไปเพราะเบียดซี่ฟันอาจทำให้ฟันสึกและเป็นช่องโหว่ วิธีการใช้ คือ สอดขนแปรงที่ช่องว่างระหว่างซี่ฟัน ดึงเข้าออก 3-4 ครั้ง และต้องใช้อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกวัน วันละ 1 ครั้ง จึงจะได้ผลดีที่สุด” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ประชาชนกลุ่มวัยทำงานเริ่มมีปัญหาเรื่องโรคปริทันต์และพบมากขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุ ทั้งนี้ โรคปริทันต์มีความรุนแรงกว่าเหงือกอักเสบมาก เพราะจะอาการอักเสบที่อวัยวะอื่นด้วย เช่น กระดูกเบ้าฟัน เอ็นยึดปริทันต์ และผิวรากฟัน โดยผู้ที่เป็นโรคปริทันต์มักมีอาการเลือดออกขณะแปรงฟัน เหงือกบวมแดง มีกลิ่นปาก เหงือกร่น มีหนองออกจากร่องเหงือก ฟันโยกหรือฟันเคลื่อนห่างออกจากกัน นำไปสู่การสูญเสียฟัน โรคนี้เกิดจากคราบจุลินทรีย์ (พลัค) ที่มีเชื้อโรคแฝงอยู่เป็นจำนวนมาก พบมากที่บริเวณคอฟัน ขอบเหงือก และซอกฟัน เมื่อกินอาหารเข้าไปคราบจุลินทรีย์นี้จะใช้น้ำตาลจากอาหารสร้างกรดและสารพิษ ทำลายเคลือบฟันทำให้ฟันผุ และสารพิษจะทำให้เหงือกอักเสบจนเกิดโรคปริทันต์ หากทำความสะอาดฟันและเหงือกไม่ทั่วถึงคราบจุลินทรีย์จะเพิ่มขึ้นและเป็นอันตรายต่อเหงือกและฟันได้
นพ.พรเทพ กล่าวว่า การดูแลและทำความสะอาดช่องปากและฟัน ควรทำตามสูตรแปรงฟัน 2 2 2 คือ แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง ด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ แปรงนานอย่างน้อย 2 นาที ให้สะอาดทั่วทั้งปากทุกซี่ ทุกด้าน และไม่กินขนมหรืออาหารหวานหลังแปรงฟัน 2 ชั่วโมง เพราะจะกลายสภาพเป็นกรดทำลายสารเคลือบฟัน แต่ผู้ที่เป็นโรคปริทันต์ หรือเสี่ยงต่อการเกิดโรคปริทันต์อักเสบ การแปรงฟันปกติอาจไม่เพียงพอ เนื่องจากมีช่องว่างระหว่างซี่ฟันบริเวณเหนือเหงือกขนาดใหญ่ และมีร่องลึกลงไปใต้เหงือกที่ยากจะทำความสะอาด การใช้แปรงซอกฟันทำความสะอาด จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำความสะอาดได้มากกว่าการแปรงฟันอย่างเดียวร้อยละ 20 ซึ่งนอกจากจะช่วยลดคราบจุลินทรีย์แล้วยังช่วยป้องกันโรครำมะนาด รวมถึงผู้ที่เป็นโรคปริทันต์อยู่ระหว่างการรักษา การแปรงซอกฟันเป็นประจำวันละครั้ง จะชะลอและลดการลุกลามของโรค เก็บรักษาฟันแท้ให้คงสภาพที่ดีและใช้งานได้นานมากขึ้น
“การเลือกแปรงสำหรับแปรงซอกฟันควรเลือกขนาดให้เหมาะกับช่องว่างระหว่างซี่ฟัน ซึ่งจะมีตั้งแต่ขนาด 0.6 - 1.8 มม. ขนาดของแปรงไม่เล็กจนเกินไปเพราะจะหักง่าย และไม่ใหญ่เกินไปเพราะเบียดซี่ฟันอาจทำให้ฟันสึกและเป็นช่องโหว่ วิธีการใช้ คือ สอดขนแปรงที่ช่องว่างระหว่างซี่ฟัน ดึงเข้าออก 3-4 ครั้ง และต้องใช้อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกวัน วันละ 1 ครั้ง จึงจะได้ผลดีที่สุด” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว