นักวิชาการคาดหากสถานการณ์การเมืองยุติกลางปีนี้ ยอดผู้ว่างงานพุ่งขึ้นเป็น 4 แสนคน ป.ตรี แนวโน้มตกงานเพิ่ม เหตุผลิตบัณฑิตซ้ำซ้อนไม่ตรงความต้องการ แนะเพิ่มกำลังแรงงานด้านอาชีวะ ลุ้นเศรษฐกิจฟื้นตัวลดวิกฤตแรงงาน
รศ.ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผอ.วิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวถึงสถานการณ์แรงงานไทยในปีนี้ว่า จากข้อมูลของหน่วยงานรัฐและภาคเอกชนหลายแห่งพบว่า ขณะนี้มีผู้ว่างงานกว่า 3.3 แสนคน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วกว่า 7.5 หมื่นคน โดยในจำนวนนี้เป็นผู้ที่จบระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และปริญญาตรีอย่างละกว่าร้อยละ 3 ของจำนวนทั้งหมด หรือคิดเป็นอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 0.9 เพิ่มขึ้นกว่าปีที่แล้วซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.6 โดยปัจจัยสำคัญของการขยายตัวของการตลาดแรงงาน คือ สถานการณ์การเมืองและการเติบโตทางเศรษฐกิจ หากสถานการณ์การเมืองยุติได้ในกลางปีนี้ จะทำให้เศรษฐกิจมีโอกาสเติบโตได้เท่ากับปีที่แล้วคือร้อยละ 2.9
“หากปีนี้เศรษฐกิจเติบโตกว่าร้อยละ 2 เช่นปีที่แล้ว ก็คาดการณ์ได้ว่าเราจะเห็นคนว่างงานเท่ากับปีช่วงที่เศรษฐกิจยุโรปมีปัญหาคือ การว่างงานเพิ่มเป็นร้อยละ 1.2 หรือคิดเป็นประมาณ 4 แสนคนโดยในจำนวนนี้เป็นแรงงานระดับล่างและกลางกว่า 1.5 แสนคน ระดับปริญญาตรีกว่า 1.5 แสนคน จะกลายเป็นปัญหาวิกฤตด้านแรงงานของประเทศ เพราะจำนวนแรงงานว่างงานสะสมมาตั้งแต่ปี 2556 เฉพาะปริญญาตรีที่ว่างงานอยู่เดิมก็หลายหมื่นคนแล้ว เพราะช่วง 2 ไตรมาสที่ผ่านมาผู้ประกอบการระมัดระวังรับแรงงานใหม่ค่อนข้างมาก ถ้าสถานการณ์การเมืองยืดเยื้อไปจนถึงปลายปี จะทำให้มีปัญหาผู้ว่างงานหนักกว่าที่คาดไว้“รศ.ดร.ยงยุทธ กล่าว
รศ.ดร.ยงยุทธ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้หลายฝ่ายคาดหวังให้สถานการณ์การเมืองยุติในกลางปีนี้ เพื่อที่เศรษฐกิจจะได้ฟื้นตัว ซึ่งมีผลทำให้ตลาดแรงงานขยายตัว ทุกฝ่ายจะต้องช่วยกันทำให้เศรษฐกิจเติบโตร้อยละ 4 ขึ้นไป ซึ่งไทยยังมีศักยภาพที่สามารถพัฒนาได้ในหลายด้าน จะทำให้สามารถดูดซับแรงงานที่ว่างงานอยู่เข้าไปได้ตลาดแรงงานได้ ทั้งนี้ หากทำให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพและเติบโตร้อยละ 4-5 ได้ใน 4-5 ปี ก็จะช่วยดูดซับแรงงานระดับปริญญาตรีที่ว่างงานอยู่เข้าไปได้จำนวนมาก
“จะต้องมีการปรับสัดส่วนการผลิตกำลังแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ซึ่งปัจจุบันมีความต้องการแรงงานสายอาชีวะจำนวนมาก ขณะที่ต้องการปริญญาตรีจำนวนน้อย ดังนั้น รัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จึงควรผลิตกำลังแรงงานสายอาชีวะเพิ่มขึ้น และให้มีคุณภาพมากขึ้น รวมทั้งวางแผนการผลิตกำลังแรงงานระดับปริญญาตรีใหม่ไม่ให้สถาบันอุดมศึกษาผลิตบางสาขาซ้ำซ้อนและมากเกินไป เช่น สายสังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์โดยพิจารณาถึงความต้องการกำลังแรงงานของประเทศและแต่ละจังหวัดด้วย อีกทั้งต้องพัฒนาทักษะในสิ่งที่ผู้เรียนปริญญาตรีขาดอยู่ เช่น ภาษาอังกฤษ ไอทีด้วย” รศ.ดร.ยงยุทธ กล่าว
รศ.ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผอ.วิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวถึงสถานการณ์แรงงานไทยในปีนี้ว่า จากข้อมูลของหน่วยงานรัฐและภาคเอกชนหลายแห่งพบว่า ขณะนี้มีผู้ว่างงานกว่า 3.3 แสนคน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วกว่า 7.5 หมื่นคน โดยในจำนวนนี้เป็นผู้ที่จบระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และปริญญาตรีอย่างละกว่าร้อยละ 3 ของจำนวนทั้งหมด หรือคิดเป็นอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 0.9 เพิ่มขึ้นกว่าปีที่แล้วซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.6 โดยปัจจัยสำคัญของการขยายตัวของการตลาดแรงงาน คือ สถานการณ์การเมืองและการเติบโตทางเศรษฐกิจ หากสถานการณ์การเมืองยุติได้ในกลางปีนี้ จะทำให้เศรษฐกิจมีโอกาสเติบโตได้เท่ากับปีที่แล้วคือร้อยละ 2.9
“หากปีนี้เศรษฐกิจเติบโตกว่าร้อยละ 2 เช่นปีที่แล้ว ก็คาดการณ์ได้ว่าเราจะเห็นคนว่างงานเท่ากับปีช่วงที่เศรษฐกิจยุโรปมีปัญหาคือ การว่างงานเพิ่มเป็นร้อยละ 1.2 หรือคิดเป็นประมาณ 4 แสนคนโดยในจำนวนนี้เป็นแรงงานระดับล่างและกลางกว่า 1.5 แสนคน ระดับปริญญาตรีกว่า 1.5 แสนคน จะกลายเป็นปัญหาวิกฤตด้านแรงงานของประเทศ เพราะจำนวนแรงงานว่างงานสะสมมาตั้งแต่ปี 2556 เฉพาะปริญญาตรีที่ว่างงานอยู่เดิมก็หลายหมื่นคนแล้ว เพราะช่วง 2 ไตรมาสที่ผ่านมาผู้ประกอบการระมัดระวังรับแรงงานใหม่ค่อนข้างมาก ถ้าสถานการณ์การเมืองยืดเยื้อไปจนถึงปลายปี จะทำให้มีปัญหาผู้ว่างงานหนักกว่าที่คาดไว้“รศ.ดร.ยงยุทธ กล่าว
รศ.ดร.ยงยุทธ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้หลายฝ่ายคาดหวังให้สถานการณ์การเมืองยุติในกลางปีนี้ เพื่อที่เศรษฐกิจจะได้ฟื้นตัว ซึ่งมีผลทำให้ตลาดแรงงานขยายตัว ทุกฝ่ายจะต้องช่วยกันทำให้เศรษฐกิจเติบโตร้อยละ 4 ขึ้นไป ซึ่งไทยยังมีศักยภาพที่สามารถพัฒนาได้ในหลายด้าน จะทำให้สามารถดูดซับแรงงานที่ว่างงานอยู่เข้าไปได้ตลาดแรงงานได้ ทั้งนี้ หากทำให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพและเติบโตร้อยละ 4-5 ได้ใน 4-5 ปี ก็จะช่วยดูดซับแรงงานระดับปริญญาตรีที่ว่างงานอยู่เข้าไปได้จำนวนมาก
“จะต้องมีการปรับสัดส่วนการผลิตกำลังแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ซึ่งปัจจุบันมีความต้องการแรงงานสายอาชีวะจำนวนมาก ขณะที่ต้องการปริญญาตรีจำนวนน้อย ดังนั้น รัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จึงควรผลิตกำลังแรงงานสายอาชีวะเพิ่มขึ้น และให้มีคุณภาพมากขึ้น รวมทั้งวางแผนการผลิตกำลังแรงงานระดับปริญญาตรีใหม่ไม่ให้สถาบันอุดมศึกษาผลิตบางสาขาซ้ำซ้อนและมากเกินไป เช่น สายสังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์โดยพิจารณาถึงความต้องการกำลังแรงงานของประเทศและแต่ละจังหวัดด้วย อีกทั้งต้องพัฒนาทักษะในสิ่งที่ผู้เรียนปริญญาตรีขาดอยู่ เช่น ภาษาอังกฤษ ไอทีด้วย” รศ.ดร.ยงยุทธ กล่าว