สศร.โชว์สื่อสามมิติโบราณสถานสมจริงต่อยอดท่องเที่ยว พร้อมใช้เป็นแหล่งเรียนรูปสถาปัตยกรรม และประวัติศาสตร์ชาติ
นายเขมชาติ เทพไชย ผอ.สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กล่าวว่า ตามที่ สศร. ร่วมกับกรมศิลปากร ดำเนินโครงการพัฒนาเมืองวัฒนธรรม (สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร) เพื่อการท่องเที่ยวตามนโยบาย กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) นั้น ในระหว่างวันที่ 9-13 พ.ค. กรมศิลปากร เปิดนิทรรศการถาวรพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร ขึ้น ในส่วนของ สศร. นำกิจกรรมนิทรรศการศิลปะจากซากปรักหักพังในอุทยานประวัติศาสตร สุโขทัย กำแพงเพชร มรดกโลก ของ ศ.ดร.สันติ เล็กสุขุม มาร่วมจัดแสดง ซึ่งใช้เทคโนโลยีภาพเชิงซ้อนสามมิติ หรือจิตรกรรมดิจิตอล
นายเขมชาติ กล่าวต่อว่า จิตรกรรมดิจิตอลนี้ มีประโยชน์ต่อนักเรียน นักศึกษา ที่เรียนสาขาด้านสถาปัตยกรรมไทย การออกแบบต่างๆ และประวัติศาสตร์ ได้เรียนรู้รูปแบบโบราณสถาน และนำไปต่อยอดผลงานสถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัย ซึ่งผลงานของ ศ.ดร.สันติ ได้จำลองรูปแบบสมบูรณ์ของโบราณสถานในสุโขทัย กำแพงเพชร ไว้อย่างชัดเจน เช่น รูปแบบสันนิษฐานวัดมหาธาตุ วัดนางพญา ตวัดสระศรี วัดช้างรอบ วัดพระแก้ว วัดพระสี่อิริยบถ เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันจะเห็นได้แค่เพียงฐานอิฐ หรือซากปรักหักพังเท่านั้น เพราะการอนุรักษ์ที่เป็นสากล คือ การไม่ต่อเติมหรือสร้างใหม่ การสร้างแบบจำลองสามมิติ มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง พร้อมกันนี้มีแผนที่จะขยายการจัดทำรูปแบบสันนิษฐานโบราณสถานสำคัญแห่งอื่นๆ ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว เพราะนักท่องเที่ยวจะได้เห็นแบบจำลองสมจริงและความยิ่งใหญ่ของโบราณสถานนั้น และแหล่งศึกษาประวัติศาสตร์ด้วย
นายเขมชาติ เทพไชย ผอ.สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กล่าวว่า ตามที่ สศร. ร่วมกับกรมศิลปากร ดำเนินโครงการพัฒนาเมืองวัฒนธรรม (สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร) เพื่อการท่องเที่ยวตามนโยบาย กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) นั้น ในระหว่างวันที่ 9-13 พ.ค. กรมศิลปากร เปิดนิทรรศการถาวรพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร ขึ้น ในส่วนของ สศร. นำกิจกรรมนิทรรศการศิลปะจากซากปรักหักพังในอุทยานประวัติศาสตร สุโขทัย กำแพงเพชร มรดกโลก ของ ศ.ดร.สันติ เล็กสุขุม มาร่วมจัดแสดง ซึ่งใช้เทคโนโลยีภาพเชิงซ้อนสามมิติ หรือจิตรกรรมดิจิตอล
นายเขมชาติ กล่าวต่อว่า จิตรกรรมดิจิตอลนี้ มีประโยชน์ต่อนักเรียน นักศึกษา ที่เรียนสาขาด้านสถาปัตยกรรมไทย การออกแบบต่างๆ และประวัติศาสตร์ ได้เรียนรู้รูปแบบโบราณสถาน และนำไปต่อยอดผลงานสถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัย ซึ่งผลงานของ ศ.ดร.สันติ ได้จำลองรูปแบบสมบูรณ์ของโบราณสถานในสุโขทัย กำแพงเพชร ไว้อย่างชัดเจน เช่น รูปแบบสันนิษฐานวัดมหาธาตุ วัดนางพญา ตวัดสระศรี วัดช้างรอบ วัดพระแก้ว วัดพระสี่อิริยบถ เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันจะเห็นได้แค่เพียงฐานอิฐ หรือซากปรักหักพังเท่านั้น เพราะการอนุรักษ์ที่เป็นสากล คือ การไม่ต่อเติมหรือสร้างใหม่ การสร้างแบบจำลองสามมิติ มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง พร้อมกันนี้มีแผนที่จะขยายการจัดทำรูปแบบสันนิษฐานโบราณสถานสำคัญแห่งอื่นๆ ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว เพราะนักท่องเที่ยวจะได้เห็นแบบจำลองสมจริงและความยิ่งใหญ่ของโบราณสถานนั้น และแหล่งศึกษาประวัติศาสตร์ด้วย