สธ. เร่งแก้ระบบรายงานข้อมูลบาดเจ็บสงกรานต์ ให้บันทึกรายงานน้อยที่สุด เหตุเจ้าหน้าที่ต้องแบ่งเวลาบันทึกข้อมูลจากการดูแลผู้ป่วย เตือนคนขับรถกลับกรุงวันที่ 15 เม.ย. พักผ่อนให้เต็มที่ งดดื่มของมึนเมา ป้องกันหลับใน
วันนี้ (14 เม.ย.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยม รพ.วังเจ้า จ.ตาก รพ.ลานกระบือ รพ.ไทรงาม จ.กำแพงเพชร รพ.วชิระบารมี รพ.สามง่าม และ รพ.พิจิตร จ.พิจิตร ว่า จากการตรวจเยี่ยมพบว่าสามารถดูแลผู้บาดเจ็บช่วงเทศกาลสงกรานต์ได้อย่างดี โดยรวมจำนวนผู้บาดเจ็บลดลงกว่าปีที่แล้ว การโทรศัพท์แจ้งเหตุเพื่อขอความช่วยเหลือหมายเลข 1669 เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาของเจ้าหน้าที่ห้องฉุกเฉินทุกแห่งขณะนี้ คือต้องจัดแบ่งเวลาทำงานมาจดบันทึกรายงาน โดยผู้บาดเจ็บ 1 ราย จะต้องบันทึกทั้งข้อมูลเพื่อการเฝ้าระวัง ข้อมูลอาการผู้ป่วย และรายงานเฉพาะช่วง 7 วันเทศกาล แต่ยังต้องให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยไปด้วย ซึ่ง สธ. จะเร่งแก้ไขเรื่องนี้ โดยจะปรับระบบรายงานให้เหลือน้อยที่สุด แต่สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการประเมินปัญหาและวางแผนแก้ไขได้อย่างครอบคลุม
นพ.ณรงค์กล่าวว่า วันที่ 15 เม.ย. ประชาชนจะเริ่มทยอยเดินทางกลับ ได้ให้โรงพยาบาลตามเส้นทางหลัก เตรียมการให้การดูแลผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งความเสี่ยงช่วงขากลับส่วนใหญ่เกิดจากความเมื่อยล้าจากการฉลองสงกรานต์ อาจพักผ่อนไม่เพียงพอ ขอผู้ที่ทำหน้าที่ขับรถเตรียมตัวให้พร้อม ตรวจสภาพความพร้อมรถและตนเอง นอนให้เต็มอิ่มอย่างน้อย 8 ชั่วโมง งดดื่มของมึนเมาทุกชนิด อย่าหวังพึ่งเครื่องดื่มชูกำลัง และขอให้แวะพักที่จุดบริการร่วมที่อยู่บนเส้นทางหลวง ในระยะทางทุก 200 กิโลเมตร เพื่อคลายความเมื่อยล้า ป้องกันหลับใน และกลับถึงบ้านอย่างปลอดภัย
วันนี้ (14 เม.ย.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยม รพ.วังเจ้า จ.ตาก รพ.ลานกระบือ รพ.ไทรงาม จ.กำแพงเพชร รพ.วชิระบารมี รพ.สามง่าม และ รพ.พิจิตร จ.พิจิตร ว่า จากการตรวจเยี่ยมพบว่าสามารถดูแลผู้บาดเจ็บช่วงเทศกาลสงกรานต์ได้อย่างดี โดยรวมจำนวนผู้บาดเจ็บลดลงกว่าปีที่แล้ว การโทรศัพท์แจ้งเหตุเพื่อขอความช่วยเหลือหมายเลข 1669 เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาของเจ้าหน้าที่ห้องฉุกเฉินทุกแห่งขณะนี้ คือต้องจัดแบ่งเวลาทำงานมาจดบันทึกรายงาน โดยผู้บาดเจ็บ 1 ราย จะต้องบันทึกทั้งข้อมูลเพื่อการเฝ้าระวัง ข้อมูลอาการผู้ป่วย และรายงานเฉพาะช่วง 7 วันเทศกาล แต่ยังต้องให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยไปด้วย ซึ่ง สธ. จะเร่งแก้ไขเรื่องนี้ โดยจะปรับระบบรายงานให้เหลือน้อยที่สุด แต่สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการประเมินปัญหาและวางแผนแก้ไขได้อย่างครอบคลุม
นพ.ณรงค์กล่าวว่า วันที่ 15 เม.ย. ประชาชนจะเริ่มทยอยเดินทางกลับ ได้ให้โรงพยาบาลตามเส้นทางหลัก เตรียมการให้การดูแลผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งความเสี่ยงช่วงขากลับส่วนใหญ่เกิดจากความเมื่อยล้าจากการฉลองสงกรานต์ อาจพักผ่อนไม่เพียงพอ ขอผู้ที่ทำหน้าที่ขับรถเตรียมตัวให้พร้อม ตรวจสภาพความพร้อมรถและตนเอง นอนให้เต็มอิ่มอย่างน้อย 8 ชั่วโมง งดดื่มของมึนเมาทุกชนิด อย่าหวังพึ่งเครื่องดื่มชูกำลัง และขอให้แวะพักที่จุดบริการร่วมที่อยู่บนเส้นทางหลวง ในระยะทางทุก 200 กิโลเมตร เพื่อคลายความเมื่อยล้า ป้องกันหลับใน และกลับถึงบ้านอย่างปลอดภัย