สธ.เปิดวอร์รูมที่กระทรวง ติดตาม และให้บริการดูแลด้านการแพทย์แก่ผู้ชุมนุมทางการเมือง ดูแล 5 จุดสำคัญ จับตาการชุมนุมใหญ่ใน กทม.และการชุมนุมหน้า ป.ป.ช.หวั่นเกิดเหตุปะทะ พร้อมร่วมหน่วยแพทย์กู้ชีพ ชั้นสูงและศูนย์เอราวัณ กทม.จัดทีมปฐมพยาบาลดูแลตลอด 24 ชั่วโมง เผยนับแต่การชุมนุม 30 พ.ย.-29 มี.ค.พบบาดเจ็บ 773 ราย ตาย 23 ราย
วันนี้ (29 มี.ค.) ที่โรงพยาบาลสงฆ์ กทม. นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวระหว่างเป็นประธานประชุมศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้านการแพทย์และสาธารณสุข ส่วนหน้า กรณีชุมนุมทางการเมือง เพื่อติดตามความพร้อมการดูแลสุขภาพผู้ชุมนุมทางการเมืองในพื้นที่ กทม.และปริมณฑล ว่า ได้วางแผนเตรียมความพร้อมดูแลประชาชน 2 เหตุการณ์ คือ การเคลื่อนขบวนใหญ่ใน กทม.ของมวลชน และการดูแลผู้ชุมนุมที่หน้าสำนักงาน ป.ป.ช.ซึ่งอาจมีการปะทะกัน จึงได้เตรียมทีมกู้ชีพชั้นสูง จากโรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์ ได้แก่ รพ.ราชวิถี รพ.เลิดสิน รพ.นพรัตนราชธานี และ รพ.รามาธิบดี รวม 7 ทีม และทีมจากภูมิภาค 2 ทีม คือ รพ.คลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร และ รพ.อินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ปฏิบัติการร่วมกับกรุงเทพมหานคร มูลนิธิร่วมกตัญญูและมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้านการแพทย์และสาธารณสุข ที่กระทรวงสาธารณสุข เพื่อติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หลังจากที่ติดตามสถานการณ์ที่วอร์รูมฯส่วนหน้า รพ.สงฆ์ มาโดยตลอด
นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เตรียมการดูแลผู้ชุมนุมบริเวณหน้าสำนักงาน ป.ป.ช.โดยเปิดวอร์รูมเพิ่มที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี และเปิดวอร์รูมส่วนหน้าที่ รพ.พระนั่งเกล้า รวมทั้งส่งทีมแพทย์ฉุกเฉินระดับสูง ปฏิบัติการร่วมกับมูลนิธิฯ ติดตามสถานการณ์ในจังหวัดนนทบุรีอย่างใกล้ชิด พร้อมประเมินสถานการณ์ร่วมกับฝ่ายความมั่นคง โดยเตรียมแผนรองรับไว้ โดยให้ รพ.ในจังหวัดนนทบุรี และปทุมธานี เป็นผู้รับผิดชอบ รวมทั้งนำส่งผู้ป่วยไป รพ.ในปริมณฑล ได้แก่พระนครศรีอยุธยา สมุทรสาคร รพ.ชลบุรี รพ.ชลประธาน และ รพ.ธรรมศาสตร์ เพื่อดูแลประชาชนอย่างดีที่สุด
ด้าน นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า กรมการแพทย์ สธ.จะร่วมทำงานกับ ศูนย์เอราวัณ กทม.สภากาชาดไทย วชิระพยาบาล มูลนิธิร่วมกตัญญูและมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ตามเส้นทางการเดินทางของผู้ชุมนุมคือแยกสวนลุมพินี ถึงพระบรมรูปทรงม้า ได้จัดทีมปฐมพยาบาลดูแลประชาชนที่เจ็บป่วยทั่วไป ดูแล 5 จุด ตั้งแต่บริเวณแยกราชวิถี พญาไท ศรีอยุธยา แยกเสาวนีย์ และวัดเบญจมบพิตร ในการดูแลในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือเหตุการณ์รุนแรง ได้เตรียมทีมการแพทย์ฉุกเฉินทั้งทีมกู้ชีพขั้นพื้นฐานและชั้นสูง เข้าไปนำส่งผู้ป่วยหรือผู้ได้รับบาดเจ็บให้ได้รับการดูแลก่อนนำส่งโรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชน หากมีเหตุฉุกเฉินประชาชนสามารถติดต่อได้ที่ศูนย์เอราวัณ กทม.หมายเลข 1646 และศูนย์นเรนทร รพ.ราชวิถี หมายเลข 0 2354 8222 ตลอด 24 ชั่วโมง
ขณะที่ นพ.สมเกียรติ เกษมธรรมคุณ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รพ.สงฆ์ กล่าวว่า ผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย. 2556 - 29 มี.ค. 2557 มีผู้บาดเจ็บ 773 ราย โดยอยู่ใน กทม.730 ราย ต่างจังหวัด 43 ราย ผู้เสียชีวิต 23 ราย อยู่ใน กทม.20 ราย และต่างจังหวัด 3 ราย ขณะนี้ยังมีผู้บาดเจ็บรักษาตัวในโรงพยาบาลทั้งหมด 4 ราย โดยอยู่ในกทม. 3 ราย และต่างจังหวัด 1 ราย
วันนี้ (29 มี.ค.) ที่โรงพยาบาลสงฆ์ กทม. นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวระหว่างเป็นประธานประชุมศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้านการแพทย์และสาธารณสุข ส่วนหน้า กรณีชุมนุมทางการเมือง เพื่อติดตามความพร้อมการดูแลสุขภาพผู้ชุมนุมทางการเมืองในพื้นที่ กทม.และปริมณฑล ว่า ได้วางแผนเตรียมความพร้อมดูแลประชาชน 2 เหตุการณ์ คือ การเคลื่อนขบวนใหญ่ใน กทม.ของมวลชน และการดูแลผู้ชุมนุมที่หน้าสำนักงาน ป.ป.ช.ซึ่งอาจมีการปะทะกัน จึงได้เตรียมทีมกู้ชีพชั้นสูง จากโรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์ ได้แก่ รพ.ราชวิถี รพ.เลิดสิน รพ.นพรัตนราชธานี และ รพ.รามาธิบดี รวม 7 ทีม และทีมจากภูมิภาค 2 ทีม คือ รพ.คลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร และ รพ.อินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ปฏิบัติการร่วมกับกรุงเทพมหานคร มูลนิธิร่วมกตัญญูและมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้านการแพทย์และสาธารณสุข ที่กระทรวงสาธารณสุข เพื่อติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หลังจากที่ติดตามสถานการณ์ที่วอร์รูมฯส่วนหน้า รพ.สงฆ์ มาโดยตลอด
นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เตรียมการดูแลผู้ชุมนุมบริเวณหน้าสำนักงาน ป.ป.ช.โดยเปิดวอร์รูมเพิ่มที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี และเปิดวอร์รูมส่วนหน้าที่ รพ.พระนั่งเกล้า รวมทั้งส่งทีมแพทย์ฉุกเฉินระดับสูง ปฏิบัติการร่วมกับมูลนิธิฯ ติดตามสถานการณ์ในจังหวัดนนทบุรีอย่างใกล้ชิด พร้อมประเมินสถานการณ์ร่วมกับฝ่ายความมั่นคง โดยเตรียมแผนรองรับไว้ โดยให้ รพ.ในจังหวัดนนทบุรี และปทุมธานี เป็นผู้รับผิดชอบ รวมทั้งนำส่งผู้ป่วยไป รพ.ในปริมณฑล ได้แก่พระนครศรีอยุธยา สมุทรสาคร รพ.ชลบุรี รพ.ชลประธาน และ รพ.ธรรมศาสตร์ เพื่อดูแลประชาชนอย่างดีที่สุด
ด้าน นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า กรมการแพทย์ สธ.จะร่วมทำงานกับ ศูนย์เอราวัณ กทม.สภากาชาดไทย วชิระพยาบาล มูลนิธิร่วมกตัญญูและมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ตามเส้นทางการเดินทางของผู้ชุมนุมคือแยกสวนลุมพินี ถึงพระบรมรูปทรงม้า ได้จัดทีมปฐมพยาบาลดูแลประชาชนที่เจ็บป่วยทั่วไป ดูแล 5 จุด ตั้งแต่บริเวณแยกราชวิถี พญาไท ศรีอยุธยา แยกเสาวนีย์ และวัดเบญจมบพิตร ในการดูแลในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือเหตุการณ์รุนแรง ได้เตรียมทีมการแพทย์ฉุกเฉินทั้งทีมกู้ชีพขั้นพื้นฐานและชั้นสูง เข้าไปนำส่งผู้ป่วยหรือผู้ได้รับบาดเจ็บให้ได้รับการดูแลก่อนนำส่งโรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชน หากมีเหตุฉุกเฉินประชาชนสามารถติดต่อได้ที่ศูนย์เอราวัณ กทม.หมายเลข 1646 และศูนย์นเรนทร รพ.ราชวิถี หมายเลข 0 2354 8222 ตลอด 24 ชั่วโมง
ขณะที่ นพ.สมเกียรติ เกษมธรรมคุณ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รพ.สงฆ์ กล่าวว่า ผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย. 2556 - 29 มี.ค. 2557 มีผู้บาดเจ็บ 773 ราย โดยอยู่ใน กทม.730 ราย ต่างจังหวัด 43 ราย ผู้เสียชีวิต 23 ราย อยู่ใน กทม.20 ราย และต่างจังหวัด 3 ราย ขณะนี้ยังมีผู้บาดเจ็บรักษาตัวในโรงพยาบาลทั้งหมด 4 ราย โดยอยู่ในกทม. 3 ราย และต่างจังหวัด 1 ราย