แม้ว่าโรคด่างขาวจะไม่ใช่โรคติดต่อหรือส่งผลอันตรายแก่ชีวิต แต่ก็ทำให้หลายคนอดกังวลไม่ได้ โดยเฉพาะคนที่รักสวยรักงาม
พญ.ปรียา กุลละวณิชย์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านโรคผิวหนังและที่ปรึกษา สถาบันโรคผิวหนังกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ให้ข้อมูลว่า โรคด่างขาวนั้นเป็นความผิดปกติของสีผิวเป็นหย่อมๆ ก่อให้เกิดรอยด่างขาวตามผิวหนัง ซึ่งลักษณะของรอยดังกล่าวนี้จะมีสีเหมือนน้ำนม ส่วนรูปร่างและขนาดจะแตกต่างกันออกไป จะเกิดขึ้นที่ผิวบริเวณใดก็ได้ ถ้าเกิดบริเวณที่มีขนหรือผมอาจจะทำให้ขนหรือผมบริเวณนั้นมีสีขาวไปด้วย
“สาเหตุของโรคนั้นเกิดจากการรักษาผิวหนังไม่สะอาด หรือติดเชื้อรา ถ้าเป็นโรคด่างขาวที่เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสาเหตุ ไม่มีโรคอื่นร่วมด้วย จะเรียกว่าเป็นโรคด่างขาว ซึ่งเกิดจากความผิดปกติในการสร้างสีของผิวหนัง”
ทั้งนี้ พญ.ปรียา ให้ข้อมูลอีกว่า เหตุผลที่ต้องแบ่งแยกแบบนั้น เพราะมันยังมีปัจจัยอย่างอื่นซึ่งผลต่อสีผิวของคนเราได้ เช่น เป็นปาน เป็นเชื้อรา หรือรอยที่ผิวหายจากผิวอักเสบ หรือผิวหลุดออกจากถูกไฟลวก ถูกสารเคมี กรดด่าง หรือยาฟอกสีผิว เช่น ยาทาลอกฝ้า หรือแม้แต่โรคของระบบภายในร่างกาย ก็ทำให้เกิดผิวด่างขาวได้ เช่น โรคภูมิแพ้ โรคต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ โรคต่อมหมวกไตพิการ โรคแพ้แสง และถ้ามีรอยด่างตามผิวหนังเพราะสาเหตุจากโรคเหล่านั้น จะไม่เรียกว่าเป็นโรคด่างขาว
“โรคด่างขาวไม่ใช่โรคติดต่อ แต่อาจมีกรรมพันธุ์เข้ามาเกี่ยวข้องได้ และสามารถลุกลามได้ เช่น ขยายขนาดกว้างขึ้น หรือมีวงใหม่เกิดขึ้นในบริเวณข้างเคียง หรือเกิดขึ้นที่อื่นบริเวณใดก็ได้ บางคนเกิดรอยด่างขาวขึ้นบริเวณที่มีรอยขูดขีด หรือตามรอยบาดแผล”
พญ.ปรียา กล่าวต่อไปว่า บางคนมักเข้าใจผิดเมื่อเห็นโรคด่างขาวจะกลัวว่าเป็นโรคเรื้อนซึ่งเป็นโรคติดต่อมีอาการผิวด่างและเนื้อชา แต่รอยด่างในโรคเรื้อนจะไม่ขาวจัดเท่ารอยโรคด่างขาว เพราะในโรคเรื้อนมีการทำลายเม็ดสีบางส่วนเท่านั้น
“ส่วนเรื่องของการดูแลรักษา มีทั้งยาทาและยากิน และต้องมีการตากแดดร่วมด้วย จึงมีการกระตุ้นเซลล์ให้ผลิตสีได้ ยาดังกล่าวมีชื่อว่า โซลาเรน ซึ่งใช้ได้ทั้งทาและกิน ถ้าการรักษาได้ผลจะมีจุดสีดำเกิดขึ้นบริเวณที่ด่าง มักเกิดบริเวณรอบรูขุมขนก่อน สีดำที่เกิดใหม่อาจเกิดบริเวณขอบทำให้ขนาดของรอยด่างแคบลง ในรายที่การรักษาด้วยยาทาไม่ได้ผลหรือในรายที่เป็นมาก อาจจำเป็นต้องใช้ยากิน ระยะเวลาของการรักษาอาจกินเวลานานเป็นเดือนหรือเป็นปี”
สุดท้าย พญ.ปรียา สรุปว่า การรักษาจะได้ผลหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่ามีอาการมากหรือน้อย และขึ้นอยู่กับบริเวณที่เป็นด้วย บางแห่งเป็นแล้วหายยาก เช่น บริเวณมือและเท้า และที่สำคัญ โรคนี้เป็นโรคที่หายยาก การรักษาไม่สามารถทำให้โรคหายทุกราย จะหายได้ในบางรายเท่านั้น วิธีช่วยเมื่อการรักษาไม่ได้ผลคือการปกปิดรอยด่างด้วยเครื่องสำอางซึ่งจะแก้ปัญหาเรื่องความสวยงามได้
ขอบคุณข้อมูล : รายการ “Health Line สายตรงสุขภาพ” รายการที่สร้างภูมิคุ้มกันโรคภัยไข้เจ็บ ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 7.00-8.00 น. ทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี และสามารถรับชมย้อนหลังได้ที่ www.manager.co.th/vdo
พญ.ปรียา กุลละวณิชย์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านโรคผิวหนังและที่ปรึกษา สถาบันโรคผิวหนังกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ให้ข้อมูลว่า โรคด่างขาวนั้นเป็นความผิดปกติของสีผิวเป็นหย่อมๆ ก่อให้เกิดรอยด่างขาวตามผิวหนัง ซึ่งลักษณะของรอยดังกล่าวนี้จะมีสีเหมือนน้ำนม ส่วนรูปร่างและขนาดจะแตกต่างกันออกไป จะเกิดขึ้นที่ผิวบริเวณใดก็ได้ ถ้าเกิดบริเวณที่มีขนหรือผมอาจจะทำให้ขนหรือผมบริเวณนั้นมีสีขาวไปด้วย
“สาเหตุของโรคนั้นเกิดจากการรักษาผิวหนังไม่สะอาด หรือติดเชื้อรา ถ้าเป็นโรคด่างขาวที่เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสาเหตุ ไม่มีโรคอื่นร่วมด้วย จะเรียกว่าเป็นโรคด่างขาว ซึ่งเกิดจากความผิดปกติในการสร้างสีของผิวหนัง”
ทั้งนี้ พญ.ปรียา ให้ข้อมูลอีกว่า เหตุผลที่ต้องแบ่งแยกแบบนั้น เพราะมันยังมีปัจจัยอย่างอื่นซึ่งผลต่อสีผิวของคนเราได้ เช่น เป็นปาน เป็นเชื้อรา หรือรอยที่ผิวหายจากผิวอักเสบ หรือผิวหลุดออกจากถูกไฟลวก ถูกสารเคมี กรดด่าง หรือยาฟอกสีผิว เช่น ยาทาลอกฝ้า หรือแม้แต่โรคของระบบภายในร่างกาย ก็ทำให้เกิดผิวด่างขาวได้ เช่น โรคภูมิแพ้ โรคต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ โรคต่อมหมวกไตพิการ โรคแพ้แสง และถ้ามีรอยด่างตามผิวหนังเพราะสาเหตุจากโรคเหล่านั้น จะไม่เรียกว่าเป็นโรคด่างขาว
“โรคด่างขาวไม่ใช่โรคติดต่อ แต่อาจมีกรรมพันธุ์เข้ามาเกี่ยวข้องได้ และสามารถลุกลามได้ เช่น ขยายขนาดกว้างขึ้น หรือมีวงใหม่เกิดขึ้นในบริเวณข้างเคียง หรือเกิดขึ้นที่อื่นบริเวณใดก็ได้ บางคนเกิดรอยด่างขาวขึ้นบริเวณที่มีรอยขูดขีด หรือตามรอยบาดแผล”
พญ.ปรียา กล่าวต่อไปว่า บางคนมักเข้าใจผิดเมื่อเห็นโรคด่างขาวจะกลัวว่าเป็นโรคเรื้อนซึ่งเป็นโรคติดต่อมีอาการผิวด่างและเนื้อชา แต่รอยด่างในโรคเรื้อนจะไม่ขาวจัดเท่ารอยโรคด่างขาว เพราะในโรคเรื้อนมีการทำลายเม็ดสีบางส่วนเท่านั้น
“ส่วนเรื่องของการดูแลรักษา มีทั้งยาทาและยากิน และต้องมีการตากแดดร่วมด้วย จึงมีการกระตุ้นเซลล์ให้ผลิตสีได้ ยาดังกล่าวมีชื่อว่า โซลาเรน ซึ่งใช้ได้ทั้งทาและกิน ถ้าการรักษาได้ผลจะมีจุดสีดำเกิดขึ้นบริเวณที่ด่าง มักเกิดบริเวณรอบรูขุมขนก่อน สีดำที่เกิดใหม่อาจเกิดบริเวณขอบทำให้ขนาดของรอยด่างแคบลง ในรายที่การรักษาด้วยยาทาไม่ได้ผลหรือในรายที่เป็นมาก อาจจำเป็นต้องใช้ยากิน ระยะเวลาของการรักษาอาจกินเวลานานเป็นเดือนหรือเป็นปี”
สุดท้าย พญ.ปรียา สรุปว่า การรักษาจะได้ผลหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่ามีอาการมากหรือน้อย และขึ้นอยู่กับบริเวณที่เป็นด้วย บางแห่งเป็นแล้วหายยาก เช่น บริเวณมือและเท้า และที่สำคัญ โรคนี้เป็นโรคที่หายยาก การรักษาไม่สามารถทำให้โรคหายทุกราย จะหายได้ในบางรายเท่านั้น วิธีช่วยเมื่อการรักษาไม่ได้ผลคือการปกปิดรอยด่างด้วยเครื่องสำอางซึ่งจะแก้ปัญหาเรื่องความสวยงามได้
ขอบคุณข้อมูล : รายการ “Health Line สายตรงสุขภาพ” รายการที่สร้างภูมิคุ้มกันโรคภัยไข้เจ็บ ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 7.00-8.00 น. ทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี และสามารถรับชมย้อนหลังได้ที่ www.manager.co.th/vdo