สพฉ. เคาะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน 6 ตำแหน่งที่มาจากการเลือกกันเอง หลังหมดวาระ พบ รพ.มหาราชนคร เป็นตัวแทนสถานพยาบาลรัฐ ด้าน รพ.กรุงเทพ ตัวแทนสถานพยาบาลเอกชน “หมอพิษณุ จาก พอ.สว.” ตัวแทนองค์กรเอกชนไม่แสวงผลกำไร
วันนี้ (9 เม.ย.) ที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวภายหลังจัดประชุมเลือกผู้แทน 4 องค์กรเป็นกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน แทนกรรมการที่ครบวาระ 6 ตำแหน่ง ว่า ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกหรือแต่งตั้งกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2556 ให้มีการเลือกกรรมการที่มาจากการเลือกกันเอง ได้แก่ ผู้แทนสถานพยาบาลจำนวน 2 คน โดยเป็นผู้แทนจากสถานพยาบาลของรัฐและเอกชน ประเภทละ 1 คน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 2 คน และผู้แทนองค์กรภาคเอกชนที่ไม่แสวงหากำไรและมีบทบาทด้านบริการการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงสถานพยาบาลที่เป็นนิติบุคคล 2 คน รวมเป็น 6 คน
นพ.อนุชา กล่าวว่า ผู้ที่ได้รับเลือกมีดังนี้ ผู้แทนจากสถานพยาบาลของรัฐ ได้แก่ ผศ.นพ.นเรนทร์ โชติรสนิรมิต จาก รพ.มหาราชนคร ผู้แทนจากสถานพยาบาลเอกชน ได้แก่ นอ.นพ.ไพศาล จันทรพิทักษ์ รพ.กรุงเทพ ผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ นายนิพนธ์ บุญญามณี นายก อบจ.สงขลา และ นายพรชัย โควสุรัตน์ นายก อบจ.อุบลราชธานี และผู้แทนจากองค์กรภาคเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร คือ น.ส.สกาวรัตน์ สมสกุลรุ่งเรือง มูลนิธิร่วมกตัญญู และ นพ.พิษณุ มณีโชติ มูลนิธิ พอ.สว.
“คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับระบบการแพทย์ฉุกเฉิน เสนอแนะ หรือให้คำปรึกษาต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายด้านการแพทย์ฉุกเฉิน เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคอันเกิดจากการดำเนินงานเกี่ยวกับการแพทย์ฉุกเฉินต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา กำหนดนโยบายการบริหารงาน เพื่อมุ่งหวังพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน และให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับบริการทางการแพทย์ที่ทั่วถึง เท่าเทียม และได้มาตรฐาน รวมทั้งได้มาตรฐาน 5 ค. คือ ความครอบคลุมในการบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน ความคล่องแคล่ว ครบพร้อม 24 ชั่วโมง มีคุณภาพ และคุ้มครอง ซึ่งต้องสร้างกลไกการคุ้มครองทั้งสำหรับผู้ป่วย ผู้ปฏิบัติการ และประชาชน” เลขาธิการ สพฉ. กล่าว
วันนี้ (9 เม.ย.) ที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวภายหลังจัดประชุมเลือกผู้แทน 4 องค์กรเป็นกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน แทนกรรมการที่ครบวาระ 6 ตำแหน่ง ว่า ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกหรือแต่งตั้งกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2556 ให้มีการเลือกกรรมการที่มาจากการเลือกกันเอง ได้แก่ ผู้แทนสถานพยาบาลจำนวน 2 คน โดยเป็นผู้แทนจากสถานพยาบาลของรัฐและเอกชน ประเภทละ 1 คน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 2 คน และผู้แทนองค์กรภาคเอกชนที่ไม่แสวงหากำไรและมีบทบาทด้านบริการการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงสถานพยาบาลที่เป็นนิติบุคคล 2 คน รวมเป็น 6 คน
นพ.อนุชา กล่าวว่า ผู้ที่ได้รับเลือกมีดังนี้ ผู้แทนจากสถานพยาบาลของรัฐ ได้แก่ ผศ.นพ.นเรนทร์ โชติรสนิรมิต จาก รพ.มหาราชนคร ผู้แทนจากสถานพยาบาลเอกชน ได้แก่ นอ.นพ.ไพศาล จันทรพิทักษ์ รพ.กรุงเทพ ผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ นายนิพนธ์ บุญญามณี นายก อบจ.สงขลา และ นายพรชัย โควสุรัตน์ นายก อบจ.อุบลราชธานี และผู้แทนจากองค์กรภาคเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร คือ น.ส.สกาวรัตน์ สมสกุลรุ่งเรือง มูลนิธิร่วมกตัญญู และ นพ.พิษณุ มณีโชติ มูลนิธิ พอ.สว.
“คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับระบบการแพทย์ฉุกเฉิน เสนอแนะ หรือให้คำปรึกษาต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายด้านการแพทย์ฉุกเฉิน เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคอันเกิดจากการดำเนินงานเกี่ยวกับการแพทย์ฉุกเฉินต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา กำหนดนโยบายการบริหารงาน เพื่อมุ่งหวังพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน และให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับบริการทางการแพทย์ที่ทั่วถึง เท่าเทียม และได้มาตรฐาน รวมทั้งได้มาตรฐาน 5 ค. คือ ความครอบคลุมในการบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน ความคล่องแคล่ว ครบพร้อม 24 ชั่วโมง มีคุณภาพ และคุ้มครอง ซึ่งต้องสร้างกลไกการคุ้มครองทั้งสำหรับผู้ป่วย ผู้ปฏิบัติการ และประชาชน” เลขาธิการ สพฉ. กล่าว