ผมร่วงเป็นเรื่องปกติทั่วไป เพราะวงจรชีวิตของเส้นผมจะมีการเจริญอยู่ในช่วง 2-6 ปี จากนั้นจะหยุดเจริญเติบโตแล้วหลุดร่วงออก โดยมีผมเส้นใหม่มาแทนเสมอๆ ดังนั้น ขณะที่หวีผม แปรงผม สระผม เช็ดผม ถูหนังศีรษะ ก็จะมีเส้นผมหลุดร่วงออกมาได้ตลอด แต่ปัญหาคือบางรายมีผมร่วงมากกว่าที่ผมใหม่จะขึ้นมา จนเกิดภาวะศีรษะล้าน
สำหรับสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้ผมร่วงที่ทราบกันดีก็คือ ความผิดปกติของฮอร์โมน การอักเสบของหนังศีรษะ การบาดเจ็บเฉพาะที่หรือดึงรั้งมากไป เช่น การใช้ยางรัดผมที่แน่นเกินไป การถักเปีย เป็นต้น การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาลดความดัน ยากันชัก และปัจจัยทางด้านจิตวิทยา เช่น ความเครียด ความกังวล เป็นต้น
ทั้งนี้ ในงาน “ไขปริศนา ปัญหาความงาม” จัดโดยสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ผศ.นพ.รัฐพล ตวงทอง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคผิวหนัง รพ.ศิริราช อธิบายว่า ปกติเส้นผมบนศีรษะของคนเราจะมีประมาณ 100,000 เส้น อัตราการร่วงเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณไม่เกิน 100 เส้น ในวันที่ไม่ได้สระผม และร่วงประมาณไม่เกิน 200 เส้น ในวันที่สระผม ซึ่งปริมาณดังกล่าวถือเป็นเกณฑ์ที่ปกติ สามารถมีผมขึ้นมาทดแทนได้ แต่การที่จะทราบว่ามีเส้นผมร่วงกี่เส้นต่อวันนั้น สามารถทำได้ดังต่อไปนี้
ควรเก็บเส้นผมที่ร่วง 5 ครั้งต่อวัน คือ ช่วงเช้า สาย บ่าย เย็น และก่อนนอน การเก็บแต่ละครั้งใช้หวี หวีที่ศีรษะ 4 ด้าน แล้วเก็บรวบรวมผม ใส่ถุงพลาสติก ทำอย่างนี้เป็นเวลา 1 อาทิตย์ แล้วมานับหาค่าเฉลี่ยผมที่ร่วงต่อวัน โดยวันใดที่สระผมก็ควรจะสระผมแล้วล้างแชมพูในภาชนะรองรับ เพื่อนับเส้นผมที่ร่วง และจดปริมาณที่ร่วงในวันที่สระผม หากเกินตามเกณฑ์ดังกล่าวก็เข้าข่ายโรคผมร่วง
อย่าวไรก็ตาม ผมร่วงไม่ใช่แค่ปัญหาโรคผิวหนังเท่านั้น เพราะ ผศ.นพ.รัฐพล ยืนยันว่า สามารถสะท้อนปัญหาสุขภาพระบบใดระบบหนึ่งได้ เช่น โรคไต โรคตับ โรคโลหิตจาง เป็นต้น เส้นผมจึงเปรียบเสมือนกระจกส่องสุขภาพอย่างหนึ่ง ดังนั้น การที่มีผมร่วงผิดปกติก็เปรียบเสมือนสัญญาณเตือนให้พบแพทย์ผิวหนัง เพื่อทำการตรวจหาสาเหตุและทำการรักษาแต่เนิ่นๆ
สำหรับการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์รักษาผมร่วง ที่โฆษณาตามสื่อต่างๆ ผศ.นพ.รัฐพล กล่าวว่า จำเป็นที่จะต้องมีหลายปัจจัยหลัก ในการตัดสินใจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ เช่น ผลิตภัณฑ์นั้นได้มาตรฐาน มีการรับรองจาก อย.หรือไม่ ผลิตภัณฑ์นั้นเลือกใช้ได้ถูกต้องกับโรคที่เป็นหรือไม่ เพราะอาการผมร่วงมีมาได้จากหลายสาเหตุ เช่น หากผมร่วงจากหนังศีรษะอักเสบ แล้วเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่รักษาโรคผมบางจากพันธุกรรมและฮอร์โมน ก็จะรักษาไม่ได้ผล เป็นต้น
“นอกจากนี้ การใช้ผลิตภัณฑ์นั้นสม่ำเสมอและยาวนานเพียงพอหรือไม่ เช่น โรคผมบางจากพันธุกรรมและฮอร์โมนเป็นโรคที่ต้องอาศัยการทายารักษาที่สม่ำเสมอ และต่อเนื่องในระยะเวลาเป็นปีๆ ดังนั้น การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่รักษาผมร่วงนั้นสามารถทำได้ แต่ถ้าไม่ได้ผลในการรักษาอย่างที่ต้องการควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อทำการตรวจรักษาต่อไป” ผศ.นพ.รัฐพล กล่าว
สำหรับสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้ผมร่วงที่ทราบกันดีก็คือ ความผิดปกติของฮอร์โมน การอักเสบของหนังศีรษะ การบาดเจ็บเฉพาะที่หรือดึงรั้งมากไป เช่น การใช้ยางรัดผมที่แน่นเกินไป การถักเปีย เป็นต้น การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาลดความดัน ยากันชัก และปัจจัยทางด้านจิตวิทยา เช่น ความเครียด ความกังวล เป็นต้น
ทั้งนี้ ในงาน “ไขปริศนา ปัญหาความงาม” จัดโดยสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ผศ.นพ.รัฐพล ตวงทอง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคผิวหนัง รพ.ศิริราช อธิบายว่า ปกติเส้นผมบนศีรษะของคนเราจะมีประมาณ 100,000 เส้น อัตราการร่วงเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณไม่เกิน 100 เส้น ในวันที่ไม่ได้สระผม และร่วงประมาณไม่เกิน 200 เส้น ในวันที่สระผม ซึ่งปริมาณดังกล่าวถือเป็นเกณฑ์ที่ปกติ สามารถมีผมขึ้นมาทดแทนได้ แต่การที่จะทราบว่ามีเส้นผมร่วงกี่เส้นต่อวันนั้น สามารถทำได้ดังต่อไปนี้
ควรเก็บเส้นผมที่ร่วง 5 ครั้งต่อวัน คือ ช่วงเช้า สาย บ่าย เย็น และก่อนนอน การเก็บแต่ละครั้งใช้หวี หวีที่ศีรษะ 4 ด้าน แล้วเก็บรวบรวมผม ใส่ถุงพลาสติก ทำอย่างนี้เป็นเวลา 1 อาทิตย์ แล้วมานับหาค่าเฉลี่ยผมที่ร่วงต่อวัน โดยวันใดที่สระผมก็ควรจะสระผมแล้วล้างแชมพูในภาชนะรองรับ เพื่อนับเส้นผมที่ร่วง และจดปริมาณที่ร่วงในวันที่สระผม หากเกินตามเกณฑ์ดังกล่าวก็เข้าข่ายโรคผมร่วง
อย่าวไรก็ตาม ผมร่วงไม่ใช่แค่ปัญหาโรคผิวหนังเท่านั้น เพราะ ผศ.นพ.รัฐพล ยืนยันว่า สามารถสะท้อนปัญหาสุขภาพระบบใดระบบหนึ่งได้ เช่น โรคไต โรคตับ โรคโลหิตจาง เป็นต้น เส้นผมจึงเปรียบเสมือนกระจกส่องสุขภาพอย่างหนึ่ง ดังนั้น การที่มีผมร่วงผิดปกติก็เปรียบเสมือนสัญญาณเตือนให้พบแพทย์ผิวหนัง เพื่อทำการตรวจหาสาเหตุและทำการรักษาแต่เนิ่นๆ
สำหรับการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์รักษาผมร่วง ที่โฆษณาตามสื่อต่างๆ ผศ.นพ.รัฐพล กล่าวว่า จำเป็นที่จะต้องมีหลายปัจจัยหลัก ในการตัดสินใจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ เช่น ผลิตภัณฑ์นั้นได้มาตรฐาน มีการรับรองจาก อย.หรือไม่ ผลิตภัณฑ์นั้นเลือกใช้ได้ถูกต้องกับโรคที่เป็นหรือไม่ เพราะอาการผมร่วงมีมาได้จากหลายสาเหตุ เช่น หากผมร่วงจากหนังศีรษะอักเสบ แล้วเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่รักษาโรคผมบางจากพันธุกรรมและฮอร์โมน ก็จะรักษาไม่ได้ผล เป็นต้น
“นอกจากนี้ การใช้ผลิตภัณฑ์นั้นสม่ำเสมอและยาวนานเพียงพอหรือไม่ เช่น โรคผมบางจากพันธุกรรมและฮอร์โมนเป็นโรคที่ต้องอาศัยการทายารักษาที่สม่ำเสมอ และต่อเนื่องในระยะเวลาเป็นปีๆ ดังนั้น การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่รักษาผมร่วงนั้นสามารถทำได้ แต่ถ้าไม่ได้ผลในการรักษาอย่างที่ต้องการควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อทำการตรวจรักษาต่อไป” ผศ.นพ.รัฐพล กล่าว