คนไทยมีความสุขมากสุดอันดับ 36 ของโลก กรมสุขภาพจิตแนะวิธีสร้างความสุขให้ตนเองง่ายๆ 10 วิธี ชูออกกำลังกาย ส่งยิ้มให้คนไม่รู้จัก ลดดูทีวีลงครึ่งหนึ่ง หัวเราะให้มากๆ แนะวัยทำงานเตรียมพร้อมสร้างความสุขระยะยาวให้ตัวเอง
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า วันที่ 20 มี.ค.ของทุกปีวันความสุขสากล โดยไทยอยู่ลำดับที่ 36 ของโลกของประเทศที่มีความสุข เป็นอันดับที่ 2 ในอาเซียน รองจาก สิงคโปร์ ส่วนผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ร่วมกับกรมสุขภาพจิต ปี 2555 พบคนไทยมีคะแนนความสุขในชีวิต ซึ่งหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญคือ ความสุขในครอบครัว โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 7.17 คะแนน จากคะแนนเต็ม 9 คะแนน จังหวัดที่มีคะแนนความสุขในครอบครัวมาก 10 อันดับแรก ได้แก่ ยโสธร สุรินทร์ ตรัง นครพนม ปทุมธานี ยะลา เพชรบูรณ์ น่าน พิจิตร และชัยภูมิ ส่วนจังหวัดที่มีคะแนนน้อย 3 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสงคราม ปัตตานี และสระแก้ว
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนไทยมีความสุข ได้แก่ ครอบครัวมีเวลาให้กันอย่างเพียงพอ มีสุขภาพดี ออกกำลังกายประจำ ปฏิบัติตามหลักคำสอนทางศาสนา การทำสมาธิ มีรายได้ดี การงานมั่นคง ไม่มีหนี้สินนอกระบบ เกษตรกรมีที่ดินทำกิน สธ.จึงเร่งพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ในรูปเขตบริการสุขภาพ มีทั้งหมด 12 เขต เพื่อดูแลประชาชนอย่างทั่วถึง รวดเร็ว และเท่าเทียม เชื่อมโยงตั้งแต่สถานพยาบาลขนาดเล็กจนถึงระดับเชี่ยวชาญ เสมือนเป็นโรงพยาบาลเดียวกัน ขณะนี้ก้าวสู่ปีที่ 2 จะสมบูรณ์แบบในปี 2559 ตั้งเป้าอีก 10ปี คนไทยจะมีอายุยืนเฉลี่ย 80 ปี และอยู่อย่างมีสุขภาพดีจนถึงอายุ 72 ปี
ด้าน นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า การมีความสุขในชีวิต สะท้อนได้จากการมีความสุขในครอบครัว โดยดูจาก 3 ปัจจัย ได้แก่ 1.การดูแลของครอบครัวเมื่อสมาชิกป่วยหนัก 2.ความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยเมื่ออยู่ภายในบ้าน และ 3.ครอบครัวมีความรักความผูกพันอันดีต่อกัน วิธีสร้างสุขสำหรับประชาชนทั่วไป 10 ประการคือ
1.ออกกำลังกาย ร่างกายจะหลั่งสารแห่งความสุขออกมา ทำให้นอนหลับดี สมองปลอดโปร่ง
2.ทบทวนสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตด้วยความรู้สึกขอบคุณอย่างน้อย 5 เรื่องต่อวันก่อนนอน
3.ให้เวลาพูดคุยรับฟังคู่ครอง เพื่อนสนิท อย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงทุกสัปดาห์
4.ปลูกต้นไม้ ต้นเล็กๆ ตั้งบนโต๊ะแล้วดูแลรักษาให้ดี
5.ลดเวลาดูทีวีลงครึ่งหนึ่ง
6.ยิ้มและทักทายคนที่ไม่รู้จักอย่างน้อยวันละครั้ง
7.หาโอกาสพูดคุยกับเพื่อนฝูงที่ห่างกันไปลองนัดหมายเพื่อพบเจอกันบ้าง
8.หัวเราะให้มากและนานพอทุกวัน
9.ใส่ใจดูแลตนเองทุกวัน ใช้เวลาทำบางสิ่งที่สร้างความเพลิดเพลินให้กับตัวเอง
และ 10.ฝึกเป็นผู้ให้สิ่งดีๆ แก่ผู้อื่น
“ผู้ที่ยังอยู่ในวัยทำงาน ควรจัดเตรียมต้นทุนด้านสุขภาพ การเงิน สายสัมพันธ์ในครอบครัวให้ดี เนื่องจากจะมีผลต่อความสุขในระยะยาวของชีวิต และหากมีผู้สูงอายุในบ้าน ควรให้ท่านได้ร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่จะสร้างสายสัมพันธ์และความรู้สึกมีคุณค่า นอกจากนี้ การศึกษาและปฏิบัติธรรมนับเป็นปัจจัยความสุขสำคัญของผู้สูงอายุ ที่ควรเข้าถึงตั้งแต่ในวัยทำงานด้วยเช่นกัน ซึ่งกรมสุขภาพจิต ได้สนับสนุนชมรมผู้สูงอายุที่มีอยู่ทั่วประเทศ ให้มีกิจกรรมความสุขและปรับพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อเติมความสุขให้กับประชากรกลุ่มสำคัญนี้” นพ.เจษฎา กล่าว
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า วันที่ 20 มี.ค.ของทุกปีวันความสุขสากล โดยไทยอยู่ลำดับที่ 36 ของโลกของประเทศที่มีความสุข เป็นอันดับที่ 2 ในอาเซียน รองจาก สิงคโปร์ ส่วนผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ร่วมกับกรมสุขภาพจิต ปี 2555 พบคนไทยมีคะแนนความสุขในชีวิต ซึ่งหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญคือ ความสุขในครอบครัว โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 7.17 คะแนน จากคะแนนเต็ม 9 คะแนน จังหวัดที่มีคะแนนความสุขในครอบครัวมาก 10 อันดับแรก ได้แก่ ยโสธร สุรินทร์ ตรัง นครพนม ปทุมธานี ยะลา เพชรบูรณ์ น่าน พิจิตร และชัยภูมิ ส่วนจังหวัดที่มีคะแนนน้อย 3 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสงคราม ปัตตานี และสระแก้ว
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนไทยมีความสุข ได้แก่ ครอบครัวมีเวลาให้กันอย่างเพียงพอ มีสุขภาพดี ออกกำลังกายประจำ ปฏิบัติตามหลักคำสอนทางศาสนา การทำสมาธิ มีรายได้ดี การงานมั่นคง ไม่มีหนี้สินนอกระบบ เกษตรกรมีที่ดินทำกิน สธ.จึงเร่งพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ในรูปเขตบริการสุขภาพ มีทั้งหมด 12 เขต เพื่อดูแลประชาชนอย่างทั่วถึง รวดเร็ว และเท่าเทียม เชื่อมโยงตั้งแต่สถานพยาบาลขนาดเล็กจนถึงระดับเชี่ยวชาญ เสมือนเป็นโรงพยาบาลเดียวกัน ขณะนี้ก้าวสู่ปีที่ 2 จะสมบูรณ์แบบในปี 2559 ตั้งเป้าอีก 10ปี คนไทยจะมีอายุยืนเฉลี่ย 80 ปี และอยู่อย่างมีสุขภาพดีจนถึงอายุ 72 ปี
ด้าน นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า การมีความสุขในชีวิต สะท้อนได้จากการมีความสุขในครอบครัว โดยดูจาก 3 ปัจจัย ได้แก่ 1.การดูแลของครอบครัวเมื่อสมาชิกป่วยหนัก 2.ความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยเมื่ออยู่ภายในบ้าน และ 3.ครอบครัวมีความรักความผูกพันอันดีต่อกัน วิธีสร้างสุขสำหรับประชาชนทั่วไป 10 ประการคือ
1.ออกกำลังกาย ร่างกายจะหลั่งสารแห่งความสุขออกมา ทำให้นอนหลับดี สมองปลอดโปร่ง
2.ทบทวนสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตด้วยความรู้สึกขอบคุณอย่างน้อย 5 เรื่องต่อวันก่อนนอน
3.ให้เวลาพูดคุยรับฟังคู่ครอง เพื่อนสนิท อย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงทุกสัปดาห์
4.ปลูกต้นไม้ ต้นเล็กๆ ตั้งบนโต๊ะแล้วดูแลรักษาให้ดี
5.ลดเวลาดูทีวีลงครึ่งหนึ่ง
6.ยิ้มและทักทายคนที่ไม่รู้จักอย่างน้อยวันละครั้ง
7.หาโอกาสพูดคุยกับเพื่อนฝูงที่ห่างกันไปลองนัดหมายเพื่อพบเจอกันบ้าง
8.หัวเราะให้มากและนานพอทุกวัน
9.ใส่ใจดูแลตนเองทุกวัน ใช้เวลาทำบางสิ่งที่สร้างความเพลิดเพลินให้กับตัวเอง
และ 10.ฝึกเป็นผู้ให้สิ่งดีๆ แก่ผู้อื่น
“ผู้ที่ยังอยู่ในวัยทำงาน ควรจัดเตรียมต้นทุนด้านสุขภาพ การเงิน สายสัมพันธ์ในครอบครัวให้ดี เนื่องจากจะมีผลต่อความสุขในระยะยาวของชีวิต และหากมีผู้สูงอายุในบ้าน ควรให้ท่านได้ร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่จะสร้างสายสัมพันธ์และความรู้สึกมีคุณค่า นอกจากนี้ การศึกษาและปฏิบัติธรรมนับเป็นปัจจัยความสุขสำคัญของผู้สูงอายุ ที่ควรเข้าถึงตั้งแต่ในวัยทำงานด้วยเช่นกัน ซึ่งกรมสุขภาพจิต ได้สนับสนุนชมรมผู้สูงอายุที่มีอยู่ทั่วประเทศ ให้มีกิจกรรมความสุขและปรับพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อเติมความสุขให้กับประชากรกลุ่มสำคัญนี้” นพ.เจษฎา กล่าว