นักวิชาการชี้ คะแนน O-NET ป.6 ม.3 สะท้อนระบบการเรียนการสอน หลักสูตร และการประเมินผลไม่สอดคล้องกัน อีกทั้งเด็กอยู่ในช่วงกำลังเข้าสู่วัยรุ่นและเป็นวัยรุ่น ทำให้ขาดความเอาใจใส่ต่อการสอบเท่าที่ควร อีกทั้งเหนื่อยล้าต่อการสอบที่มีมากและเป็นการสอบที่คล้ายกันส่งผลเด็กเบื่อหน่าย ขณะที่การกำหนดให้คะแนน O-NET มีผลต่อการเรียนต่อระดับสูงขึ้นมีผลกับเด็กในเมืองใหญ่เท่านั้น
รศ.ดร.ประวิตร์ เอราวรรณ์ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในฐานะประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยระบบการศึกษา กล่าวถึงกรณีที่ผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET ปีการศึกษา 2556 ในระดับประถมศึกษาปีที่ 6 และระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่าชั้น ป.6 มีผู้สอบได้ 0 คะแนนทุกกลุ่มสาระ ขณะที่คะแนนเฉลี่ยผ่านร้อยละ 50 เพียง 2 วิชา ได้แก่ กลุ่มสาระพลานามัย สุขศึกษา และ กลุ่มสาระการงานอาชีพ ส่วน ม.3 มีผู้สอบได้ 0 คะแนนและมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 50 เพียงวิชาเดียวคือ กลุ่มสาระพลานามัย สุขศึกษา ว่า ส่วนตัวมองว่า คะแนนดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงระบบการจัดการเรียนการสอน ระบบการบริหารหลักสูตร และระบบการวัดและประเมินผลที่ไม่สอดคล้องกัน ซึ่งจะได้เห็นได้ว่า ข้อสอบของ สทศ.เป็นข้อสอบที่เน้นการคิดวิเคราะห์ ส่วนการเรียนการสอนและการวัดประเมินผลของโรงเรียน จะเป็นอีกแบบหนึ่งที่ยังเน้นการท่องจำ เมื่อได้ใกล้สอบ O-NET ก็จะมีการติวข้อสอบเด็ก ผลการสอบจึงออกมาในรูปแบบดังกล่าว ขณะเดียวกันพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของนักเรียน ป.6 ที่กำลังเข้าสู่วัยรุ่น ส่วน ม.3 ก็เป็นวัยรุ่น ทำให้เด็กไม่มีความเอาใจใส่กับการสอบมากเท่าที่ควร ซึ่งตนคิดว่า เด็กเกิดความเหนื่อยล้ากับการสอบที่มากเกินไป เพราะเรามีการสอบเก็บคะแนน สอบกลางภาค สอบปลายภาค โดยเด็กทุกคนต้องสอบ 8 กลุ่มสาระ จึงทำให้เบื่อหน่ายกับการสอบ
รศ.ดร.ประวิทย์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ แรงจูงใจที่จะนำผลสอบ O-NET เพื่อเรียนต่อระดับชั้นที่สูงขึ้น ได้ผลกับเด็กในเมืองใหญ่ที่มีการแข่งขันสูง แต่ใช้ไม่ได้กับเด็กในโรงเรียนชนบทห่างไกล รวมทั้งเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมในโรงเรียนขนาดใหญ่ที่ไม่อยากเรียนต่อ ก็ไม่ตั้งใจสอบเช่นกัน สำหรับแนวทางแก้ไขนั้น ตนคิดว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบต้องหารือร่วมกัน โดยเฉพาะเรื่องการสอบในโรงเรียนกับการสอบO-NETที่เน้นการคิดวิเคราะห์มี ความสอดคล้องกันมากน้อยเพียงใด, การวัดประเมินผลในโรงเรียน 8 กลุ่มสาระ ซึ่งมีลักษณะการสอบที่คล้ายกัน สอบบ่อย ส่งผลให้เด็กเบื่อหน่าย จะหาทางแก้ไขอย่างไร และการที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา หรือ สมศ.จะนำคะแนน O-NET ไปใช้ในการประเมินครู และประเมินผลโรงเรียน ก็ทำให้ผู้หลักผู้ใหญ่ตื่นเต้นกับการสอบ O-NET มากกว่าเด็ก ส่งผลให้เกิดข้อผิดพลาดบางอย่างกับการสอบหรือไม่ เป็นเรื่องที่เราควรต้องหาคำตอบ
รศ.ดร.ประวิตร์ เอราวรรณ์ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในฐานะประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยระบบการศึกษา กล่าวถึงกรณีที่ผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET ปีการศึกษา 2556 ในระดับประถมศึกษาปีที่ 6 และระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่าชั้น ป.6 มีผู้สอบได้ 0 คะแนนทุกกลุ่มสาระ ขณะที่คะแนนเฉลี่ยผ่านร้อยละ 50 เพียง 2 วิชา ได้แก่ กลุ่มสาระพลานามัย สุขศึกษา และ กลุ่มสาระการงานอาชีพ ส่วน ม.3 มีผู้สอบได้ 0 คะแนนและมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 50 เพียงวิชาเดียวคือ กลุ่มสาระพลานามัย สุขศึกษา ว่า ส่วนตัวมองว่า คะแนนดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงระบบการจัดการเรียนการสอน ระบบการบริหารหลักสูตร และระบบการวัดและประเมินผลที่ไม่สอดคล้องกัน ซึ่งจะได้เห็นได้ว่า ข้อสอบของ สทศ.เป็นข้อสอบที่เน้นการคิดวิเคราะห์ ส่วนการเรียนการสอนและการวัดประเมินผลของโรงเรียน จะเป็นอีกแบบหนึ่งที่ยังเน้นการท่องจำ เมื่อได้ใกล้สอบ O-NET ก็จะมีการติวข้อสอบเด็ก ผลการสอบจึงออกมาในรูปแบบดังกล่าว ขณะเดียวกันพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของนักเรียน ป.6 ที่กำลังเข้าสู่วัยรุ่น ส่วน ม.3 ก็เป็นวัยรุ่น ทำให้เด็กไม่มีความเอาใจใส่กับการสอบมากเท่าที่ควร ซึ่งตนคิดว่า เด็กเกิดความเหนื่อยล้ากับการสอบที่มากเกินไป เพราะเรามีการสอบเก็บคะแนน สอบกลางภาค สอบปลายภาค โดยเด็กทุกคนต้องสอบ 8 กลุ่มสาระ จึงทำให้เบื่อหน่ายกับการสอบ
รศ.ดร.ประวิทย์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ แรงจูงใจที่จะนำผลสอบ O-NET เพื่อเรียนต่อระดับชั้นที่สูงขึ้น ได้ผลกับเด็กในเมืองใหญ่ที่มีการแข่งขันสูง แต่ใช้ไม่ได้กับเด็กในโรงเรียนชนบทห่างไกล รวมทั้งเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมในโรงเรียนขนาดใหญ่ที่ไม่อยากเรียนต่อ ก็ไม่ตั้งใจสอบเช่นกัน สำหรับแนวทางแก้ไขนั้น ตนคิดว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบต้องหารือร่วมกัน โดยเฉพาะเรื่องการสอบในโรงเรียนกับการสอบO-NETที่เน้นการคิดวิเคราะห์มี ความสอดคล้องกันมากน้อยเพียงใด, การวัดประเมินผลในโรงเรียน 8 กลุ่มสาระ ซึ่งมีลักษณะการสอบที่คล้ายกัน สอบบ่อย ส่งผลให้เด็กเบื่อหน่าย จะหาทางแก้ไขอย่างไร และการที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา หรือ สมศ.จะนำคะแนน O-NET ไปใช้ในการประเมินครู และประเมินผลโรงเรียน ก็ทำให้ผู้หลักผู้ใหญ่ตื่นเต้นกับการสอบ O-NET มากกว่าเด็ก ส่งผลให้เกิดข้อผิดพลาดบางอย่างกับการสอบหรือไม่ เป็นเรื่องที่เราควรต้องหาคำตอบ