ข้อมูลสุดมั่ว! พบกลุ่มรอพิสูจน์สถานะได้สัญชาติไทยแล้วปีละ 5 พันคน แต่ยอดรวมในกองทุนคืนสิทธิยังเท่าเดิม 4.5 แสนคน แถมพบ 6.5 หมื่นคนส่อสวมสิทธิ เพราะไม่เข้าข่ายในกองทุน ขณะที่ 9.5 หมื่นคนที่ สปสช.ถอดสิทธิบัตรทองยังถูกลอยแพ สธ.ยันไม่ได้รับแจ้งล่วงหน้า ด้าน “ประดิษฐ” ป้อง สปสช.ทำถูกต้องตาม กม.สธ.ต้องดูแลตามกองทุนคืนสิทธิ ขณะที่ สปสช.ถอดกลุ่ม อปท.3 แสนคนออกจากบัตรทองอีก เหตุซ้ำซ้อนกองทุนข้าราชการท้องถิ่น

วันนี้ (10 มี.ค.) ที่โรงแรมรามากาเดนส์ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รักษาการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ถอดสิทธิกลุ่มรอพิสูจน์สถานะออกจากระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เข้าสู่กองทุนคืนสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขสำหรับคนมีปัญหาสถานะและสิทธิของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) หรือกองทุนคืนสิทธิ จำนวนเกือบ 2 แสนคน แต่ระบบเกิดปัญหา ทำให้ไม่สามารถรับการรักษาพยาบาลได้ เนื่องจากโรงพยาบาลตรวจไม่พบสิทธิในระบบใดๆ ว่า เรื่องนี้ สปสช.ทำถูกต้องตามหลักการ คือมีหน้าที่ดูแลคนไทยเท่านั้นตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ส่วนกลุ่มรอพิสูจน์สถานะยังไม่ได้รับเลขบัตรประจำตัวประชาชน จึงต้องถูกถอดออกจากระบบ แต่ไม่ใช่ว่าไม่ดูแล เพราะระบบจะโอนให้กองทุนคืนสิทธิของ สธ.ดูแลทันที ส่วนที่เอ็นจีโอระบุว่ากองทุนคืนสิทธิที่ดูแลคนกลุ่มนี้จำนวน 450,000 คนนั้น ไม่เพียงพอ เพราะมีคนรอพิสูจน์สถานะอีกกว่า 150,000 คน ที่ไม่ได้อยู่ในกองทุนอีกนั้น ต้องไปตรวจสอบระบบกันให้ดี อย่าให้มาปะปนกับกลุ่มแรงงานต่างด้าว เพราะคนละส่วนกัน การใช้งบประมาณก็คนละส่วน
“ อย่างกองทุนคืนสิทธิใช้งบประมาณปีละ 900 ล้านบาทสำหรับ 450,000 คน หากมีคนเพิ่มหรืองบไม่เพียงพอ ให้ใช้งบเท่าที่มีไปก่อน เพราะการจะเสนอ ครม.เพื่อของบเพิ่มไม่สามารถทำได้ในรัฐบาลรักษาการ แต่เมื่อไรที่มีรัฐบาลแล้ว เชื่อว่าไม่ว่ารัฐบาลไหนต้องให้ความสำคัญ เพราะเป็นเรื่องมนุษยธรรม และจำเป็นต้องช่วยเหลือ เพราะคนกลุ่มนี้ก็อยู่ในประเทศไทยมานาน ก็เหมือนเป็นคนไทยไปแล้ว ส่วนกรณีที่จะของบประมาณกลาง หรืองบฯฉุกเฉินก็อาจทำไม่ได้ในรัฐบาลรักษาการ หากจะทำต้องให้ กกต.พิจารณาว่าทำได้หรือไม่ แต่หากมีรัฐบาลจริงๆ ทุกอย่างก็จะเดินหน้าได้” นพ.ประดิษฐ กล่าว
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช.กล่าวว่า เดิมที สปสช.เป็นผู้จัดทำเรื่องจัดตั้งกองทุนคืนสิทธิเสนอรัฐบาลสมัยพรรคประชาธิปัตย์ให้คนกลุ่มรอพิสูจน์สถานะ 450,000 คน แต่ถูกท้วงติงว่าต้องดูแลเฉพาะคนไทย ซึ่งคนกลุ่มนี้ไม่เข้าข่าย จึงมอบให้ สธ.ดูแล สธ.จึงขอประมาณทุกปีเพื่อดูแลกลุ่มนี้ แต่ สปสช.มีหน้าที่ตรวจสอบสถานะบุคคล ซึ่งจากการตรวจสอบตามทะเบียนราษฎร์ของกระทรวงมหาดไทย พบว่าปี 2556 มีกลุ่มคนรอพิสูจน์สถานะจำนวน 95,071 คน ซึ่งต้องอยู่ในกลุ่ม 450,000 คนในกองทุนคืนสิทธิ แต่ สปสช.กลับต้องดูแลมาตลอด เพื่อให้ระบบถูกต้องจึงต้องส่งกลับให้ สธ.ดูแล ส่วนตัวเลขกลุ่มคนรอสถานะที่นักวิชาการบอกว่ามีอีกกว่า 150,000 คน ระบบยังตรวจไม่พบ
“ สปสช.ทำตามหน้าที่ โดยได้พัฒนาระบบตรวจสอบสิทธิเพื่อลดปัญหาใช้สิทธิซ้ำซ้อน ซึ่งในปี 2556 ก็ตรวจพบกลุ่มข้าราชการท้องถิ่นอยู่ในระบบบัตรทองกว่า 300,000 คน จึงต้องเอาออกจากระบบ และให้เข้าสู่กองทุนรักษาพยาบาลข้าราชการและพนักงานท้องถิ่น ซึ่ง สปสช.เป็นผู้บริหารกองทุนแทนซึ่งกรณีนี้ไม่ต้องกังวล ทุกคนได้รับสิทธิการรักษาแน่นอน เพราะเพียงโยกชื่อเท่านั้น ส่วนงบประมาณไม่มีการขอซ้ำซ้อน เนื่องจาก สปสช.ได้ทำเรื่องถอดคนกลุ่มนี้ออกจากกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าปีงบประมาณ 2557 แล้ว คงไว้ดูแลเฉพาะคนในสิทธิเท่านั้น” เลขาธิการ สปสช.กล่าว
แหล่งข่าวแวดวงสาธารณสุข ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ประเด็นที่น่าสนใจคือ นอกจากจำนวน 95,071 คน ที่ สปสช.ตรวจพบนั้น น่าสังเกตว่าเป็นกลุ่ม 450,000 คนในกองทุนคืนสิทธิ จนเกิดข้อสงสัยว่าเพราะเหตุใด สธ.ไม่ดูแล และที่ผ่านมางบประมาณที่ใช้สำหรับคนกลุ่มนี้บริหารจัดการอย่างไร กระจายไปให้ใครบ้าง หากจะให้ชัดเจน สธ.ควรนำข้อมูลมากางให้ชัดเจน ที่สำคัญข้อมูลจากกระทรวงมหาดไทยยังพบว่า ในจำนวน 450,000 คนที่ สธ.ดูแลนั้น มีจำนวน 65,689 คน ไม่เข้าข่ายกลุ่มรอพิสูจน์สถานะและบุคคล จึงไม่ควรอยู่ในกองทุนคืนสิทธิหรือไม่ และในแต่ละปีตั้งแต่ปี 2554 กลุ่มคนรอพิสูจน์สถานะได้รับเลขทะเบียนเป็นคนไทยแล้วปีละ 5,000 คน แสดงว่าตัวเลขกองทุนที่สธ.ดูแลต้องมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล เรื่องนี้ สธ.ต้องชี้แจง
ด้าน นพ.บัญชา ค้าของ ผู้อำนวยการกลุ่มงานหลักประกันสุขภาพ สธ.กล่าวว่า ยืนยันว่ากลุ่มคนรอพิสูจน์สถานะจำนวน 95,071 คน ไม่ได้อยู่ในรายชื่อของกลุ่มคนรอพิสูจน์สถานะ 4.5 แสนคน ที่ สธ.ดูแลมาตั้งแต่ต้น แต่อยู่ในระบบบัตรทอง ที่ สปสช.พยายามจำหน่ายมาให้ สธ.ดูแล อย่างไรก็ตาม การถ่ายโอนมาครั้งนี้ สปสช.ไม่ได้แจ้งให้ สธ.ทราบล่วงหน้า ทำให้ไม่สามารถจัดเตรียมระบบรองรับได้ทันจึงเกิดปัญหาขึ้น อีกทั้ง สปสช.เองยังไม่ได้แจ้งให้กับเจ้าของสิทธิทราบ เจ้าของสิทธิจึงไม่ทราบว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป ทั้งนี้ สธ.ได้แจ้งไปยังหน่วยบริการทุกหน่วยแล้วให้บริการผู้ป่วยกลุ่มนี้โดยไม่มีเงื่อนไข ถึงแม้จะมีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายก็ตาม สำหรับงบประมาณที่ดูแลคนกลุ่มนี้ตกหัวละประมาณ 1,900 บาทต่อคน ซึ่งจะครอบคลุม 450,000 คนพอดี
ผู้สื่อข่าวถามถึงตัวเลขคนที่รอตรวจสอบสถานะจำนวน 65,689 คน ที่ไม่เข้าเกณฑ์ตามมติ ครม. 23 มีนาคม 2553 อยู่ในจำนวนผู้รอพิสูจน์สถานะทั้งหมด 4.5 แสนคน นพ.บัญชา กล่าวว่า จำนวนดังกล่าวเบื้องต้นระบบตรวจสอบตามระบบทะเบียนราษฎรไม่ได้ แต่ก็ต้องให้การรับรองเพื่อให้พวกเขาสามารถอยู่ในกองทุนได้ไปก่อน ซึ่งถือเป็นเรื่องดีที่มีการอนุโลม
ผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุใดตัวเลขถึงไม่ตรงกัน มีการซ้ำซ้อนตลอด อย่างผู้ที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติแล้วประมาณ 5 พันคน แต่ทำไมในแต่ละปีถึงยอดกลุ่มคนรอพิสูจน์สถานะคงที่ 4.5 แสนคนเท่าเดิม นพ.บัญชา กล่าวว่า การพิสูจน์สัญชาติไม่ได้เยอะขนาดนั้น เพราะมันค่อนข้างวุ่นวาย กระบวนการของประเทศไทยก็มีหลายขั้นตอน มีหลายหน่วยงาน ซึ่งตรงนี้อาจจะต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม
วันนี้ (10 มี.ค.) ที่โรงแรมรามากาเดนส์ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รักษาการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ถอดสิทธิกลุ่มรอพิสูจน์สถานะออกจากระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เข้าสู่กองทุนคืนสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขสำหรับคนมีปัญหาสถานะและสิทธิของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) หรือกองทุนคืนสิทธิ จำนวนเกือบ 2 แสนคน แต่ระบบเกิดปัญหา ทำให้ไม่สามารถรับการรักษาพยาบาลได้ เนื่องจากโรงพยาบาลตรวจไม่พบสิทธิในระบบใดๆ ว่า เรื่องนี้ สปสช.ทำถูกต้องตามหลักการ คือมีหน้าที่ดูแลคนไทยเท่านั้นตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ส่วนกลุ่มรอพิสูจน์สถานะยังไม่ได้รับเลขบัตรประจำตัวประชาชน จึงต้องถูกถอดออกจากระบบ แต่ไม่ใช่ว่าไม่ดูแล เพราะระบบจะโอนให้กองทุนคืนสิทธิของ สธ.ดูแลทันที ส่วนที่เอ็นจีโอระบุว่ากองทุนคืนสิทธิที่ดูแลคนกลุ่มนี้จำนวน 450,000 คนนั้น ไม่เพียงพอ เพราะมีคนรอพิสูจน์สถานะอีกกว่า 150,000 คน ที่ไม่ได้อยู่ในกองทุนอีกนั้น ต้องไปตรวจสอบระบบกันให้ดี อย่าให้มาปะปนกับกลุ่มแรงงานต่างด้าว เพราะคนละส่วนกัน การใช้งบประมาณก็คนละส่วน
“ อย่างกองทุนคืนสิทธิใช้งบประมาณปีละ 900 ล้านบาทสำหรับ 450,000 คน หากมีคนเพิ่มหรืองบไม่เพียงพอ ให้ใช้งบเท่าที่มีไปก่อน เพราะการจะเสนอ ครม.เพื่อของบเพิ่มไม่สามารถทำได้ในรัฐบาลรักษาการ แต่เมื่อไรที่มีรัฐบาลแล้ว เชื่อว่าไม่ว่ารัฐบาลไหนต้องให้ความสำคัญ เพราะเป็นเรื่องมนุษยธรรม และจำเป็นต้องช่วยเหลือ เพราะคนกลุ่มนี้ก็อยู่ในประเทศไทยมานาน ก็เหมือนเป็นคนไทยไปแล้ว ส่วนกรณีที่จะของบประมาณกลาง หรืองบฯฉุกเฉินก็อาจทำไม่ได้ในรัฐบาลรักษาการ หากจะทำต้องให้ กกต.พิจารณาว่าทำได้หรือไม่ แต่หากมีรัฐบาลจริงๆ ทุกอย่างก็จะเดินหน้าได้” นพ.ประดิษฐ กล่าว
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช.กล่าวว่า เดิมที สปสช.เป็นผู้จัดทำเรื่องจัดตั้งกองทุนคืนสิทธิเสนอรัฐบาลสมัยพรรคประชาธิปัตย์ให้คนกลุ่มรอพิสูจน์สถานะ 450,000 คน แต่ถูกท้วงติงว่าต้องดูแลเฉพาะคนไทย ซึ่งคนกลุ่มนี้ไม่เข้าข่าย จึงมอบให้ สธ.ดูแล สธ.จึงขอประมาณทุกปีเพื่อดูแลกลุ่มนี้ แต่ สปสช.มีหน้าที่ตรวจสอบสถานะบุคคล ซึ่งจากการตรวจสอบตามทะเบียนราษฎร์ของกระทรวงมหาดไทย พบว่าปี 2556 มีกลุ่มคนรอพิสูจน์สถานะจำนวน 95,071 คน ซึ่งต้องอยู่ในกลุ่ม 450,000 คนในกองทุนคืนสิทธิ แต่ สปสช.กลับต้องดูแลมาตลอด เพื่อให้ระบบถูกต้องจึงต้องส่งกลับให้ สธ.ดูแล ส่วนตัวเลขกลุ่มคนรอสถานะที่นักวิชาการบอกว่ามีอีกกว่า 150,000 คน ระบบยังตรวจไม่พบ
“ สปสช.ทำตามหน้าที่ โดยได้พัฒนาระบบตรวจสอบสิทธิเพื่อลดปัญหาใช้สิทธิซ้ำซ้อน ซึ่งในปี 2556 ก็ตรวจพบกลุ่มข้าราชการท้องถิ่นอยู่ในระบบบัตรทองกว่า 300,000 คน จึงต้องเอาออกจากระบบ และให้เข้าสู่กองทุนรักษาพยาบาลข้าราชการและพนักงานท้องถิ่น ซึ่ง สปสช.เป็นผู้บริหารกองทุนแทนซึ่งกรณีนี้ไม่ต้องกังวล ทุกคนได้รับสิทธิการรักษาแน่นอน เพราะเพียงโยกชื่อเท่านั้น ส่วนงบประมาณไม่มีการขอซ้ำซ้อน เนื่องจาก สปสช.ได้ทำเรื่องถอดคนกลุ่มนี้ออกจากกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าปีงบประมาณ 2557 แล้ว คงไว้ดูแลเฉพาะคนในสิทธิเท่านั้น” เลขาธิการ สปสช.กล่าว
แหล่งข่าวแวดวงสาธารณสุข ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ประเด็นที่น่าสนใจคือ นอกจากจำนวน 95,071 คน ที่ สปสช.ตรวจพบนั้น น่าสังเกตว่าเป็นกลุ่ม 450,000 คนในกองทุนคืนสิทธิ จนเกิดข้อสงสัยว่าเพราะเหตุใด สธ.ไม่ดูแล และที่ผ่านมางบประมาณที่ใช้สำหรับคนกลุ่มนี้บริหารจัดการอย่างไร กระจายไปให้ใครบ้าง หากจะให้ชัดเจน สธ.ควรนำข้อมูลมากางให้ชัดเจน ที่สำคัญข้อมูลจากกระทรวงมหาดไทยยังพบว่า ในจำนวน 450,000 คนที่ สธ.ดูแลนั้น มีจำนวน 65,689 คน ไม่เข้าข่ายกลุ่มรอพิสูจน์สถานะและบุคคล จึงไม่ควรอยู่ในกองทุนคืนสิทธิหรือไม่ และในแต่ละปีตั้งแต่ปี 2554 กลุ่มคนรอพิสูจน์สถานะได้รับเลขทะเบียนเป็นคนไทยแล้วปีละ 5,000 คน แสดงว่าตัวเลขกองทุนที่สธ.ดูแลต้องมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล เรื่องนี้ สธ.ต้องชี้แจง
ด้าน นพ.บัญชา ค้าของ ผู้อำนวยการกลุ่มงานหลักประกันสุขภาพ สธ.กล่าวว่า ยืนยันว่ากลุ่มคนรอพิสูจน์สถานะจำนวน 95,071 คน ไม่ได้อยู่ในรายชื่อของกลุ่มคนรอพิสูจน์สถานะ 4.5 แสนคน ที่ สธ.ดูแลมาตั้งแต่ต้น แต่อยู่ในระบบบัตรทอง ที่ สปสช.พยายามจำหน่ายมาให้ สธ.ดูแล อย่างไรก็ตาม การถ่ายโอนมาครั้งนี้ สปสช.ไม่ได้แจ้งให้ สธ.ทราบล่วงหน้า ทำให้ไม่สามารถจัดเตรียมระบบรองรับได้ทันจึงเกิดปัญหาขึ้น อีกทั้ง สปสช.เองยังไม่ได้แจ้งให้กับเจ้าของสิทธิทราบ เจ้าของสิทธิจึงไม่ทราบว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป ทั้งนี้ สธ.ได้แจ้งไปยังหน่วยบริการทุกหน่วยแล้วให้บริการผู้ป่วยกลุ่มนี้โดยไม่มีเงื่อนไข ถึงแม้จะมีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายก็ตาม สำหรับงบประมาณที่ดูแลคนกลุ่มนี้ตกหัวละประมาณ 1,900 บาทต่อคน ซึ่งจะครอบคลุม 450,000 คนพอดี
ผู้สื่อข่าวถามถึงตัวเลขคนที่รอตรวจสอบสถานะจำนวน 65,689 คน ที่ไม่เข้าเกณฑ์ตามมติ ครม. 23 มีนาคม 2553 อยู่ในจำนวนผู้รอพิสูจน์สถานะทั้งหมด 4.5 แสนคน นพ.บัญชา กล่าวว่า จำนวนดังกล่าวเบื้องต้นระบบตรวจสอบตามระบบทะเบียนราษฎรไม่ได้ แต่ก็ต้องให้การรับรองเพื่อให้พวกเขาสามารถอยู่ในกองทุนได้ไปก่อน ซึ่งถือเป็นเรื่องดีที่มีการอนุโลม
ผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุใดตัวเลขถึงไม่ตรงกัน มีการซ้ำซ้อนตลอด อย่างผู้ที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติแล้วประมาณ 5 พันคน แต่ทำไมในแต่ละปีถึงยอดกลุ่มคนรอพิสูจน์สถานะคงที่ 4.5 แสนคนเท่าเดิม นพ.บัญชา กล่าวว่า การพิสูจน์สัญชาติไม่ได้เยอะขนาดนั้น เพราะมันค่อนข้างวุ่นวาย กระบวนการของประเทศไทยก็มีหลายขั้นตอน มีหลายหน่วยงาน ซึ่งตรงนี้อาจจะต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม