“ชัยพฤกษ์” สั่งวิทยาลัยในสังกัด 421 แห่งผ่อนผันเก็บค่าเทอม และยกเว้นระดมทรัพยากรการศึกษาลูกหลานชาวนา เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน หลังได้รับรายงาน นร.นศ.อาชีวะ ไม่มีเงินจ่ายค่าลงทะเบียน เพราะยังไม่ได้เงินจำนำข้าว พร้อมมอบวิทยาลัยเกษตรฯ จัดทำอบรมทำปุ๋ยหมักให้เกษตรกรและชาวนาเพื่อลดต้นทุนและเตรียมผลิตพันธุ์ข้าวราคาถูกให้ชาวนา
วันนี้ (19 ก.พ.) นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) กล่าวว่า วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพิจิตร ได้รายงานว่าขณะนี้มีนักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษา ซึ่งเป็นลูกหลานของเกษตรกรและชาวนาในพื้นที่ จ.พิจิตร รวมถึงนักเรียน นักศึกษาอาชีวะที่ส่วนใหญ่ศึกษาในวิทยาลัยในพื้นที่ภาคกลาง ภาคเหนือ และตะวันออกเฉียง กำลังได้รับผลกระทบจากกรณีที่ครอบครัวไม่ได้รับเงินจากโครงการจำนำข้าวของรัฐบาล ส่งผลให้ไม่มีเงินจ่ายค่าลงทะเบียนเรียน ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จึงมีแนวนโยบายที่จะช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษาอาชีวะที่เป็นลูกชาวนา โดยขอให้วิทยาลัยอาชีวศึกษาทั่วประเทศ ทั้ง 421 แห่ง ผ่อนผันหรือยกเว้นค่าทะเบียนเรียนให้กับนักเรียน นักศึกษาที่ได้รับผลกระทบตามดุลพินิจ อย่างไรก็ตาม นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จะได้รับการอุดหนุนค่าบำรุงการศึกษาผ่านโครงการเรียนฟรี เรียนดี 15 ปีอย่างมีคุณภาพอยู่แล้ว แต่ก็จะมีบางวิทยาลัยที่มีการขอระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพิ่มเติมกับรายละ 500-600 บาท/เทอม ซึ่งได้ขอให้ยกเว้นการเก็บเงินส่วนนี้ ขณะที่ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ก็ให้ผ่อนผันหรือยกเว้นค่าลงทะเบียนประมาณ 3,000-5,000 บาท/เทอม ในรายที่พ่อแม่ได้รับผลกระทบด้วย
เลขาธิการ กอศ.กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ตนจะมอบให้วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีทั้ง 51 แห่ง จัดเจ้าหน้าที่และวิทยากรเข้าไปให้ความรู้และอบรมการทำปุ๋ยหมักให้กับเกษตรกรและชาวนา เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อน เนื่องจากในเดือน พ.ค.และ มิ.ย.นี้ จะถึงฤดูการทำนาแล้ว และเพื่อสนองแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงอยากให้ สอศ.นำความรู้เข้าไปดูแลช่วยเหลือเกษตรและชาวนาในถิ่นทุรกันดาร นอกจากนี้ สอศ.จะร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร และกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมเพือนำไปแจกหรือจำหน่ายราคาถูกให้กับชาวนาในฤดูกาลต่อไป
“ผมได้รับรายงานว่าขณะนี้ลูกหลานเกษตรกรและชาวนาได้รับผลกระทบแล้ว บางคนได้เงินมาเรียนวันละ 10 บาท ก็เอามารวมกับเพื่อนๆ เพื่อทำอาหารกินกันเอง ดังนั้น สอศ.จึงอยากช่วยผ่อนคลายด้วยการผ่อนผันหรือยกเว้นค่าลงทะเบียนภายในภาคเรียนนี้ให้” นายชัยพฤกษ์ กล่าว
วันนี้ (19 ก.พ.) นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) กล่าวว่า วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพิจิตร ได้รายงานว่าขณะนี้มีนักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษา ซึ่งเป็นลูกหลานของเกษตรกรและชาวนาในพื้นที่ จ.พิจิตร รวมถึงนักเรียน นักศึกษาอาชีวะที่ส่วนใหญ่ศึกษาในวิทยาลัยในพื้นที่ภาคกลาง ภาคเหนือ และตะวันออกเฉียง กำลังได้รับผลกระทบจากกรณีที่ครอบครัวไม่ได้รับเงินจากโครงการจำนำข้าวของรัฐบาล ส่งผลให้ไม่มีเงินจ่ายค่าลงทะเบียนเรียน ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จึงมีแนวนโยบายที่จะช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษาอาชีวะที่เป็นลูกชาวนา โดยขอให้วิทยาลัยอาชีวศึกษาทั่วประเทศ ทั้ง 421 แห่ง ผ่อนผันหรือยกเว้นค่าทะเบียนเรียนให้กับนักเรียน นักศึกษาที่ได้รับผลกระทบตามดุลพินิจ อย่างไรก็ตาม นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จะได้รับการอุดหนุนค่าบำรุงการศึกษาผ่านโครงการเรียนฟรี เรียนดี 15 ปีอย่างมีคุณภาพอยู่แล้ว แต่ก็จะมีบางวิทยาลัยที่มีการขอระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพิ่มเติมกับรายละ 500-600 บาท/เทอม ซึ่งได้ขอให้ยกเว้นการเก็บเงินส่วนนี้ ขณะที่ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ก็ให้ผ่อนผันหรือยกเว้นค่าลงทะเบียนประมาณ 3,000-5,000 บาท/เทอม ในรายที่พ่อแม่ได้รับผลกระทบด้วย
เลขาธิการ กอศ.กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ตนจะมอบให้วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีทั้ง 51 แห่ง จัดเจ้าหน้าที่และวิทยากรเข้าไปให้ความรู้และอบรมการทำปุ๋ยหมักให้กับเกษตรกรและชาวนา เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อน เนื่องจากในเดือน พ.ค.และ มิ.ย.นี้ จะถึงฤดูการทำนาแล้ว และเพื่อสนองแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงอยากให้ สอศ.นำความรู้เข้าไปดูแลช่วยเหลือเกษตรและชาวนาในถิ่นทุรกันดาร นอกจากนี้ สอศ.จะร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร และกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมเพือนำไปแจกหรือจำหน่ายราคาถูกให้กับชาวนาในฤดูกาลต่อไป
“ผมได้รับรายงานว่าขณะนี้ลูกหลานเกษตรกรและชาวนาได้รับผลกระทบแล้ว บางคนได้เงินมาเรียนวันละ 10 บาท ก็เอามารวมกับเพื่อนๆ เพื่อทำอาหารกินกันเอง ดังนั้น สอศ.จึงอยากช่วยผ่อนคลายด้วยการผ่อนผันหรือยกเว้นค่าลงทะเบียนภายในภาคเรียนนี้ให้” นายชัยพฤกษ์ กล่าว