เลขาธิการ คสช.เตือนผู้หวังดีโพสต์ข้อมูลผู้ป่วยในอินเทอร์เน็ต สังคมออนไลน์ เพื่อขอความช่วยเหลือถือว่าผิด พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ ชี้ล้ำเส้น เสี่ยงถูกการนำมาใช้เป็นอาวุธในการต่อสู้ของฝ่ายต่างๆ วอนเคารพสิทธิส่วนบุคคลไม่ระบุชื่อ-นามสกุล จี้หน่วยงานรับผิดชอบ กม.คอมพิวเตอร์จัดการ
นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) กล่าวว่า พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 มีข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิ มีการบัญญัติไว้ในหลายมาตราของ พ.ร.บ.นี้ โดยเฉพาะมาตรา 7 ที่กำหนดว่า ข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลเป็นความลับส่วนบุคคล ผู้ใดจะนำไปเปิดเผยในประการที่น่าจะทำให้บุคคลนั้นเสียหายไม่ได้ เว้นแต่การเปิดเผยนั้นเป็นไปตามความประสงค์ของบุคคลนั้นโดยตรง หรือมีกฎหมายเฉพาะบัญญัติให้ต้องเปิดเผย แต่ไม่ว่าในกรณีใดๆ ผู้ใดจะอาศัยอำนาจหรือสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ หรือกฎหมายอื่นเพื่อขอเอกสารเกี่ยวกับข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลที่ไม่ใช่ของตนไม่ได้ แต่ปัจจุบันพบว่ามีการนำข้อมูลของผู้ป่วยมาเผยแพร่ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะในโซเชียลมีเดียต่างๆ จำนวนมาก มีการระบุข้อมูลผู้ป่วยค่อนข้างละเอียดทั้งชื่อ นามสกุล ลักษณะอาการที่ป่วย ทั้งที่มีวัตถุประสงค์เพื่อขอความช่วยเหลือให้กับผู้ป่วยหรือวัตถุประสงค์อื่น ทำให้เกิดการตั้งคำถามในวงกว้าง
“อยากให้เคารพในสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ป่วยในเรื่องของการเปิดเผยข้อมูล ซึ่งบางครั้งอาจลำเส้นเกินไป จนไม่เคารพสิทธิส่วนบุคคล โดยใช้เป็นอาวุธในการต่อสู้ของฝ่ายต่างๆ จำเป็นที่หน่วยงานรับผิดชอบเกี่ยวกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ต้องดำเนินการจัดการ แต่ปัญหาหนึ่งคือไม่มีผู้เสียหายหรือเจ้าทุกข์ร้องเรียน ทั้งนี้ อยากขอร้องว่าหากจะเป็นเรื่องราวของผู้ป่วย ไม่ควรที่จะระบุชื่อ นามสกุลของผู้ป่วย หรือนำข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆมาโพสต์ผ่านโซเชียลมีเดีย” เลขาธิการ คสช.กล่าว
นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) กล่าวว่า พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 มีข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิ มีการบัญญัติไว้ในหลายมาตราของ พ.ร.บ.นี้ โดยเฉพาะมาตรา 7 ที่กำหนดว่า ข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลเป็นความลับส่วนบุคคล ผู้ใดจะนำไปเปิดเผยในประการที่น่าจะทำให้บุคคลนั้นเสียหายไม่ได้ เว้นแต่การเปิดเผยนั้นเป็นไปตามความประสงค์ของบุคคลนั้นโดยตรง หรือมีกฎหมายเฉพาะบัญญัติให้ต้องเปิดเผย แต่ไม่ว่าในกรณีใดๆ ผู้ใดจะอาศัยอำนาจหรือสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ หรือกฎหมายอื่นเพื่อขอเอกสารเกี่ยวกับข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลที่ไม่ใช่ของตนไม่ได้ แต่ปัจจุบันพบว่ามีการนำข้อมูลของผู้ป่วยมาเผยแพร่ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะในโซเชียลมีเดียต่างๆ จำนวนมาก มีการระบุข้อมูลผู้ป่วยค่อนข้างละเอียดทั้งชื่อ นามสกุล ลักษณะอาการที่ป่วย ทั้งที่มีวัตถุประสงค์เพื่อขอความช่วยเหลือให้กับผู้ป่วยหรือวัตถุประสงค์อื่น ทำให้เกิดการตั้งคำถามในวงกว้าง
“อยากให้เคารพในสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ป่วยในเรื่องของการเปิดเผยข้อมูล ซึ่งบางครั้งอาจลำเส้นเกินไป จนไม่เคารพสิทธิส่วนบุคคล โดยใช้เป็นอาวุธในการต่อสู้ของฝ่ายต่างๆ จำเป็นที่หน่วยงานรับผิดชอบเกี่ยวกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ต้องดำเนินการจัดการ แต่ปัญหาหนึ่งคือไม่มีผู้เสียหายหรือเจ้าทุกข์ร้องเรียน ทั้งนี้ อยากขอร้องว่าหากจะเป็นเรื่องราวของผู้ป่วย ไม่ควรที่จะระบุชื่อ นามสกุลของผู้ป่วย หรือนำข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆมาโพสต์ผ่านโซเชียลมีเดีย” เลขาธิการ คสช.กล่าว