เลขาธิการแพทยสภายันจดหมายจี้ “ปู-พวก” ลาออก ไม่ใช่มติแพทยสภา เป็นแค่ความเห็นของนายกแพทยสภาเท่านั้น จับตา 13 ก.พ.จะมีมติเกี่ยวกับการเมืองตามความเห็นนายกแพทยสภาหรือไม่ แต่ระบุที่ผ่านมาไม่เคยแสดงความคิดเห็น ลั่นดำรงความเป็นกลางไม่เข้าข้างฝ่ายใด เผยมีคนร้องเรียนจริยธรรมแพทย์ช่วงชุมนุมการเมือง เป็นเคสรุนแรงเพียงรายเดียว จ่อเรียกสอบสวน
นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวถึงกรณีเครือข่ายทางการแพทย์และสาธารณสุข ออกแถลงการณ์จดหมายเปิดผนึกเรียกร้องให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการ นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีลาออกจากรัฐบาลรักษาการ และเปิดให้มีนายกฯคนกลางเข้ามาดำเนินการแทน ซึ่งเป็นการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง โดยมีนายกสภาวิชาชีพ 7 วิชาชีพร่วมลงนาม และหนึ่งในนั้นมี ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา ด้วยว่า ขณะนี้มีการแสดงออกทางความคิดทั้งจากแพทย์ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยต่อการเรียกร้องดังกล่าว และมีแพทย์จำนวนมากทำหนังสือสอบถามมายังแพทยสภาว่ามีมติเช่นนี้หรือไม่ ทำให้มีความกังวลว่าประชาชนจะเข้าใจผิดว่าเป็นมติของแพทยสภา ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่ เป็นการแสดงความคิดเห็นส่วนบุคคลเฉพาะของนายกแพทยสภาเท่านั้น ไม่ใช่มติของแพทยสภาที่มีคณะกรรมการทั้งหมด 52 คน ทั้งนี้ การแสดงความคิดเห็นทางการเมืองเป็นสิทธิส่วนบุคคลหรือชมรมที่สามารถกระทำได้ แต่สำหรับแพทยสภา ซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพตามกฎหมายคงไม่สามารถทำได้ เพราะมีคนจำนวนมาก และอาจมีคนคิดเห็นต่างออกไป อย่างไรก็ตาม วันที่ 13 ก.พ.จะมีการประชุมประจำเดือนของแพทยสภา คงต้องจับตาดูว่าแพทยสภาจะมีมติเกี่ยวกับความคิดเห็นทางการเมืองหรือไม่ หรือหากมีจะมีความคิดเห็นอย่างไร
“นายกแพทยสภาถือเป็นที่เคารพรักของแพทย์หลาายคน ความคิดเห็นทางการเมืองของท่านก็อาจมีน้ำหนักให้นำมาพิจารณาในการประชุมแพทยสภาว่าเห็นด้วยหรือไม่ และจะมีการแสดงความเห็นเกี่ยวกับการเมืองหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเกิดเหตุทางการเมืองใดๆ ขึ้นที่ผ่านมาแพทยสภาไม่เคยแสดงออกความคิดเห็นทางการเมือง ยกเว้นการให้ความเห็นแก่ผู้บริหารเกี่ยวกับแพทย์ ยา กฎหมายทางการแพทย์ หรือการเรียกร้องให้ตำรวจทหารปฏิบัติต่อบุคลากรทางการแพทย์อย่างให้เกียรติ หรือการเรียกร้องให้โรงพยาบาลเป็นเขตปลอดอาวุธ เป็นต้น” เลขาธิการแพทยสภา กล่าว
นพ.สัมพันธ์ กล่าวอีกว่า แพทยสภาซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพจะดำรงความเป็นกลาง เพราะพรรคการเมืองเมื่อเข้ามาแล้วก็จากไป ก็ต้องปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามวิถี การแสดงออกทางการเมืองจึงต้องระวังเป็นอย่างยิ่ง ม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่จะดำรงความเป็นกลางและอยู่เพื่อสมาชิก สถาบัน และประชาชน ทั้งนี้ ช่วงระหว่างการชุมนุมทางการเมืองมีผู้ร้องเรียนเข้ามายังตนจำนวนมากเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและอาจขัดต่อจริยธรรมของแพทย์ ซึ่งขณะนี้มีแพทย์เพียงรายเดียวที่ถือว่าถูกร้องเรียนเข้ามาค่อนข้างรุนแรง แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ว่าเป็นใครและร้องเรียนเข้ามาด้วยเรื่องอะไร แต่แพทยสภาจะเชิญมาสอบสวน แต่ยังไม่ใช่ช่วงเวลานี้
นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวถึงกรณีเครือข่ายทางการแพทย์และสาธารณสุข ออกแถลงการณ์จดหมายเปิดผนึกเรียกร้องให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการ นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีลาออกจากรัฐบาลรักษาการ และเปิดให้มีนายกฯคนกลางเข้ามาดำเนินการแทน ซึ่งเป็นการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง โดยมีนายกสภาวิชาชีพ 7 วิชาชีพร่วมลงนาม และหนึ่งในนั้นมี ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา ด้วยว่า ขณะนี้มีการแสดงออกทางความคิดทั้งจากแพทย์ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยต่อการเรียกร้องดังกล่าว และมีแพทย์จำนวนมากทำหนังสือสอบถามมายังแพทยสภาว่ามีมติเช่นนี้หรือไม่ ทำให้มีความกังวลว่าประชาชนจะเข้าใจผิดว่าเป็นมติของแพทยสภา ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่ เป็นการแสดงความคิดเห็นส่วนบุคคลเฉพาะของนายกแพทยสภาเท่านั้น ไม่ใช่มติของแพทยสภาที่มีคณะกรรมการทั้งหมด 52 คน ทั้งนี้ การแสดงความคิดเห็นทางการเมืองเป็นสิทธิส่วนบุคคลหรือชมรมที่สามารถกระทำได้ แต่สำหรับแพทยสภา ซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพตามกฎหมายคงไม่สามารถทำได้ เพราะมีคนจำนวนมาก และอาจมีคนคิดเห็นต่างออกไป อย่างไรก็ตาม วันที่ 13 ก.พ.จะมีการประชุมประจำเดือนของแพทยสภา คงต้องจับตาดูว่าแพทยสภาจะมีมติเกี่ยวกับความคิดเห็นทางการเมืองหรือไม่ หรือหากมีจะมีความคิดเห็นอย่างไร
“นายกแพทยสภาถือเป็นที่เคารพรักของแพทย์หลาายคน ความคิดเห็นทางการเมืองของท่านก็อาจมีน้ำหนักให้นำมาพิจารณาในการประชุมแพทยสภาว่าเห็นด้วยหรือไม่ และจะมีการแสดงความเห็นเกี่ยวกับการเมืองหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเกิดเหตุทางการเมืองใดๆ ขึ้นที่ผ่านมาแพทยสภาไม่เคยแสดงออกความคิดเห็นทางการเมือง ยกเว้นการให้ความเห็นแก่ผู้บริหารเกี่ยวกับแพทย์ ยา กฎหมายทางการแพทย์ หรือการเรียกร้องให้ตำรวจทหารปฏิบัติต่อบุคลากรทางการแพทย์อย่างให้เกียรติ หรือการเรียกร้องให้โรงพยาบาลเป็นเขตปลอดอาวุธ เป็นต้น” เลขาธิการแพทยสภา กล่าว
นพ.สัมพันธ์ กล่าวอีกว่า แพทยสภาซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพจะดำรงความเป็นกลาง เพราะพรรคการเมืองเมื่อเข้ามาแล้วก็จากไป ก็ต้องปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามวิถี การแสดงออกทางการเมืองจึงต้องระวังเป็นอย่างยิ่ง ม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่จะดำรงความเป็นกลางและอยู่เพื่อสมาชิก สถาบัน และประชาชน ทั้งนี้ ช่วงระหว่างการชุมนุมทางการเมืองมีผู้ร้องเรียนเข้ามายังตนจำนวนมากเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและอาจขัดต่อจริยธรรมของแพทย์ ซึ่งขณะนี้มีแพทย์เพียงรายเดียวที่ถือว่าถูกร้องเรียนเข้ามาค่อนข้างรุนแรง แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ว่าเป็นใครและร้องเรียนเข้ามาด้วยเรื่องอะไร แต่แพทยสภาจะเชิญมาสอบสวน แต่ยังไม่ใช่ช่วงเวลานี้