เปิด 4 พื้นที่ซิวรางวัลสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ 2556 พบกรณีสร้างท่าเรือน้ำลึก อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ได้รางวัลด้วย เหตุนำกระบวนการเอชไอเอไปดำเนินการแก้ปัญหาในพื้นที่
นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) กล่าวว่า รางวัลสมัชชาสุขภาพแห่งชาติหรือสมัชชาอวอร์ด ตั้งขึ้นมาจากแนวคิดที่ต้องการยกย่อง เชิดชูเกียรติ สร้างกำลังใจให้กับคนทำงานในพื้นที่ ให้เป็นตัวอย่างและสร้างแรงบันดาลใจให้กับภาคีเครือข่ายที่สนใจนำเครื่องมือสมัชชาสุขภาพ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพและเอชไอเอไปใช้เพื่อการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีเครือข่ายสมัชชาสุขภาพแห่งชาตินำเครื่องมือไปใช้ในการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพอย่างกว้างขวาง บางเครือข่ายเพิ่งเริ่มต้น แต่หลายเครือข่ายได้นำเครื่องมือไปใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม จนประสบความสำเร็จ ซึ่งรางวัลนี้ไม่ได้มุ่งเน้นให้เกิดการแข่งขัน แต่มุ่งสร้างความเข้มแข็งให้กัลป์กลไกการทำงาน โดยเปิดโอกาสให้คนในพื้นที่ร่วมคิด วางแผนและลงมือทำ จนเกิดเป้าหมาย ข้อตกลง หรือกฎกติการ่วมของชุมชนในท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม ทำให้ชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น
นพ.อำพล กล่าวอีกว่า ปี 2556 คณะอนุกรรมการรางวัลสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ในคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่มีนายมานิจ สุขสมจิตร เป็นประธาน ได้จัดทำแนวทางการดำเนินงานและหลักเกณฑ์การพิจารณารางวัลสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2556 ซึ่งรางวัลสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ กำหนดให้มีรางวัล 3 ประเภท ประกอบด้วย 1.รางวัล “1 จังหวัด” เป็นรางวัลที่มอบให้จังหวัดที่นำสมัชชาสุขภาพไปดำเนินการ 2.รางวัล “1พื้นที่” เป็นรางวัลที่มีการจัดทำธรรมนูญสุขภาพในชุมชน และ 3.รางวัล “1 กรณี” เป็นรางวัลที่มีการนำเครื่องมือการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพหรือเอชไอเอไปดำเนินการ
“คณะอนุกรรมการฯได้พิจารณาคัดเลือกจังหวัด พื้นที่และชุมชนที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในแต่ละประเภท ประเภทรางวัลละ 3 แห่ง รวมเป็น 9 แห่ง ก่อนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และศึกษาข้อมูลประกอบเพิ่มเติมในการพิจารณาตัดสินคัดเลือกเหลือเหลือ 1 รางวัลในแต่ละประเภท ผลการคัดเลือก ปรากฏว่า รางวัล 1 จังหวัด ได้แก่ สมัชชาสุขภาพจังหวัดปัตตานี, รางวัล 1 พื้นที่ มีการครองรางวัลร่วมกันระหว่าง ธรรมนูญสุขภาพ อ.สูงเม่น จ.แพร่ และธรรมนูญสุขภาพ ต.เปือย อ.ลืออำนาจ จ.อำนาจเจริญ และรางวัล 1 กรณี ได้แก่ กรณีการสร้างท่าเรือน้ำลึกและการพัฒนาอุตสาหกรรม อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช โดยจะเข้ารับมอบโล่และใบประกาศเกียรติคุณ ภายในงานประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 6 พ.ศ.2556 ในวันที่ 26 มี.ค.พร้อมกับนำเสนอเรื่องราวของกระบวนการนำเครื่องมือไปใช้ในการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ” เลขาธิการ คสช. กล่าว
นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) กล่าวว่า รางวัลสมัชชาสุขภาพแห่งชาติหรือสมัชชาอวอร์ด ตั้งขึ้นมาจากแนวคิดที่ต้องการยกย่อง เชิดชูเกียรติ สร้างกำลังใจให้กับคนทำงานในพื้นที่ ให้เป็นตัวอย่างและสร้างแรงบันดาลใจให้กับภาคีเครือข่ายที่สนใจนำเครื่องมือสมัชชาสุขภาพ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพและเอชไอเอไปใช้เพื่อการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีเครือข่ายสมัชชาสุขภาพแห่งชาตินำเครื่องมือไปใช้ในการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพอย่างกว้างขวาง บางเครือข่ายเพิ่งเริ่มต้น แต่หลายเครือข่ายได้นำเครื่องมือไปใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม จนประสบความสำเร็จ ซึ่งรางวัลนี้ไม่ได้มุ่งเน้นให้เกิดการแข่งขัน แต่มุ่งสร้างความเข้มแข็งให้กัลป์กลไกการทำงาน โดยเปิดโอกาสให้คนในพื้นที่ร่วมคิด วางแผนและลงมือทำ จนเกิดเป้าหมาย ข้อตกลง หรือกฎกติการ่วมของชุมชนในท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม ทำให้ชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น
นพ.อำพล กล่าวอีกว่า ปี 2556 คณะอนุกรรมการรางวัลสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ในคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่มีนายมานิจ สุขสมจิตร เป็นประธาน ได้จัดทำแนวทางการดำเนินงานและหลักเกณฑ์การพิจารณารางวัลสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2556 ซึ่งรางวัลสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ กำหนดให้มีรางวัล 3 ประเภท ประกอบด้วย 1.รางวัล “1 จังหวัด” เป็นรางวัลที่มอบให้จังหวัดที่นำสมัชชาสุขภาพไปดำเนินการ 2.รางวัล “1พื้นที่” เป็นรางวัลที่มีการจัดทำธรรมนูญสุขภาพในชุมชน และ 3.รางวัล “1 กรณี” เป็นรางวัลที่มีการนำเครื่องมือการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพหรือเอชไอเอไปดำเนินการ
“คณะอนุกรรมการฯได้พิจารณาคัดเลือกจังหวัด พื้นที่และชุมชนที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในแต่ละประเภท ประเภทรางวัลละ 3 แห่ง รวมเป็น 9 แห่ง ก่อนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และศึกษาข้อมูลประกอบเพิ่มเติมในการพิจารณาตัดสินคัดเลือกเหลือเหลือ 1 รางวัลในแต่ละประเภท ผลการคัดเลือก ปรากฏว่า รางวัล 1 จังหวัด ได้แก่ สมัชชาสุขภาพจังหวัดปัตตานี, รางวัล 1 พื้นที่ มีการครองรางวัลร่วมกันระหว่าง ธรรมนูญสุขภาพ อ.สูงเม่น จ.แพร่ และธรรมนูญสุขภาพ ต.เปือย อ.ลืออำนาจ จ.อำนาจเจริญ และรางวัล 1 กรณี ได้แก่ กรณีการสร้างท่าเรือน้ำลึกและการพัฒนาอุตสาหกรรม อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช โดยจะเข้ารับมอบโล่และใบประกาศเกียรติคุณ ภายในงานประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 6 พ.ศ.2556 ในวันที่ 26 มี.ค.พร้อมกับนำเสนอเรื่องราวของกระบวนการนำเครื่องมือไปใช้ในการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ” เลขาธิการ คสช. กล่าว