ผลโพลระบุ 86.2% เห็นด้วยใช้ถุงยางช่วยควบคุมโรคและตั้งท้องได้ ขณะที่ 47.6% เห็นด้วยติดตั้งเครื่องแจกถุงยางในห้องน้ำหญิง แต่อีก 31% ไม่เห็นด้วย ส่วน 53.4% มองว่าแจกถุงยางเด็ก ม.ต้นขึ้นไปวันวาเลนไทน์เป็นการกระตุ้นให้เด็กมีเซ็กซ์ช่วงเทศกาล ส่วนคนอายุ 60 ขึ้นไปมองหนุ่มสาววัยทำงานพกถุงยางเป็นพวกสำส่อน-เซ็กซ์จัด ชี้ยังพบคนอายหากต้องซื้อถุงยางในร้านค้า ส่วน คร.เดินหน้าติดตั้งเครื่องแจกถึงยางฟรีในวิทยาลัยอาชีวะกว่า 1.4 หมื่นเครื่องทั่วประเทศ
วันนี้ (12 ก.พ.) ที่ รพ.บางรัก นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวระหว่างแถลงข่าว เปิดศูนย์การเรียนรู้ Love Gallerly@Bangrak ว่า จากการที่กรมได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 3/2557 เรื่อง “การใช้ถุงยางอนามัยเพื่อควบคุมป้องกันโรค” ในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 2,921 ราย พื้นที่ทุกภาคของประเทศไทยรวมทั้งหมด 25 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี นนทบุรี สมุทรสาคร ราชบุรี สระบุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี เชียงใหม่ ลำปาง สุโขทัย เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ ชัยภูมิ มหาสารคาม ศรีสะเกษ นครราชสีมาขอนแก่น อุบลราชธานี อุดรธานี ชุมพร กระบี่ นครศรีธรรมราช สงขลา และยะลา เลือกสำรวจประชาชนบริเวณชุมชนรอบตลาดแหล่งชุมชนห้างสรรพสินค้า บริเวณสถานที่ราชการตลอดจนหมู่บ้านนอกเขตเทศบาลระหว่างวันที่ 1-7 กุมภาพันธ์ 2557
ทั้งนี้ ผลการสำรวจพบว่า 1.กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่าการใช้ถุงยางอนามัยสามารถป้องกันการตั้งครรภ์และป้องกันโรคต่างๆ จากการมีเพศสัมพันธ์ได้ 86.2% 2.กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่าชายและหญิงวัยทำงานที่พกถุงยางอนามัยเป็นคนที่ป้องกันตนเองและผู้อื่น 78.4% และ 70% ตามลำดับ เห็นว่าชายเป็นนักเที่ยว 22.7% สำส่อน 7.6% เซ็กซ์จัด 8.6% ส่วนหญิงเป็นผู้มีอาชีพขายบริการทางเพศ 18.5% เซ็กซ์จัด 9.2% สำส่อน 9.3% 3.กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยที่จะให้มีการติดตั้งเครื่องแจกถุงยางอนามัยฟรีในห้องน้ำนักเรียนหญิงระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไป 47.68% ไม่เห็นด้วย 31% และกลุ่มตัวอย่างที่ไม่แน่ใจ 20.2% 4.เห็นว่าการแจกถุงยางอนามัยแก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไปในช่วงเทศกาลวาเลนไทน์จะเป็นการกระตุ้นให้มีเพศสัมพันธ์กันในช่วงเทศกาล 53.4%
นพ.โสภณ กล่าวต่อว่า 5.เห็นว่าการแจกถุงยางอนามัยแก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไปในช่วงเทศกาลวาเลนไทน์จะช่วยป้องกันการท้องก่อนวัยอันควรโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์ได้ 73.3% 6.เห็นด้วยที่จะให้ผู้ปกครองหรือบุคคลในครอบครัวสอนให้บุตรหลานตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไปรู้จักวิธีใช้และพกถุงยางอนามัย 72.7% 7.ไม่มีความรู้สึกอายถ้าต้องซื้อถุงยางอนามัยในร้านสะดวกซื้อหรือร้านขายยา 44.3% รู้สึกอายเล็กน้อย 41.2% และ 8.ถ้ามีการแจกถุงยางอนามัยฟรี สะดวกที่จะไปรับที่ร้านขายยาคลินิก โรงพยาบาล 43.3% และเครื่องแจกฟรีอัตโนมัติ 34.7%
“จากการวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติมส่วนหนึ่ง พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่อายุ 60 ปีขึ้นไป คิดว่าชายวัยทำงานที่พกถุงยางอนามัยเป็นคนสำส่อน กลุ่มตัวอย่างอายุ 15-30 ปี และ 60 ปีขึ้นไป คิดว่าหญิงวัยทำงานที่พกถุงยางอนามัยเป็นคนเซ็กซ์จัด กลุ่มตัวอย่างเพศชายคิดว่าหญิงวัยทำงานที่พกถุงยางอนามัยเป็นคนขายบริการทางเพศกลุ่มตัวอย่างช่วงอายุ 15-30 ปี เห็นด้วยที่จะมีการติดตั้งเครื่องแจกถุงยางอนามัยฟรีในห้องน้ำนักเรียนหญิงระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและกลุ่มตัวอย่างที่เคยใช้ถุงยางอนามัยในขณะมีเพศสัมพันธ์เห็นควรด้วยที่จะมีการติดตั้งเครื่องแจกถุงยางอนามัยในห้องน้ำนักเรียนหญิงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น” นพ.โสภณ กล่าวและว่า ทั้งนี้ กรมควบคุมโรคได้ใช้ยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ได้แก่ 1.พัฒนาและส่งเสริมการเรียนการสอนเรื่องเอดส์และเพศสัมพันธ์ 2.พัฒนาและส่งเสริมการเข้าถึงบริการข้อมูลคำแนะนำปรึกษาและจัดบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับเยาวชนกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายและกลุ่มหญิงบริการในพื้นที่ 57 จังหวัด 3.ส่งเสริมการใช้ถุงยางอนามัยในกลุ่มเยาวชนเพื่อป้องกันโรคด้วยการแจกฟรี ส่งเสริมสนับสนุนการติดตั้งเครื่องจำหน่ายถุงยางอนามัยในสถาบันการศึกษาระดับอาชีวศึกษามากกว่า 14,000 เครื่องทั่วประเทศ และ 4.พัฒนาศักยภาพแกนนำเยาวชนให้มีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
อนึ่ง ศูนย์เรียนรู้ Love Gallery @ Bangkok จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลและเรียนรู้ให้กับเยาวชนเรื่องเพศศึกษาและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ คอลเซ็นเตอร์ 1330 กด 4, 0-2941-2320 ต่อ 181, 182 หรือสายด่วนกรม คร.1422
วันนี้ (12 ก.พ.) ที่ รพ.บางรัก นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวระหว่างแถลงข่าว เปิดศูนย์การเรียนรู้ Love Gallerly@Bangrak ว่า จากการที่กรมได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 3/2557 เรื่อง “การใช้ถุงยางอนามัยเพื่อควบคุมป้องกันโรค” ในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 2,921 ราย พื้นที่ทุกภาคของประเทศไทยรวมทั้งหมด 25 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี นนทบุรี สมุทรสาคร ราชบุรี สระบุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี เชียงใหม่ ลำปาง สุโขทัย เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ ชัยภูมิ มหาสารคาม ศรีสะเกษ นครราชสีมาขอนแก่น อุบลราชธานี อุดรธานี ชุมพร กระบี่ นครศรีธรรมราช สงขลา และยะลา เลือกสำรวจประชาชนบริเวณชุมชนรอบตลาดแหล่งชุมชนห้างสรรพสินค้า บริเวณสถานที่ราชการตลอดจนหมู่บ้านนอกเขตเทศบาลระหว่างวันที่ 1-7 กุมภาพันธ์ 2557
ทั้งนี้ ผลการสำรวจพบว่า 1.กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่าการใช้ถุงยางอนามัยสามารถป้องกันการตั้งครรภ์และป้องกันโรคต่างๆ จากการมีเพศสัมพันธ์ได้ 86.2% 2.กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่าชายและหญิงวัยทำงานที่พกถุงยางอนามัยเป็นคนที่ป้องกันตนเองและผู้อื่น 78.4% และ 70% ตามลำดับ เห็นว่าชายเป็นนักเที่ยว 22.7% สำส่อน 7.6% เซ็กซ์จัด 8.6% ส่วนหญิงเป็นผู้มีอาชีพขายบริการทางเพศ 18.5% เซ็กซ์จัด 9.2% สำส่อน 9.3% 3.กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยที่จะให้มีการติดตั้งเครื่องแจกถุงยางอนามัยฟรีในห้องน้ำนักเรียนหญิงระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไป 47.68% ไม่เห็นด้วย 31% และกลุ่มตัวอย่างที่ไม่แน่ใจ 20.2% 4.เห็นว่าการแจกถุงยางอนามัยแก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไปในช่วงเทศกาลวาเลนไทน์จะเป็นการกระตุ้นให้มีเพศสัมพันธ์กันในช่วงเทศกาล 53.4%
นพ.โสภณ กล่าวต่อว่า 5.เห็นว่าการแจกถุงยางอนามัยแก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไปในช่วงเทศกาลวาเลนไทน์จะช่วยป้องกันการท้องก่อนวัยอันควรโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์ได้ 73.3% 6.เห็นด้วยที่จะให้ผู้ปกครองหรือบุคคลในครอบครัวสอนให้บุตรหลานตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไปรู้จักวิธีใช้และพกถุงยางอนามัย 72.7% 7.ไม่มีความรู้สึกอายถ้าต้องซื้อถุงยางอนามัยในร้านสะดวกซื้อหรือร้านขายยา 44.3% รู้สึกอายเล็กน้อย 41.2% และ 8.ถ้ามีการแจกถุงยางอนามัยฟรี สะดวกที่จะไปรับที่ร้านขายยาคลินิก โรงพยาบาล 43.3% และเครื่องแจกฟรีอัตโนมัติ 34.7%
“จากการวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติมส่วนหนึ่ง พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่อายุ 60 ปีขึ้นไป คิดว่าชายวัยทำงานที่พกถุงยางอนามัยเป็นคนสำส่อน กลุ่มตัวอย่างอายุ 15-30 ปี และ 60 ปีขึ้นไป คิดว่าหญิงวัยทำงานที่พกถุงยางอนามัยเป็นคนเซ็กซ์จัด กลุ่มตัวอย่างเพศชายคิดว่าหญิงวัยทำงานที่พกถุงยางอนามัยเป็นคนขายบริการทางเพศกลุ่มตัวอย่างช่วงอายุ 15-30 ปี เห็นด้วยที่จะมีการติดตั้งเครื่องแจกถุงยางอนามัยฟรีในห้องน้ำนักเรียนหญิงระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและกลุ่มตัวอย่างที่เคยใช้ถุงยางอนามัยในขณะมีเพศสัมพันธ์เห็นควรด้วยที่จะมีการติดตั้งเครื่องแจกถุงยางอนามัยในห้องน้ำนักเรียนหญิงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น” นพ.โสภณ กล่าวและว่า ทั้งนี้ กรมควบคุมโรคได้ใช้ยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ได้แก่ 1.พัฒนาและส่งเสริมการเรียนการสอนเรื่องเอดส์และเพศสัมพันธ์ 2.พัฒนาและส่งเสริมการเข้าถึงบริการข้อมูลคำแนะนำปรึกษาและจัดบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับเยาวชนกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายและกลุ่มหญิงบริการในพื้นที่ 57 จังหวัด 3.ส่งเสริมการใช้ถุงยางอนามัยในกลุ่มเยาวชนเพื่อป้องกันโรคด้วยการแจกฟรี ส่งเสริมสนับสนุนการติดตั้งเครื่องจำหน่ายถุงยางอนามัยในสถาบันการศึกษาระดับอาชีวศึกษามากกว่า 14,000 เครื่องทั่วประเทศ และ 4.พัฒนาศักยภาพแกนนำเยาวชนให้มีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
อนึ่ง ศูนย์เรียนรู้ Love Gallery @ Bangkok จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลและเรียนรู้ให้กับเยาวชนเรื่องเพศศึกษาและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ คอลเซ็นเตอร์ 1330 กด 4, 0-2941-2320 ต่อ 181, 182 หรือสายด่วนกรม คร.1422