สปส.เผยปี 56 ผู้ประกันตนร้องเรียน 5.2 พันเรื่อง นายจ้างไม่นำลูกจ้างเข้าประกันสังคม-เบี้ยวส่งเงินสมทบมากสุดร้อยละ 54 รองลงมา ร้องเรียนสถานพยาบาลร้อยละ 25 โวยถูกเรียกเงินสงเคราะห์บุตรคืน แจงเร่งแก้ปัญหาทุกเรื่อง เล็งเสนอปรับปรุงระเบียบจ่ายเงินสงเคราะห์บุตร
วันนี้ (4 ก.พ.) นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า สปส.ได้รวบรวมข้อร้องเรียนของผู้ประกันตนซึ่งร้องเรียนผ่านช่องทางเว็บไซต์ของ สปส. และเว็บไซต์ของหน่วยงานอื่นๆ เช่น กระทรวงแรงงาน สำนักนายกรัฐมนตรีในช่วงปีงบประมาณ 2556 นับตั้งแต่เดือน ต.ค.2555-ก.ย.2556 โดยมีข้อร้องเรียนทั้งหมด 5,213 เรื่อง ซึ่งในจำนวนนี้ มี 2,823 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 54 ร้องเรียนปัญหาเงินสมทบ ได้แก่ นายจ้างไม่ยอมนำลูกจ้างมาขึ้นทะเบียน หักเงินสมทบลูกจ้าง และไม่นำส่ง รวมถึงส่งเงินสมทบไม่ครบ ร้องเรียนสถานพยาบาลในระบบประกันสังคม 1,270 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 25 เช่น จ่ายยาไม่มีคุณภาพ โรงพยาบาลไม่รับรักษาพยาบาล โรงพยาบาลให้การรักษาล่าช้า แพทย์ไม่อธิบายข้อมูลอาการป่วย และการรักษา และโรงพยาบาลเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากผู้ประกันตน ซึ่งในจำนวนนี้มี 54 เรื่อง ที่จะต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการการแพทย์ของประกันสังคมต่อไป
รองเลขาธิการสปส. กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังร้องเรียนการให้บริการของประกันสังคม 648 เรื่องคิดเป็นร้อยละ 12 เช่น เจ้าหน้าที่พูดจาไม่สุภาพ ให้ข้อมูลไม่ชัดเจน ให้บริการล่าช้า อีกทั้งยังร้องเรียนเรื่องสิทธิประโยชน์ 260 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 5 เช่น การรับสิทธิประโยชน์เงินชราภาพ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกันตนที่มีการคิดเงินสมทบในช่วงปลายเดือนธันวาคม 2541 ซึ่งมีการเก็บเงินสมทบเพียง 1 วัน แต่ สปส.คิดให้เป็น 1 เดือน ทำให้ผู้ประกันตนกลุ่มนี้ซึ่งมีสิทธิรับเงินกรณีชราภาพเข้าใจว่าตนเองต้องได้รับเป็นเงินบำเหน็จชราภาพ แต่เมื่อ สปส.ตรวจสอบแล้วพบว่า ต้องได้รับเป็นเงินบำนาญชราภาพ รวมทั้งเงินสงเคราะห์บุตร ซึ่งเมื่อลูกจ้างออกจากงาน นายจ้างไม่ได้แจ้งในเดือนที่ลาออก แต่เพิ่งมาแจ้งต่อ สปส.ในเดือนถัดไป ซึ่ งสปส.จ่ายเงินสงเคราะห์บุตรในเดือนที่ผู้ประกันตนลาออกไปให้เรียบร้อยแล้ว ทำให้ สปส.ต้องเรียกเงินสงเคราะห์บุตรคืนจากผู้ประกันตน
นพ.สุรเดช กล่าวต่อไปว่า สปส.ได้แก้ปัญหาตามที่ผู้ประกันตนร้องเรียนโดยกรณีนายจ้างไม่ให้ลูกจ้างเข้าสู่ประกันสังคม ไม่ส่งเงินสมทบ หรือส่งเงินสมทบไม่ครบได้ให้เจ้าหน้าที่ลงไปติดตามตรวจสอบข้อเท็จจริง หากพบว่ามีการกระทำผิด เช่น นายจ้างไม่ส่งเงินสมทบ จะมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 2 หมื่นบาท ส่วนกรณีการให้บริการของสถานพยาบาลระบบประกันสังคม สปส.ได้ประชุมชี้แจงแนวปฏิบัติต่อสถานพยาบาล และจัดโครงการสามประสานโดยเชิญฝ่ายโรงพยาบาล นายจ้าง และลูกจ้างมาพูดคุยกันถึงปัญหาการใช้บริการรักษาพยาบาลซึ่งทำไปแล้วในหลายจังหวัด เช่น ชลบุรี เชียงราย และก็ได้ผลน่าพอใจ หลังจากนี้จะขยายโครงการไปยังจังหวัดที่มีโรงงานอุตสาหกรรมหนาแน่น
นอกจากนี้ กรณีการจ่ายยาของโรงพยาบาลระบบประกันสังคมนั้นขอชี้แจงว่า สปส.ให้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ผู้ให้การรักษา หากผู้ประกันตนต้องการยาคุณภาพดีมากซึ่งส่วนใหญ่เป็นยานำเข้าจากต่างประเทศก็จะต้องจ่ายค่ายาเองเพราะอยู่นอกเหนือสิทธิประโยชน์ของ สปส. ขณะที่การให้บริการของ สปส.ได้อบรมเจ้าหน้าที่ และใช้วิธีหมุนเวียนเจ้าหน้าที่ในการรับสายโทรศัพท์ทุก 2-3 ชั่วโมงเพื่อไม่ให้เจ้าหน้าที่เกิดความเครียด รวมทั้งปรับปรุงระบบไอทีเพื่อให้บริการได้รวดเร็วขึ้น ส่วนเรื่องสิทธิประโยชน์ เช่น กรณีชราภาพก็ได้ชี้แจงให้ผู้ประกันตนเข้าใจ และกรณีสงเคราะห์บุตรจะหารือกับ นางอำมร เชาวลิต เลขาธิการ สปส. เพื่อเสนอปรับปรุงระเบียบการจ่ายเงินสงเคราะห์บุตรให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น จะได้สอดรับกับสภาพปัญหาที่ได้รับร้องเรียน
วันนี้ (4 ก.พ.) นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า สปส.ได้รวบรวมข้อร้องเรียนของผู้ประกันตนซึ่งร้องเรียนผ่านช่องทางเว็บไซต์ของ สปส. และเว็บไซต์ของหน่วยงานอื่นๆ เช่น กระทรวงแรงงาน สำนักนายกรัฐมนตรีในช่วงปีงบประมาณ 2556 นับตั้งแต่เดือน ต.ค.2555-ก.ย.2556 โดยมีข้อร้องเรียนทั้งหมด 5,213 เรื่อง ซึ่งในจำนวนนี้ มี 2,823 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 54 ร้องเรียนปัญหาเงินสมทบ ได้แก่ นายจ้างไม่ยอมนำลูกจ้างมาขึ้นทะเบียน หักเงินสมทบลูกจ้าง และไม่นำส่ง รวมถึงส่งเงินสมทบไม่ครบ ร้องเรียนสถานพยาบาลในระบบประกันสังคม 1,270 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 25 เช่น จ่ายยาไม่มีคุณภาพ โรงพยาบาลไม่รับรักษาพยาบาล โรงพยาบาลให้การรักษาล่าช้า แพทย์ไม่อธิบายข้อมูลอาการป่วย และการรักษา และโรงพยาบาลเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากผู้ประกันตน ซึ่งในจำนวนนี้มี 54 เรื่อง ที่จะต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการการแพทย์ของประกันสังคมต่อไป
รองเลขาธิการสปส. กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังร้องเรียนการให้บริการของประกันสังคม 648 เรื่องคิดเป็นร้อยละ 12 เช่น เจ้าหน้าที่พูดจาไม่สุภาพ ให้ข้อมูลไม่ชัดเจน ให้บริการล่าช้า อีกทั้งยังร้องเรียนเรื่องสิทธิประโยชน์ 260 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 5 เช่น การรับสิทธิประโยชน์เงินชราภาพ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกันตนที่มีการคิดเงินสมทบในช่วงปลายเดือนธันวาคม 2541 ซึ่งมีการเก็บเงินสมทบเพียง 1 วัน แต่ สปส.คิดให้เป็น 1 เดือน ทำให้ผู้ประกันตนกลุ่มนี้ซึ่งมีสิทธิรับเงินกรณีชราภาพเข้าใจว่าตนเองต้องได้รับเป็นเงินบำเหน็จชราภาพ แต่เมื่อ สปส.ตรวจสอบแล้วพบว่า ต้องได้รับเป็นเงินบำนาญชราภาพ รวมทั้งเงินสงเคราะห์บุตร ซึ่งเมื่อลูกจ้างออกจากงาน นายจ้างไม่ได้แจ้งในเดือนที่ลาออก แต่เพิ่งมาแจ้งต่อ สปส.ในเดือนถัดไป ซึ่ งสปส.จ่ายเงินสงเคราะห์บุตรในเดือนที่ผู้ประกันตนลาออกไปให้เรียบร้อยแล้ว ทำให้ สปส.ต้องเรียกเงินสงเคราะห์บุตรคืนจากผู้ประกันตน
นพ.สุรเดช กล่าวต่อไปว่า สปส.ได้แก้ปัญหาตามที่ผู้ประกันตนร้องเรียนโดยกรณีนายจ้างไม่ให้ลูกจ้างเข้าสู่ประกันสังคม ไม่ส่งเงินสมทบ หรือส่งเงินสมทบไม่ครบได้ให้เจ้าหน้าที่ลงไปติดตามตรวจสอบข้อเท็จจริง หากพบว่ามีการกระทำผิด เช่น นายจ้างไม่ส่งเงินสมทบ จะมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 2 หมื่นบาท ส่วนกรณีการให้บริการของสถานพยาบาลระบบประกันสังคม สปส.ได้ประชุมชี้แจงแนวปฏิบัติต่อสถานพยาบาล และจัดโครงการสามประสานโดยเชิญฝ่ายโรงพยาบาล นายจ้าง และลูกจ้างมาพูดคุยกันถึงปัญหาการใช้บริการรักษาพยาบาลซึ่งทำไปแล้วในหลายจังหวัด เช่น ชลบุรี เชียงราย และก็ได้ผลน่าพอใจ หลังจากนี้จะขยายโครงการไปยังจังหวัดที่มีโรงงานอุตสาหกรรมหนาแน่น
นอกจากนี้ กรณีการจ่ายยาของโรงพยาบาลระบบประกันสังคมนั้นขอชี้แจงว่า สปส.ให้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ผู้ให้การรักษา หากผู้ประกันตนต้องการยาคุณภาพดีมากซึ่งส่วนใหญ่เป็นยานำเข้าจากต่างประเทศก็จะต้องจ่ายค่ายาเองเพราะอยู่นอกเหนือสิทธิประโยชน์ของ สปส. ขณะที่การให้บริการของ สปส.ได้อบรมเจ้าหน้าที่ และใช้วิธีหมุนเวียนเจ้าหน้าที่ในการรับสายโทรศัพท์ทุก 2-3 ชั่วโมงเพื่อไม่ให้เจ้าหน้าที่เกิดความเครียด รวมทั้งปรับปรุงระบบไอทีเพื่อให้บริการได้รวดเร็วขึ้น ส่วนเรื่องสิทธิประโยชน์ เช่น กรณีชราภาพก็ได้ชี้แจงให้ผู้ประกันตนเข้าใจ และกรณีสงเคราะห์บุตรจะหารือกับ นางอำมร เชาวลิต เลขาธิการ สปส. เพื่อเสนอปรับปรุงระเบียบการจ่ายเงินสงเคราะห์บุตรให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น จะได้สอดรับกับสภาพปัญหาที่ได้รับร้องเรียน