นักวิชาการออกจากหลังเขา เปิดแอปพลิเคชัน “ME SEX” คลังความรู้ “เพศ-เซ็กซ์” แบบฉบับภาษาวัยรุ่น เหมาะสมกับวัย จัดเต็มทั้งเรื่องจู๋ จิ๋ม นม วิธีช่วยตัวเอง การคุมกำเนิดต่างๆ เผยรวบรวมจากคำถามสุดฮิตในเว็บไซต์ทอล์กอะเบาท์เซ็กซ์ สสส. หวังช่วยวัยโจ๋ลดเสพข้อมูลผิดๆ ทางเน็ต ชี้หนทางสว่างแก้ปัญหาทางเพศ

น.ส.ณัฐยา บุญภักดี ผู้จัดการแผนงานสุขภาวะทางเพศ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยว่า ปัญหาหนึ่งในการหาข้อมูลความรู้เรื่องทางเพศ และเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น ซึ่งส่วนใหญ่นิยมค้นหาจากทางอินเทอร์เน็ต คือ ยังไม่สามารถพิจารณาแยกแยะได้ว่าข้อมูลเหล่านั้นถูกต้องและน่าเชื่อถือหรือไม่ ซึ่งเว็บไซต์ที่ควรเข้าไปค้นหา แนะนำว่าควรเป็นเว็บไซต์ที่เป็นลักษณะองค์กร หรือหน่วยงาน เช่น โรงพยาบาล คลินิกวัยรุ่น กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มากกว่าเว็บไซต์ที่เขียนโดยชื่อคนแต่ไม่รู้ว่าเป็นใคร แต่ก็ยังมีช่องว่าง เพราะเนื้อหาเป็นวิชาการเกินไปทำให้วัยรุ่นไม่นิยมเข้ามาอ่าน ซึ่งประเด็นนี้ทางแผนงานฯ ได้จัดทำเว็บไซต์ชื่อ “ทอล์กอะเบาท์เซ็กซ์” ตั้งแต่ปี 2552 เพื่อให้วัยรุ่นเข้ามาหาข้อมูล และถามคำถามเกี่ยวกับเพศศึกษา โดยสามารถใช้ทั้งชื่อจริง หรือชื่อสมมติ เนื่องจากทุกอย่างจะถูกปิดเป็นความลับ ซึ่งทุกคำถามจะมีทีมงานมาตอบ และหากต้องการข้อมูลทางการแพทย์ สสส.ซึ่งมีภาคีเครือข่ายแพทย์ นักจิตวิทยา ก็จะจัดหามาช่วยตอบด้วย
น.ส.ณัฐยา กล่าวอีกว่า เว็บไซต์ดังกล่าวกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ สังเกตได้จากยอดวิวจากไอดีที่ไม่ซ้ำกันเลยนั้น พบว่าปีแรกคือ ปี 2552 มียอดวิวเพียงแค่หลักพันต่อเดือนเท่านั้น แต่ขณะนี้มียอดวิวสูงถึง 60,000 วิวเดือน ส่วนใหญ่คำถามมักจะเป็นเรื่องการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ เช่น ทำแบบนี้จะท้องหรือไม่ ทำแบบนี้แล้วเจ็บ มีเลือดออก จะมีปัญหาหรือไม่ เมนส์ไม่มาทำอย่างไร การใช้ยาคุมฉุกเฉินแบบไหนจึงจะถูกต้อง เป็นต้น ส่วนคำถามแปลกๆ ก็มี เช่น น้ำอสุจิกินได้หรือไม่ เอามาทาหน้าแล้วผิวจะดีหรือไม่ มีเซ็กซ์แบบนี้ท้องหรือไม่ ถุงยางแตกทำอย่างไร ใส่ 2 ชั้นได้หรือไม่ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังพบว่ามีคู่รักแต่งงานใหม่เข้ามาปรึกษาด้วย โดยเฉพาะเรื่องการคุมกำเนิด เนื่องจากยังไม่พร้อมที่จะมีเด็ก

“ล่าสุด ทางแผนงานฯ ได้พัฒนาทำเป็นแอปพลิเคชันด้วยชื่อว่า “ME SEX” ซึ่งเหมาะสำหรับวัยรุ่นตอนต้นจนถึงวัยรุ่นตอนปลายระดับมหาวิทยาลัย โดยเมื่อเปิดแอปฯ แล้วจะพบกับซิปพร้อมตัวอักษร ME SEX เมื่อลากนิ้วรูดซิปเปิดก็จะเข้าสู่เมนูหลัก ซึ่งจะเน้นเป็นภาพวาดลายเส้นสวยงาม แบ่งหัวข้อออกเป็นหมวดๆ คือ ชาย หญิง โรค รักกับเซ็กซ์ ฉุกเฉิน และเว็บบอร์ด ซึ่งแต่ละหัวข้อก็จะมีหัวข้อย่อยที่เป็นความรู้ที่เหมาะสมกับวัยรุ่น โดยใช้ภาษาแบบวัยรุ่นในการสื่อสารให้เข้าใจง่าย ชัดเจน เช่น ทำไมจู๋ดำ ดูแลน้องจิ๋มอย่างอ่อนโยน ช่วยตัวเองก็ง่ายจัง ทำไมนมเพื่อนไม่เท่านมเรา ไม่ต้องสอดใส่ก็มีความสุขได้ เปรียบเทียบวิธีคุมกำเนิดแบบต่างๆ เป็นต้น ส่วนเว็บบอร์ดจะเชื่อมโยงกลับไปยังเว็บไซต์เพื่อให้สมัครสมาชิกในการถามคำถามต่างๆ ได้ด้วย” ผู้จัดการแผนงานสุขภาวะทางเพศ สสส. กล่าว
น.ส.ณัฐยา กล่าวด้วยว่า เนื้อหาส่วนใหญ่ในแอปฯ จะรวบรวมมาจากคำถามที่วัยรุ่นนิยมเข้ามาถามในเว็บไซต์ ซึ่งแอปฯ ดังกล่าวมีการพัฒนามาโดยตลอด โดยล่าสุด เป็นเวอร์ชัน 1.0.3 ซึ่งยอดดาวน์โหลดยังไม่ถือว่ามากแค่ประมาณหลักพันเท่านั้น เนื่องจากขณะนี้เปิดให้ดาวน์โหลดฟรีเฉพาะระบบ ios ส่วนระบบแอนดรอยด์กำลังพัฒนา คาดว่าไม่เกินกลางปีจะสามารถเปิดให้โหลดฟรีได้ ซึ่งจะสามารถตอบโจทย์ได้มากขึ้น นอกจากนี้ เพราะเรายังไม่มีการโหมโปรโมตโฆษณาตามสื่อหลัก มีเพียงแต่โปรโมตขณะตอนไปจัดโรดโชว์กิจกรรมต่างๆ ตามสถานศึกษาเท่านั้น











น.ส.ณัฐยา บุญภักดี ผู้จัดการแผนงานสุขภาวะทางเพศ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยว่า ปัญหาหนึ่งในการหาข้อมูลความรู้เรื่องทางเพศ และเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น ซึ่งส่วนใหญ่นิยมค้นหาจากทางอินเทอร์เน็ต คือ ยังไม่สามารถพิจารณาแยกแยะได้ว่าข้อมูลเหล่านั้นถูกต้องและน่าเชื่อถือหรือไม่ ซึ่งเว็บไซต์ที่ควรเข้าไปค้นหา แนะนำว่าควรเป็นเว็บไซต์ที่เป็นลักษณะองค์กร หรือหน่วยงาน เช่น โรงพยาบาล คลินิกวัยรุ่น กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มากกว่าเว็บไซต์ที่เขียนโดยชื่อคนแต่ไม่รู้ว่าเป็นใคร แต่ก็ยังมีช่องว่าง เพราะเนื้อหาเป็นวิชาการเกินไปทำให้วัยรุ่นไม่นิยมเข้ามาอ่าน ซึ่งประเด็นนี้ทางแผนงานฯ ได้จัดทำเว็บไซต์ชื่อ “ทอล์กอะเบาท์เซ็กซ์” ตั้งแต่ปี 2552 เพื่อให้วัยรุ่นเข้ามาหาข้อมูล และถามคำถามเกี่ยวกับเพศศึกษา โดยสามารถใช้ทั้งชื่อจริง หรือชื่อสมมติ เนื่องจากทุกอย่างจะถูกปิดเป็นความลับ ซึ่งทุกคำถามจะมีทีมงานมาตอบ และหากต้องการข้อมูลทางการแพทย์ สสส.ซึ่งมีภาคีเครือข่ายแพทย์ นักจิตวิทยา ก็จะจัดหามาช่วยตอบด้วย
น.ส.ณัฐยา กล่าวอีกว่า เว็บไซต์ดังกล่าวกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ สังเกตได้จากยอดวิวจากไอดีที่ไม่ซ้ำกันเลยนั้น พบว่าปีแรกคือ ปี 2552 มียอดวิวเพียงแค่หลักพันต่อเดือนเท่านั้น แต่ขณะนี้มียอดวิวสูงถึง 60,000 วิวเดือน ส่วนใหญ่คำถามมักจะเป็นเรื่องการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ เช่น ทำแบบนี้จะท้องหรือไม่ ทำแบบนี้แล้วเจ็บ มีเลือดออก จะมีปัญหาหรือไม่ เมนส์ไม่มาทำอย่างไร การใช้ยาคุมฉุกเฉินแบบไหนจึงจะถูกต้อง เป็นต้น ส่วนคำถามแปลกๆ ก็มี เช่น น้ำอสุจิกินได้หรือไม่ เอามาทาหน้าแล้วผิวจะดีหรือไม่ มีเซ็กซ์แบบนี้ท้องหรือไม่ ถุงยางแตกทำอย่างไร ใส่ 2 ชั้นได้หรือไม่ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังพบว่ามีคู่รักแต่งงานใหม่เข้ามาปรึกษาด้วย โดยเฉพาะเรื่องการคุมกำเนิด เนื่องจากยังไม่พร้อมที่จะมีเด็ก
“ล่าสุด ทางแผนงานฯ ได้พัฒนาทำเป็นแอปพลิเคชันด้วยชื่อว่า “ME SEX” ซึ่งเหมาะสำหรับวัยรุ่นตอนต้นจนถึงวัยรุ่นตอนปลายระดับมหาวิทยาลัย โดยเมื่อเปิดแอปฯ แล้วจะพบกับซิปพร้อมตัวอักษร ME SEX เมื่อลากนิ้วรูดซิปเปิดก็จะเข้าสู่เมนูหลัก ซึ่งจะเน้นเป็นภาพวาดลายเส้นสวยงาม แบ่งหัวข้อออกเป็นหมวดๆ คือ ชาย หญิง โรค รักกับเซ็กซ์ ฉุกเฉิน และเว็บบอร์ด ซึ่งแต่ละหัวข้อก็จะมีหัวข้อย่อยที่เป็นความรู้ที่เหมาะสมกับวัยรุ่น โดยใช้ภาษาแบบวัยรุ่นในการสื่อสารให้เข้าใจง่าย ชัดเจน เช่น ทำไมจู๋ดำ ดูแลน้องจิ๋มอย่างอ่อนโยน ช่วยตัวเองก็ง่ายจัง ทำไมนมเพื่อนไม่เท่านมเรา ไม่ต้องสอดใส่ก็มีความสุขได้ เปรียบเทียบวิธีคุมกำเนิดแบบต่างๆ เป็นต้น ส่วนเว็บบอร์ดจะเชื่อมโยงกลับไปยังเว็บไซต์เพื่อให้สมัครสมาชิกในการถามคำถามต่างๆ ได้ด้วย” ผู้จัดการแผนงานสุขภาวะทางเพศ สสส. กล่าว
น.ส.ณัฐยา กล่าวด้วยว่า เนื้อหาส่วนใหญ่ในแอปฯ จะรวบรวมมาจากคำถามที่วัยรุ่นนิยมเข้ามาถามในเว็บไซต์ ซึ่งแอปฯ ดังกล่าวมีการพัฒนามาโดยตลอด โดยล่าสุด เป็นเวอร์ชัน 1.0.3 ซึ่งยอดดาวน์โหลดยังไม่ถือว่ามากแค่ประมาณหลักพันเท่านั้น เนื่องจากขณะนี้เปิดให้ดาวน์โหลดฟรีเฉพาะระบบ ios ส่วนระบบแอนดรอยด์กำลังพัฒนา คาดว่าไม่เกินกลางปีจะสามารถเปิดให้โหลดฟรีได้ ซึ่งจะสามารถตอบโจทย์ได้มากขึ้น นอกจากนี้ เพราะเรายังไม่มีการโหมโปรโมตโฆษณาตามสื่อหลัก มีเพียงแต่โปรโมตขณะตอนไปจัดโรดโชว์กิจกรรมต่างๆ ตามสถานศึกษาเท่านั้น