ผลสำรวจการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของเยาวชน ใน กทม.ชี้กระทบสุขภาพ คุยนานเป็นเหตุปวดหู หูอื้อ การได้ยินลดลง ปวดข้อมือ ปวดไหล ทำสมาธิสั้น ผลการเรียนต่ำ
คณะผู้บริหาร สำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ระดับอุดมศึกษาร่วมแถลงผลการสำรวจเยาวชนกรุงเทพฯ เกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่และผลกระทบต่อการเรียนรู้ สุขภาพ รวมถึงความสัมพันธ์ภายในครอบครัวของวัยรุ่นอายุระหว่าง 15-25 ปี จำนวน 1,092 คน ในระหว่างวันที่ 25-31 มกราคม 2557 เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์ ทำความเข้าใจให้วัยรุ่นใช้เวลาในการพูดคุยผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปริมาณที่เหมาะสม
จากการสำรวจสามารถสรุปผลได้ว่า กลุ่มตัวอย่างที่ทำการสำรวจส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 51.47 ส่วนร้อยละ 48.53 เป็นเพศชาย ขณะที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 19-22 ปี คิดเป็นร้อยละ 38.19 และกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 32.51 จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าแล้ว
ในด้านพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่นั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อใช้ติดต่อพูดคุยเป็นของตนเองมาเป็นระยะเวลาประมาณ 4-6 ปีแล้วคิดเป็นร้อยละ 28.11 รองลงมาคือกลุ่มตัวอย่างที่มีโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นของตนเองประมาณ 1-3 ปี ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 21.98 สำหรับระยะเวลาในการใช้ติดต่อพูดคุย กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในการติดต่อพูดคุยเป็นระยะเวลาประมาณ 10-30 นาที โดยเฉลี่ยต่อหนึ่งครั้งคิดเป็นร้อยละ 32.69 ขณะที่กลุ่มตัวอย่างประมาณหนึ่งในสี่ หรือคิดเป็นร้อยละ 25.55 ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ติดต่อพูดคุยเป็นระยะเวลาประมาณ 31-45 นาทีโดยเฉลี่ยต่อหนึ่งครั้ง โดยที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เคยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในการติดต่อพูดคุยติดต่อกันนานที่สุดในหนึ่งครั้งเป็นระยะเวลาประมาณ 60 นาทีซึ่งคิดเป็นร้อยละ 30.40
เรื่องที่กลุ่มตัวอย่างนิยมพูดคุยผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่สูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ สนทนากันในเรื่องทั่วๆ ไป คิดเป็นร้อยละ 84.16 พูดคุยเรื่องการเรียน/การทำงาน คิดเป็นร้อยละ 79.3 และนัดเวลา/สถานที่พบกัน คิดเป็นร้อยละ 75.73 สำหรับกลุ่มบุคคลที่นิยมใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ติดต่อพูดคุยนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เกือบหนึ่งในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 31.32 ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในการติดต่อพูดคุยกับเพื่อนๆ มากที่สุด รองลงมาคือใช้ติดต่อพูดคุยกับแฟน/คนรักมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 24.36 ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 20.42 ใช้ติดต่อพูดคุยกับสมาชิกในครอบครัว
นอกจากนี้ กิจกรรมที่กลุ่มตัวอย่างนิยมทำผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่นอกเหนือจากการใช้ติดต่อพูดคุยสูงสุด 3 อันดับ คือ ส่งข้อความ/ภาพ/คลิป คิดเป็นร้อยละ 83.24 เล่นเกม คิดเป็นร้อยละ 79.95 และติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ คิดเป็นร้อยละ 76.74 โดยมีกลุ่มตัวอย่างเพียงร้อยละ 2.29 ที่ระบุว่าไม่ได้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ทำกิจกรรมอื่นเลยนอกเหนือจากใช้ติดต่อพูดคุย
สำหรับความคิดเห็นต่อผลกระทบจากการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่นั้น กลุ่มตัวอย่างระบุผลกระทบกับสุขภาพที่เกิดจากการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่สูงสุด 5 อันดับคือ มีอาการปวดหู/หูอื้อ/ความสามารถในการได้ยินลดลง คิดเป็นร้อยละ 78.57 มีอาการปวดข้อมือ/นิ้ว คิดเป็นร้อยละ 75.64 มีอาการปวดหัวไหล่/แขน คิดเป็นร้อยละ 70.97 มีอาการปวดหัว คิดเป็นร้อยละ 67.77 และอ่อนเพลีย/สมองไม่ปลอดโปร่ง คิดเป็นร้อยละ 62.45
ขณะเดียวกัน กลุ่มตัวอย่างประมาณสองในสาม หรือคิดเป็นร้อยละ 68.41 และร้อยละ 68.5 ระบุว่าการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของตนไม่ได้ส่งผลให้ความใกล้ชิดกับครอบครัว และการพบปะกับเพื่อนฝูงนอกเหนือจากเวลาเรียนหรือการทำงานลดลง ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างเกือบหนึ่งในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 30.31 ยอมรับว่าการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบันส่งผลให้ตนเองมีผลการเรียนหรือการทำงานโดยรวมแย่ลง ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 36.26 ระบุว่าทำให้ตนเองมีสมาธิในการเรียนหรือการทำงานลดลง และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 48.26 ยอมรับว่าการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบันส่งผลให้ตนเองมีค่าใช้จ่ายต่อเดือนเพิ่มขึ้น
คณะผู้บริหาร สำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ระดับอุดมศึกษาร่วมแถลงผลการสำรวจเยาวชนกรุงเทพฯ เกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่และผลกระทบต่อการเรียนรู้ สุขภาพ รวมถึงความสัมพันธ์ภายในครอบครัวของวัยรุ่นอายุระหว่าง 15-25 ปี จำนวน 1,092 คน ในระหว่างวันที่ 25-31 มกราคม 2557 เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์ ทำความเข้าใจให้วัยรุ่นใช้เวลาในการพูดคุยผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปริมาณที่เหมาะสม
จากการสำรวจสามารถสรุปผลได้ว่า กลุ่มตัวอย่างที่ทำการสำรวจส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 51.47 ส่วนร้อยละ 48.53 เป็นเพศชาย ขณะที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 19-22 ปี คิดเป็นร้อยละ 38.19 และกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 32.51 จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าแล้ว
ในด้านพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่นั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อใช้ติดต่อพูดคุยเป็นของตนเองมาเป็นระยะเวลาประมาณ 4-6 ปีแล้วคิดเป็นร้อยละ 28.11 รองลงมาคือกลุ่มตัวอย่างที่มีโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นของตนเองประมาณ 1-3 ปี ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 21.98 สำหรับระยะเวลาในการใช้ติดต่อพูดคุย กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในการติดต่อพูดคุยเป็นระยะเวลาประมาณ 10-30 นาที โดยเฉลี่ยต่อหนึ่งครั้งคิดเป็นร้อยละ 32.69 ขณะที่กลุ่มตัวอย่างประมาณหนึ่งในสี่ หรือคิดเป็นร้อยละ 25.55 ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ติดต่อพูดคุยเป็นระยะเวลาประมาณ 31-45 นาทีโดยเฉลี่ยต่อหนึ่งครั้ง โดยที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เคยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในการติดต่อพูดคุยติดต่อกันนานที่สุดในหนึ่งครั้งเป็นระยะเวลาประมาณ 60 นาทีซึ่งคิดเป็นร้อยละ 30.40
เรื่องที่กลุ่มตัวอย่างนิยมพูดคุยผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่สูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ สนทนากันในเรื่องทั่วๆ ไป คิดเป็นร้อยละ 84.16 พูดคุยเรื่องการเรียน/การทำงาน คิดเป็นร้อยละ 79.3 และนัดเวลา/สถานที่พบกัน คิดเป็นร้อยละ 75.73 สำหรับกลุ่มบุคคลที่นิยมใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ติดต่อพูดคุยนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เกือบหนึ่งในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 31.32 ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในการติดต่อพูดคุยกับเพื่อนๆ มากที่สุด รองลงมาคือใช้ติดต่อพูดคุยกับแฟน/คนรักมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 24.36 ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 20.42 ใช้ติดต่อพูดคุยกับสมาชิกในครอบครัว
นอกจากนี้ กิจกรรมที่กลุ่มตัวอย่างนิยมทำผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่นอกเหนือจากการใช้ติดต่อพูดคุยสูงสุด 3 อันดับ คือ ส่งข้อความ/ภาพ/คลิป คิดเป็นร้อยละ 83.24 เล่นเกม คิดเป็นร้อยละ 79.95 และติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ คิดเป็นร้อยละ 76.74 โดยมีกลุ่มตัวอย่างเพียงร้อยละ 2.29 ที่ระบุว่าไม่ได้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ทำกิจกรรมอื่นเลยนอกเหนือจากใช้ติดต่อพูดคุย
สำหรับความคิดเห็นต่อผลกระทบจากการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่นั้น กลุ่มตัวอย่างระบุผลกระทบกับสุขภาพที่เกิดจากการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่สูงสุด 5 อันดับคือ มีอาการปวดหู/หูอื้อ/ความสามารถในการได้ยินลดลง คิดเป็นร้อยละ 78.57 มีอาการปวดข้อมือ/นิ้ว คิดเป็นร้อยละ 75.64 มีอาการปวดหัวไหล่/แขน คิดเป็นร้อยละ 70.97 มีอาการปวดหัว คิดเป็นร้อยละ 67.77 และอ่อนเพลีย/สมองไม่ปลอดโปร่ง คิดเป็นร้อยละ 62.45
ขณะเดียวกัน กลุ่มตัวอย่างประมาณสองในสาม หรือคิดเป็นร้อยละ 68.41 และร้อยละ 68.5 ระบุว่าการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของตนไม่ได้ส่งผลให้ความใกล้ชิดกับครอบครัว และการพบปะกับเพื่อนฝูงนอกเหนือจากเวลาเรียนหรือการทำงานลดลง ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างเกือบหนึ่งในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 30.31 ยอมรับว่าการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบันส่งผลให้ตนเองมีผลการเรียนหรือการทำงานโดยรวมแย่ลง ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 36.26 ระบุว่าทำให้ตนเองมีสมาธิในการเรียนหรือการทำงานลดลง และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 48.26 ยอมรับว่าการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบันส่งผลให้ตนเองมีค่าใช้จ่ายต่อเดือนเพิ่มขึ้น