สมเด็จพระเทพฯ เสด็จฯแทนพระองค์พระราชทานรางวัล “สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล” วันที่ 28 ม.ค.ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พบคนทำงานด้านเอดส์ซิวทั้ง 4 รางวัล ตัวแทนผู้รับรางวัลชมไทยลดการติดเชื้อได้ดี แต่ยังห่วงผู้ติดเชื้อแต่ไม่รู้ตัวว่าติดเชื้อ โดยเฉพาะกลุ่มชายรักชาย และกลุ่มชายขอบต้องเข้าถึงการคัดกรอง ชี้รู้ตัวเร็ว รักษาแต่ต้น ช่วยรักษาชีวิตและป้องกันแพร่ระบาดได้
วันนี้ (27 ม.ค.) เมื่อเวลา 09.30 น. ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประกอบด้วย ศ.นพ.เดวิด ดี.โฮ ผู้อำนวยการและประธานกรรมการบริหารศูนย์วิจัยโรคเอดส์ แอรอนไดมอนด์ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา นพ.แอนโทนี เอส.ฟอซี ผอ.สถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติ สถาบันสุขภาพแห่งชาติ รัฐแมรีแลนด์ สหรัฐอเมริกา และบารอน ปีเตอร์ ปิย็อต ผอ.วิทยาลัยสุขภาพและเวชศาสตร์เขตร้อน ม.ลอนดอน สหราชอาณาจักร และอดีตผู้อำนวยการบริหารโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ ราชอาณาจักรเบลเยียม เดินทางมายัง รพ.ศิริราช พร้อมวางพวงมาลาถวายบังคมพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และวางพวงมาลัยถวายบังคมสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จากนั้นจึงเยี่ยมชมห้องสมเด็จพระบรมราชชนก ณ ตึกสยามินทร์ ชั้น 2
ทั้งนี้ ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล มีทั้งหมด 4 คน โดย นพ.จิม ยอง คิม อดีตผู้อำนวยการแผนกเอชไอวี/เอดส์ องค์การอนามัยโลก สหรัฐอเมริกา จะเดินทางมาถึงประเทศไทยในวันที่ 28 ม.ค.โดยพิธีพระราชทานรางวัลนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ พระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2556 ในวันที่ 28 ม.ค.เวลา 17.30 น.ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง และพระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำในเวลา 19.30 น.ณ พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร
ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา รองคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล และ ผอ.ร.ร.แพทย์ศิริราช ในฐานะประธานกรรมการที่ปรึกษาวิชาการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล กล่าวว่า ในปีนี้คณะกรรมการได้พิจารณาผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล จำนวน 4 คนด้วยกัน แบ่งเป็นสาขาการแพทย์ 2 คน คือ ศ.นพ.เดวิด ดี.โฮ และ นพ.แอนโทนี เอส.ฟอซี และสาขาการสาธารณสุข 2 คน คือ บารอน ปีเตอร์ ปิย็อต และ นพ.จิม ยอง คิม ซึ่งหลักเกณฑ์ในการพิจารณาผู้ได้รับรางวัลมี 3 ประเด็นคือ 1.ผลงานมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ชัดเจน 2.เป็นเรื่องที่กระทบคนทั่วโลก และ 3.ผลการศึกษามีระยะเวลานานพอสมควร
ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวอีกว่า ปีนี้ผู้ได้รับรางวัลจะเกี่ยวข้องกับเรื่องเอชไอวีและเอดส์ทั้งหมด ซึ่งประเด็นเรื่องเอชไอวี เราได้ติดตามข้อมูลมาไม่น้อยกว่า 6 ปี จะเห็นได้ว่าการมอบรางวัลทั้งสาขาการแพทย์ และสาขาการสาธารณสุข มีความเชื่อมโยงกัน คือทั้งการวิจัยในตอนต้นเกี่ยวกับมาตรฐานการใช้ยาต้านไวรัสและการนำไปใช้ โดย ศ.นพ.เดวิด และ นพ.แอนโทนี ได้ร่วมกันศึกษาเชื้อเอชไอวี ว่าเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะเกิดผลอย่างไรกับร่างกาย ก็พบว่าเมื่อแรกเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายเหมือนจะลดลง แต่แท้จริงแล้วมีการแบ่งตัวตลอดเวลา จนทำให้เกิดโรคฉวยโอกาสขึ้นในภายหลัง ซึ่งการรักษาจำเป็นต้องรักษาขณะยังไม่มีอาการ ซึ่ง ศ.นพ.เดวิด เป็นบุคคลแรกที่ผลักดันให้ใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวีชนิดผสมหลายตัวในการรักษา หรือที่เรียกว่า ฮาร์ท (HARRT) คือยาต้านไวรัสที่ออกฤทธิ์ต่างกันอย่างน้อย 3 ชนิดมาใช้รักษา ขณะที่ นพ.แอนโทนี ได้ทำการวิจัยต่อจนพบว่า เชื้อเอชไอวีจะไปฝังที่ต่อมน้ำเหลือง ซึ่งเป็นแหล่งเก็บเม็ดเลือดขาวที่เกี่ยวข้องกับภูมิต้านทาน เมื่อเชื้อไวรัสแบ่งตัวเพิ่มขึ้นจึงทำลายเม็ดเลือดขาว ทำให้ภูมิต้านทานในร่างกายลดลง
ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า สำหรับ บารอน ปีเตอร์ เล็งเห็นว่าเชื้อไวรัสเอชไอวีจะก่อให้เกิดปัญหาด้านสาธารณสุขขึ้น ก็ได้เคลื่อนไหวรณรงค์ให้ประชาคมโลกตระหนักถึงภัยเอดส์ โดยผลักดันนักการเมือง นักธุรกิจ นักวิทยาศาสตร์ยอมรับเป็นประเด็นสำคัญในการพัฒนาประเทศ รวมถึงต่อรองกับบริษัทยาเพื่อให้ปรับลดราคายาต้านไวรัส เพื่อให้ผู้ป่วยในประเทศยากจนเข้าถึงยามากขึ้น เช่นเดียวกับ นพ.จิม ก็ริเริ่มเป็นผู้นำในการผลักดันผู้ป่วยเข้าถึงยา โดยใช้แผนริเริ่ม 3 ใน 5 คือให้ผู้รับเชื้อเอชไอวีในกลุ่มประเทศรายได้น้อยและปานกลางได้รับยาต้านไวรัส HAART จำนวน 3 ล้านคน ภายในปี 2005 ซึ่งแนวคิดของ ศ.นพ.เดวิด และ นพ.แอนโทนี ได้กลายเป็นมาตรฐานการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีในปัจจุบัน และ การดำเนินงานของบารอนปีเตอร์ และ นพ.จิม ได้ช่วยให้ผู้ติดเชื้อหลายสิบล้านทั่วโลก
ศ.นพ.เดวิด กล่าวว่า รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งกับการได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ซึ่งต้องขอขอบคุณเพื่อนร่วมงานทุกคน นพ.แอนโทนี ที่ทำการวิจัยในเชิงลึกต่อ และบารอน ปีเตอร์ที่นำยา HARRT เข้าไปถึงตัวผู้ป่วย
นพ.แอนโทนี กล่าวว่า ขอบคุณทีมงาน ศ.นพ.เดวิด และ บารอน ปีเตอร์ จะเห็นได้ว่านี่เป็นรางวัลที่มีความเชื่อมโยงทั้งการวิจัยพื้นฐานข้างต้น และนำไปสู่การประยุกต์ใช้
บารอน ปีเตอร์ กล่าวว่า ประเทศไทยถือเป็นประเทศแรกๆ ที่สามารถลดการติดเชื้อเอชไอวีร่วมกับการให้ยาต้านไวรัส และรณรงค์การใช้ถุงยางอนามัยที่ประสบความสำเร็จ เช่นเดียวกับการณรงค์เพื่อลดการตีตราผู้ติดเชื้อเอชไอวี แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่จะทำให้การต่อสู้กับโรคเอดส์ ยังคงเป็นหนทางที่ยาวไกล เพราะโรคเอดส์ยังคงไม่หมดไป แม้กระทั่งในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย และกลุ่มชายขอบอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อไอชไอวี ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มความพยายาม ในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวี ให้มากเป็น 2 เท่า
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีการพัฒนายารักษาเอชไอวีในอนาคตต่อไปอย่างไร นพ.แอนโทนี กล่าวว่า แม้ปี 2557 จะมีข่าวดีเกี่ยวกับตัวยาใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงในการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี และทำให้ผู้ติดเชื้อสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติเหมือนคนทั่วไป แต่การรณรงค์ให้ผู้ติดเชื้อได้รับการรักษา ก่อนที่พวกเขาจะป่วยด้วยโรคฉวยโอกาสยังเป็นสิ่งจำเป็น รวมทั้งการได้รับการตรวจคัดกรองเชื้อเอชไอวี เพราะอย่างในสหรัฐอเมริกา พบว่า 18% ของผู้ติดเชื้อเอชไอวีไม่รู้ว่าตนเองเป็นผู้ติดเชื้อ และ 55% การติดเชื้อเอชไอวีทั้งหมด มาจากคนที่ไม่รู้ว่าตนเองเป็นผู้ติดเชื้อ ดังนั้น การทำให้ผู้ติดเชื้อเข้าถึงการตรวจคัดกรอง และได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะต้น ไม่เพียงแต่จะช่วยรักษาชีวิต แต่ยังช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของโรคด้วย
อนึ่ง รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ครั้งที่ 22 ประจำปี 2556 เป็นรางวัลระดับโลกที่พระบาทสมเด็จพะรเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งขึ้น เพื่อถวายเป็นพระราชานุสรณ์แด่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ในโอกาสจัดงานเฉลิมฉลอง 100 ปี แห่งการพระราชสมภพ 1 มกราคม 2535 ดำเนินโดยมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานมอบรางวัลให่แก่บุคคลหรือองค์กรทั่วโลกที่มีผลงานดีเด่นเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ ทางด้านการแพทย์ 1 รางวัล และด้านการสาธารณสุข 1 รางวัล เป็นประจำทุกปีตลอดมา ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลจะได้รับเหรียญรางวัล ประกาศนียบัตร และเงินรางวัลมูลค่า 100,000 เหรียญสหรัฐฯ
วันนี้ (27 ม.ค.) เมื่อเวลา 09.30 น. ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประกอบด้วย ศ.นพ.เดวิด ดี.โฮ ผู้อำนวยการและประธานกรรมการบริหารศูนย์วิจัยโรคเอดส์ แอรอนไดมอนด์ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา นพ.แอนโทนี เอส.ฟอซี ผอ.สถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติ สถาบันสุขภาพแห่งชาติ รัฐแมรีแลนด์ สหรัฐอเมริกา และบารอน ปีเตอร์ ปิย็อต ผอ.วิทยาลัยสุขภาพและเวชศาสตร์เขตร้อน ม.ลอนดอน สหราชอาณาจักร และอดีตผู้อำนวยการบริหารโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ ราชอาณาจักรเบลเยียม เดินทางมายัง รพ.ศิริราช พร้อมวางพวงมาลาถวายบังคมพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และวางพวงมาลัยถวายบังคมสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จากนั้นจึงเยี่ยมชมห้องสมเด็จพระบรมราชชนก ณ ตึกสยามินทร์ ชั้น 2
ทั้งนี้ ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล มีทั้งหมด 4 คน โดย นพ.จิม ยอง คิม อดีตผู้อำนวยการแผนกเอชไอวี/เอดส์ องค์การอนามัยโลก สหรัฐอเมริกา จะเดินทางมาถึงประเทศไทยในวันที่ 28 ม.ค.โดยพิธีพระราชทานรางวัลนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ พระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2556 ในวันที่ 28 ม.ค.เวลา 17.30 น.ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง และพระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำในเวลา 19.30 น.ณ พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร
ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา รองคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล และ ผอ.ร.ร.แพทย์ศิริราช ในฐานะประธานกรรมการที่ปรึกษาวิชาการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล กล่าวว่า ในปีนี้คณะกรรมการได้พิจารณาผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล จำนวน 4 คนด้วยกัน แบ่งเป็นสาขาการแพทย์ 2 คน คือ ศ.นพ.เดวิด ดี.โฮ และ นพ.แอนโทนี เอส.ฟอซี และสาขาการสาธารณสุข 2 คน คือ บารอน ปีเตอร์ ปิย็อต และ นพ.จิม ยอง คิม ซึ่งหลักเกณฑ์ในการพิจารณาผู้ได้รับรางวัลมี 3 ประเด็นคือ 1.ผลงานมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ชัดเจน 2.เป็นเรื่องที่กระทบคนทั่วโลก และ 3.ผลการศึกษามีระยะเวลานานพอสมควร
ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวอีกว่า ปีนี้ผู้ได้รับรางวัลจะเกี่ยวข้องกับเรื่องเอชไอวีและเอดส์ทั้งหมด ซึ่งประเด็นเรื่องเอชไอวี เราได้ติดตามข้อมูลมาไม่น้อยกว่า 6 ปี จะเห็นได้ว่าการมอบรางวัลทั้งสาขาการแพทย์ และสาขาการสาธารณสุข มีความเชื่อมโยงกัน คือทั้งการวิจัยในตอนต้นเกี่ยวกับมาตรฐานการใช้ยาต้านไวรัสและการนำไปใช้ โดย ศ.นพ.เดวิด และ นพ.แอนโทนี ได้ร่วมกันศึกษาเชื้อเอชไอวี ว่าเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะเกิดผลอย่างไรกับร่างกาย ก็พบว่าเมื่อแรกเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายเหมือนจะลดลง แต่แท้จริงแล้วมีการแบ่งตัวตลอดเวลา จนทำให้เกิดโรคฉวยโอกาสขึ้นในภายหลัง ซึ่งการรักษาจำเป็นต้องรักษาขณะยังไม่มีอาการ ซึ่ง ศ.นพ.เดวิด เป็นบุคคลแรกที่ผลักดันให้ใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวีชนิดผสมหลายตัวในการรักษา หรือที่เรียกว่า ฮาร์ท (HARRT) คือยาต้านไวรัสที่ออกฤทธิ์ต่างกันอย่างน้อย 3 ชนิดมาใช้รักษา ขณะที่ นพ.แอนโทนี ได้ทำการวิจัยต่อจนพบว่า เชื้อเอชไอวีจะไปฝังที่ต่อมน้ำเหลือง ซึ่งเป็นแหล่งเก็บเม็ดเลือดขาวที่เกี่ยวข้องกับภูมิต้านทาน เมื่อเชื้อไวรัสแบ่งตัวเพิ่มขึ้นจึงทำลายเม็ดเลือดขาว ทำให้ภูมิต้านทานในร่างกายลดลง
ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า สำหรับ บารอน ปีเตอร์ เล็งเห็นว่าเชื้อไวรัสเอชไอวีจะก่อให้เกิดปัญหาด้านสาธารณสุขขึ้น ก็ได้เคลื่อนไหวรณรงค์ให้ประชาคมโลกตระหนักถึงภัยเอดส์ โดยผลักดันนักการเมือง นักธุรกิจ นักวิทยาศาสตร์ยอมรับเป็นประเด็นสำคัญในการพัฒนาประเทศ รวมถึงต่อรองกับบริษัทยาเพื่อให้ปรับลดราคายาต้านไวรัส เพื่อให้ผู้ป่วยในประเทศยากจนเข้าถึงยามากขึ้น เช่นเดียวกับ นพ.จิม ก็ริเริ่มเป็นผู้นำในการผลักดันผู้ป่วยเข้าถึงยา โดยใช้แผนริเริ่ม 3 ใน 5 คือให้ผู้รับเชื้อเอชไอวีในกลุ่มประเทศรายได้น้อยและปานกลางได้รับยาต้านไวรัส HAART จำนวน 3 ล้านคน ภายในปี 2005 ซึ่งแนวคิดของ ศ.นพ.เดวิด และ นพ.แอนโทนี ได้กลายเป็นมาตรฐานการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีในปัจจุบัน และ การดำเนินงานของบารอนปีเตอร์ และ นพ.จิม ได้ช่วยให้ผู้ติดเชื้อหลายสิบล้านทั่วโลก
ศ.นพ.เดวิด กล่าวว่า รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งกับการได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ซึ่งต้องขอขอบคุณเพื่อนร่วมงานทุกคน นพ.แอนโทนี ที่ทำการวิจัยในเชิงลึกต่อ และบารอน ปีเตอร์ที่นำยา HARRT เข้าไปถึงตัวผู้ป่วย
นพ.แอนโทนี กล่าวว่า ขอบคุณทีมงาน ศ.นพ.เดวิด และ บารอน ปีเตอร์ จะเห็นได้ว่านี่เป็นรางวัลที่มีความเชื่อมโยงทั้งการวิจัยพื้นฐานข้างต้น และนำไปสู่การประยุกต์ใช้
บารอน ปีเตอร์ กล่าวว่า ประเทศไทยถือเป็นประเทศแรกๆ ที่สามารถลดการติดเชื้อเอชไอวีร่วมกับการให้ยาต้านไวรัส และรณรงค์การใช้ถุงยางอนามัยที่ประสบความสำเร็จ เช่นเดียวกับการณรงค์เพื่อลดการตีตราผู้ติดเชื้อเอชไอวี แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่จะทำให้การต่อสู้กับโรคเอดส์ ยังคงเป็นหนทางที่ยาวไกล เพราะโรคเอดส์ยังคงไม่หมดไป แม้กระทั่งในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย และกลุ่มชายขอบอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อไอชไอวี ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มความพยายาม ในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวี ให้มากเป็น 2 เท่า
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีการพัฒนายารักษาเอชไอวีในอนาคตต่อไปอย่างไร นพ.แอนโทนี กล่าวว่า แม้ปี 2557 จะมีข่าวดีเกี่ยวกับตัวยาใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงในการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี และทำให้ผู้ติดเชื้อสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติเหมือนคนทั่วไป แต่การรณรงค์ให้ผู้ติดเชื้อได้รับการรักษา ก่อนที่พวกเขาจะป่วยด้วยโรคฉวยโอกาสยังเป็นสิ่งจำเป็น รวมทั้งการได้รับการตรวจคัดกรองเชื้อเอชไอวี เพราะอย่างในสหรัฐอเมริกา พบว่า 18% ของผู้ติดเชื้อเอชไอวีไม่รู้ว่าตนเองเป็นผู้ติดเชื้อ และ 55% การติดเชื้อเอชไอวีทั้งหมด มาจากคนที่ไม่รู้ว่าตนเองเป็นผู้ติดเชื้อ ดังนั้น การทำให้ผู้ติดเชื้อเข้าถึงการตรวจคัดกรอง และได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะต้น ไม่เพียงแต่จะช่วยรักษาชีวิต แต่ยังช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของโรคด้วย
อนึ่ง รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ครั้งที่ 22 ประจำปี 2556 เป็นรางวัลระดับโลกที่พระบาทสมเด็จพะรเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งขึ้น เพื่อถวายเป็นพระราชานุสรณ์แด่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ในโอกาสจัดงานเฉลิมฉลอง 100 ปี แห่งการพระราชสมภพ 1 มกราคม 2535 ดำเนินโดยมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานมอบรางวัลให่แก่บุคคลหรือองค์กรทั่วโลกที่มีผลงานดีเด่นเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ ทางด้านการแพทย์ 1 รางวัล และด้านการสาธารณสุข 1 รางวัล เป็นประจำทุกปีตลอดมา ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลจะได้รับเหรียญรางวัล ประกาศนียบัตร และเงินรางวัลมูลค่า 100,000 เหรียญสหรัฐฯ