สธ.หวั่นเหตุปะทะบริเวณหน่วยเลือกตั้งล่วงหน้า จัดทีมกู้ชีพดูแลใกล้ชิด พร้อมส่งทีมจากสถาบันประสาทฯ และ รพ.สงฆ์ ดูแลผู้ชุมนุม กปปส.เวทีราชประสงค์ที่เดินขบวน ยอดเจ็บสะสมตั้งแต่ 30 พ.ย.พบสูง 564 ราย ตาย 9 ราย รักษาตัวอยู่ 19 ราย อาการดีขึ้นทุกราย ไม่มีรายใดอยู่ไอ.ซี.ยู.แล้ว
วันนี้ (25 ม.ค.) เมื่อเวลา 10.50 น. ที่โรงพยาบาลสงฆ์ นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวภายหลังประชุมศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณภัย ด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีชุมนุมทางการเมือง (ส่วนหน้า) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ว่า การเตรียมความพร้อมรับมือเหตุการณ์ปะทะที่อาจเกิดขึ้นในวันที่ 26 ม.ค. ซึ่งเป็นวันเลือกตั้งล่วงหน้านั้น ในพื้นที่ กทม.ทั้ง 50 เขต ได้มีการแบ่งพื้นที่รับผิดชอบดูแล ซึ่งส่วนใหญ่หน่วยเลือกตั้งจะอยู่ที่สำนักงานเขตอยู่แล้ว สำหรับหน่วยเลือกตั้งนอกสำนักงานเขตนั้น กรมการแพทย์รับผิดชอบดูแลทั้งหมด 7 จุด แบ่งเป็นหน่วยเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตเลือกตั้ง 5 จุด คือ 1.เขตสาทร อยู่ที่ศูนย์กีฬาสำนักงานเขตสาทร ทุ่งมหาเมฆ 2.เขตดุสิต บริเวณโรงเรียนสุโขทัย 3.เขตพญาไท บริเวณกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ใกล้สถานีบีทีเอสอารีย์ 4.เขตจตุจักร บริเวณที่ว่างท้ายซอยวิภาวดี 36 และ 5.เขตบางเขน บริเวณสำนักงานเขตและโรงเรียนประชาภิบาล และหน่วยเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตเลือกตั้ง 2 จุด คือ 1.เขตลาดพร้าว เต็นท์บริเวณตลาดนัดผู้ใหญ่อ้วน ซอยนาคนิวาส 6 และ 2.เขตจตุจักร บริเวณโรงเรียนเซนต์จอห์นโปลีเทคนิค
นพ.สุพรรณ กล่าวอีกว่า การดำเนินการดูแลจะมีทีมกู้ชีพพื้นฐานของมูลนิธิร่วมกตัญญูและมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งประจำแต่ละจุด โดยมีทีมกู้ชีพชั้นสูงแบ่งพื้นที่ดูแล 4 ทีม คือ ทีมจาก จ.ระนอง ระยอง ตราด และชัยภูมิ โดยมีทีมกู้ชีพชั้นสูงสำรองไว้อีก 6 ทีมจาก รพ.ราชวิถี รพ.รามาธิบดี และ รพ.นพรัตน์ราชธานี สำหรับการเดินขบวนของกลุ่ม กปปส.ก็แบ่งพื้นที่ดูแลตามปกติ โดยวันนี้จะมีทีมของ รพ.สงฆ์ และสถาบันประสาทวิทยา ให้การดูแล
ด้าน นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ส่วนหน้า กล่าวว่า การแบ่งพื้นที่ดูแลเหตุปะทะในวันเลือกตั้งล่วงหน้า กรมการแพทย์ สธ.ยังได้รับผิดชอบในพื้นที่เดิมคือตั้งแต่ห้าแยกลาดพร้าวลงมาถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และแยกราชเทวี ซึ่งจะมีการเตรียมทีมกู้ชีพชั้นสูงเกาะติดสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ส่วนการเคลื่อนไหวของ กปปส.ในวันนี้เท่าที่ทราบจะมีการเดินขบวนจากเวทีราชประสงค์ผ่านมาบริเวณพื้นที่ที่กรมการแพทย์รับผิดชอบ ก็จะมีทีมจากสถาบันประสาทวิทยาดูแลบริเวณแยกราชเทวี และทีมจาก รพ.สงฆ์ ดูแลบริเวณแยกพญาไท โดยมีทีมกู้ชีพชั้นสูงจาก จ.ตราด ร่วมกับทีมกู้ชีพพื้นฐานจากมูลนิธิร่วมกตัญญู ติดตามสถานการณ์อยู่ที่บริเวรประตูน้ำ
นพ.สมเกียรติ เกษมธรรมคุณ หัวหน้ากลุ่มงานอุบัติเหตุ รพ.สงฆ์ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 24 ม.ค.ที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์ขึ้น 2 เหตุการณ์คือ 1.เมื่อเวลา 16.00 น.บริเวณห้าแยกลาดพร้าว มีเสียงประทัดยักษ์ดังขึ้น ทำให้การ์ดตกใจวิ่งชนราวสะพาน พบศีรษะแตก ได้นำส่ง รพ.เมโย ซึ่งได้ทำการเย็บแผลและกลับบ้านได้แล้ว และ 2.เวลา 02.00 น. บริเวณที่กลับรถใกล้ศูนย์วัฒนธรรมใกล้เวทีอโศก พบถูกยิง 1 ราย แต่ผู้ป่วยได้ขึ้นแท็กซี่ไปรักษาที่ รพ.จุฬาลงกรณ์ ซึ่งทางโรงพยาบาลแจ้งว่าไม่เกี่ยวข้องกับการชุมนุม สำหรับยอดผู้ป่วยสะสมตั้งแต่วันที่ 26 ธ.ค. 2556 มีทั้งสิ้น 274 ราย ยังพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 17 ราย เสียชีวิต 4 ราย ส่วนยอดสะสมตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย. มีทั้งสิ้น 564 ราย พักรักษาตัวยในโรงพยาบาล 19 ราย เสียชีวิต 9 ราย ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่ยักพักรักษาในโรงพยาบาลไม่มีรายใดต้องอยู่ห้องไอ.ซี.ยู.แล้ว อาการดีขึ้นทุกราย
วันเดียวกัน เวลา 14.00 น. นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มอบหมายให้ นพ.สุเทพ วัชรปิยนันทน์ ผู้ช่วยปลัด สธ.ประชุมทางไกลผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ กับ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด 25 จังหวัด และศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้านการแพทย์และการสาธารณสุข กรณีชุมนุมทางการเมือง (ส่วนหน้า) ที่ รพ.สงฆ์
ทั้งนี้ นพ.สุเทพ กล่าวว่า ปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีความห่วงใย เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทั่วประเทศจึงได้ มอบหมายให้สื่อสารกับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทั่วประเทศ เรื่อง การเตรียมความพร้อมในการรักษาความปลอดภัยสถานบริการและเจ้าหน้าที่ รวมทั้งทีมกู้ชีพที่ออกปฏิบัติการในการช่วยเหลือผู้ป่วย สืบเนื่องจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นใน 2 จังหวัด คือ จังหวัดขอนแก่นและนครปฐม จากความคิดเห็นที่แตกต่างกัน อาจมีการเผชิญหน้ากันเกิดขึ้น และ มีแนวโน้มรุนแรง ขอให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิดสอดส่องดูแลออกเยี่ยมให้กำลังใจโรงพยาบาลในพื้นที่อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะในพื้นที่สุ่มเสี่ยงเกิดการปิดล้อมของมวลชน
นพ.สุเทพ กล่าวอีกว่า ขอให้สถานบริการทุกแห่ง มีกฎความปลอดภัยทั้งในสถานที่ทำงาน ในโรงพยาบาล อาคารบ้านพัก มีการเตรียมเรื่องเส้นทางเข้าออก การกวดขันเส้นทางเข้าออก ในเวลาและนอกเวลาราชการ ติดตั้งกล้องวงจรปิด และตรวจสอบให้ใช้งาน เตรียมระบบการสื่อสาร จัดเวรยามดูแลในจุดเสี่ยง และขอให้มีการซักซ้อมทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ เตรียมรับสถานการณ์หาก มีความจำเป็นเผชิญเหตุ มีระบบการประสานงานหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ ทั้งฝ่ายปกครอง ตำรวจ และเตรียมวางแผนการเจรจา ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข จะได้มีหนังสือเวียนแจ้งแนวทางปฏิบัติ ส่งไปสถานบริการทั่วประเทศ ในเบื้องต้นขอให้ทุกจังหวัดเตรียมการให้พร้อม เพื่อให้สามารถเปิดบริการประชาชนได้ตามปกติ
วันนี้ (25 ม.ค.) เมื่อเวลา 10.50 น. ที่โรงพยาบาลสงฆ์ นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวภายหลังประชุมศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณภัย ด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีชุมนุมทางการเมือง (ส่วนหน้า) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ว่า การเตรียมความพร้อมรับมือเหตุการณ์ปะทะที่อาจเกิดขึ้นในวันที่ 26 ม.ค. ซึ่งเป็นวันเลือกตั้งล่วงหน้านั้น ในพื้นที่ กทม.ทั้ง 50 เขต ได้มีการแบ่งพื้นที่รับผิดชอบดูแล ซึ่งส่วนใหญ่หน่วยเลือกตั้งจะอยู่ที่สำนักงานเขตอยู่แล้ว สำหรับหน่วยเลือกตั้งนอกสำนักงานเขตนั้น กรมการแพทย์รับผิดชอบดูแลทั้งหมด 7 จุด แบ่งเป็นหน่วยเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตเลือกตั้ง 5 จุด คือ 1.เขตสาทร อยู่ที่ศูนย์กีฬาสำนักงานเขตสาทร ทุ่งมหาเมฆ 2.เขตดุสิต บริเวณโรงเรียนสุโขทัย 3.เขตพญาไท บริเวณกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ใกล้สถานีบีทีเอสอารีย์ 4.เขตจตุจักร บริเวณที่ว่างท้ายซอยวิภาวดี 36 และ 5.เขตบางเขน บริเวณสำนักงานเขตและโรงเรียนประชาภิบาล และหน่วยเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตเลือกตั้ง 2 จุด คือ 1.เขตลาดพร้าว เต็นท์บริเวณตลาดนัดผู้ใหญ่อ้วน ซอยนาคนิวาส 6 และ 2.เขตจตุจักร บริเวณโรงเรียนเซนต์จอห์นโปลีเทคนิค
นพ.สุพรรณ กล่าวอีกว่า การดำเนินการดูแลจะมีทีมกู้ชีพพื้นฐานของมูลนิธิร่วมกตัญญูและมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งประจำแต่ละจุด โดยมีทีมกู้ชีพชั้นสูงแบ่งพื้นที่ดูแล 4 ทีม คือ ทีมจาก จ.ระนอง ระยอง ตราด และชัยภูมิ โดยมีทีมกู้ชีพชั้นสูงสำรองไว้อีก 6 ทีมจาก รพ.ราชวิถี รพ.รามาธิบดี และ รพ.นพรัตน์ราชธานี สำหรับการเดินขบวนของกลุ่ม กปปส.ก็แบ่งพื้นที่ดูแลตามปกติ โดยวันนี้จะมีทีมของ รพ.สงฆ์ และสถาบันประสาทวิทยา ให้การดูแล
ด้าน นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ส่วนหน้า กล่าวว่า การแบ่งพื้นที่ดูแลเหตุปะทะในวันเลือกตั้งล่วงหน้า กรมการแพทย์ สธ.ยังได้รับผิดชอบในพื้นที่เดิมคือตั้งแต่ห้าแยกลาดพร้าวลงมาถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และแยกราชเทวี ซึ่งจะมีการเตรียมทีมกู้ชีพชั้นสูงเกาะติดสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ส่วนการเคลื่อนไหวของ กปปส.ในวันนี้เท่าที่ทราบจะมีการเดินขบวนจากเวทีราชประสงค์ผ่านมาบริเวณพื้นที่ที่กรมการแพทย์รับผิดชอบ ก็จะมีทีมจากสถาบันประสาทวิทยาดูแลบริเวณแยกราชเทวี และทีมจาก รพ.สงฆ์ ดูแลบริเวณแยกพญาไท โดยมีทีมกู้ชีพชั้นสูงจาก จ.ตราด ร่วมกับทีมกู้ชีพพื้นฐานจากมูลนิธิร่วมกตัญญู ติดตามสถานการณ์อยู่ที่บริเวรประตูน้ำ
นพ.สมเกียรติ เกษมธรรมคุณ หัวหน้ากลุ่มงานอุบัติเหตุ รพ.สงฆ์ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 24 ม.ค.ที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์ขึ้น 2 เหตุการณ์คือ 1.เมื่อเวลา 16.00 น.บริเวณห้าแยกลาดพร้าว มีเสียงประทัดยักษ์ดังขึ้น ทำให้การ์ดตกใจวิ่งชนราวสะพาน พบศีรษะแตก ได้นำส่ง รพ.เมโย ซึ่งได้ทำการเย็บแผลและกลับบ้านได้แล้ว และ 2.เวลา 02.00 น. บริเวณที่กลับรถใกล้ศูนย์วัฒนธรรมใกล้เวทีอโศก พบถูกยิง 1 ราย แต่ผู้ป่วยได้ขึ้นแท็กซี่ไปรักษาที่ รพ.จุฬาลงกรณ์ ซึ่งทางโรงพยาบาลแจ้งว่าไม่เกี่ยวข้องกับการชุมนุม สำหรับยอดผู้ป่วยสะสมตั้งแต่วันที่ 26 ธ.ค. 2556 มีทั้งสิ้น 274 ราย ยังพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 17 ราย เสียชีวิต 4 ราย ส่วนยอดสะสมตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย. มีทั้งสิ้น 564 ราย พักรักษาตัวยในโรงพยาบาล 19 ราย เสียชีวิต 9 ราย ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่ยักพักรักษาในโรงพยาบาลไม่มีรายใดต้องอยู่ห้องไอ.ซี.ยู.แล้ว อาการดีขึ้นทุกราย
วันเดียวกัน เวลา 14.00 น. นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มอบหมายให้ นพ.สุเทพ วัชรปิยนันทน์ ผู้ช่วยปลัด สธ.ประชุมทางไกลผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ กับ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด 25 จังหวัด และศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้านการแพทย์และการสาธารณสุข กรณีชุมนุมทางการเมือง (ส่วนหน้า) ที่ รพ.สงฆ์
ทั้งนี้ นพ.สุเทพ กล่าวว่า ปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีความห่วงใย เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทั่วประเทศจึงได้ มอบหมายให้สื่อสารกับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทั่วประเทศ เรื่อง การเตรียมความพร้อมในการรักษาความปลอดภัยสถานบริการและเจ้าหน้าที่ รวมทั้งทีมกู้ชีพที่ออกปฏิบัติการในการช่วยเหลือผู้ป่วย สืบเนื่องจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นใน 2 จังหวัด คือ จังหวัดขอนแก่นและนครปฐม จากความคิดเห็นที่แตกต่างกัน อาจมีการเผชิญหน้ากันเกิดขึ้น และ มีแนวโน้มรุนแรง ขอให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิดสอดส่องดูแลออกเยี่ยมให้กำลังใจโรงพยาบาลในพื้นที่อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะในพื้นที่สุ่มเสี่ยงเกิดการปิดล้อมของมวลชน
นพ.สุเทพ กล่าวอีกว่า ขอให้สถานบริการทุกแห่ง มีกฎความปลอดภัยทั้งในสถานที่ทำงาน ในโรงพยาบาล อาคารบ้านพัก มีการเตรียมเรื่องเส้นทางเข้าออก การกวดขันเส้นทางเข้าออก ในเวลาและนอกเวลาราชการ ติดตั้งกล้องวงจรปิด และตรวจสอบให้ใช้งาน เตรียมระบบการสื่อสาร จัดเวรยามดูแลในจุดเสี่ยง และขอให้มีการซักซ้อมทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ เตรียมรับสถานการณ์หาก มีความจำเป็นเผชิญเหตุ มีระบบการประสานงานหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ ทั้งฝ่ายปกครอง ตำรวจ และเตรียมวางแผนการเจรจา ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข จะได้มีหนังสือเวียนแจ้งแนวทางปฏิบัติ ส่งไปสถานบริการทั่วประเทศ ในเบื้องต้นขอให้ทุกจังหวัดเตรียมการให้พร้อม เพื่อให้สามารถเปิดบริการประชาชนได้ตามปกติ