สปส.เพิ่มสิทธิรักษาพยาบาลระบบประกันสังคมให้ผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ตับ ตับอ่อนได้ เตรียมเสนอเข้าบอร์ด สปส.เร็วๆ นี้คาดเริ่มได้เดือน มี.ค.ประเดิมใช้งบดำเนินการปีแรก 15 ล้าน ปีถัดไป 50-60 ล้านบาท เชื่อคุ้มค่าให้ชีวิตใหม่แก่ผู้ประกันตน
วันนี้ (21 ม.ค.) นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยว่า สปส.เตรียมที่จะเพิ่มสิทธิประโยชน์การรักษาพยาบาลของระบบประกันสังคมในการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ตับ และตับอ่อน ให้แก่ผู้ประกันตนซึ่งป่วย ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ โดยก่อนหน้านี้ สปส.ได้ให้สมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งประเทศไทยศึกษาถึงความคุ้มค่าในการรักษาผู้ป่วยด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ตับ ตับอ่อนทั้งในไทยและต่างประเทศ ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดมีอัตราเสี่ยงต่อการเสียชีวิตน้อย เพราะเทคโนโลยีทางการแพทย์และยาที่ให้การรักษามีความก้าวหน้าและทันสมัยมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใหญ่หลังผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะแล้วผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติแต่จะต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต ดังนั้น การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะจึงมีความคุ้มค่าและเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกันตนอย่างมาก เพราะถือเป็นการให้ชีวิตใหม่แก่ผู้ประกันตน
รองเลขาธิการ สปส.กล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้คณะกรรมการการแพทย์ได้เห็นชอบเรื่องนี้ไปเรียบร้อยแล้วและจัดร่างประกาศไว้เตรียมที่จะเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.)ในเร็วๆ นี้ คาดว่าประกาศคณะกรรมการการแพทย์ของ สปส.ฉบับดังกล่าวน่าจะเริ่มใช้ได้ในเดือน มี.ค.นี้โดยได้ประมาณการในปีแรกภาพรวมจะใช้งบในการผ่าตัด การดูแลรักษาและให้ยากดภูมิคุ้มกันผู้ประกันตนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตประมาณ 15 ล้านบาท หรือโดยเฉลี่ยอยู่ที่รายละประมาณ 1 ล้านบาท หลังจากนั้นในปีต่อๆ ไปจะใช้งบอยู่ที่ 50-60 ล้านบาท แต่จำนวนผู้ประกันตนที่จะรับการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ตับ ตับอ่อนนั้น ไม่สามารถประมาณการได้เพราะขึ้นอยู่กับการได้รับบริจาคอวัยวะ ส่วนโรงพยาบาลที่ให้การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ตับ ตับอ่อนให้แก่ผู้ประกันตนนั้นเป็นโรงพยาบาลซึ่งเป็นโรงเรียนแพทย์ที่มีศักยภาพสูง ได้แก่ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งจะต้องประสานงานกับศูนย์บริจาคอวัยวะของสภากาชาดไทยเพื่อขอรับบริจาคอวัยวะมาผ่าตัดเปลี่ยนให้แก่ผู้ประกันตนด้วย
นพ.สุรเดช กล่าวด้วยว่า เมื่อบอร์ด สปส.เห็นชอบร่างประกาศดังกล่าวแล้ว สปส.จะทำหนังสือแจ้งเรื่องไปยังโรงพยาบาลในระบบประกันสังคมทุกแห่ง รวมถึงโรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และสภากาชาดไทย เพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับทราบว่า สปส.ได้เพิ่มสิทธิประโยชน์การรักษาพยาบาลของระบบประกันสังคมในการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ตับ ตับอ่อน ให้แก่ผู้ประกันตนแล้ว และจะเชิญโรงพยาบาลทั้ง 3 แห่งมาทำข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกันและประชุมชี้แจงเรื่องการเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลและผ่าตัดซึ่งให้เบิกกับ สปส.โดยตรง
“ส่วนขั้นตอนการรักษานั้นเมื่อโรงพยาบาลที่ผู้ประกันตนมีบัตรรับรองสิทธิอยู่ให้การรักษาแล้ว พบว่าผู้ประกันตนจะต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ตับ หรือตับอ่อน ก็ให้แจ้งต่อ สปส.เพื่อพิจารณาอนุมัติโดยจะวินิจฉัยยึดตามเกณฑ์ของแพทยสภาและสมาคมปลูกถ่ายอวัยวะ รวมทั้งโรงพยาบาลบัตรรับรองสิทธิฯจะต้องประสานไปยังโรงพยาบาลทั้ง 3 แห่ง และสภากาชาดไทยด้วยโดยผู้ประกันตนซึ่งป่วยจะต้องเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะจะต้องเตรียมพร้อมร่างกาย จิตใจ และรอการผ่าตัดซึ่งขึ้นอยู่กับว่าจะได้รับบริจาคอวัยวะเมื่อใด เนื่องจากไม่ใช่การรักษากรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินจึงไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้ทันที” รองเลขาธิการ สปส.กล่าว
วันนี้ (21 ม.ค.) นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยว่า สปส.เตรียมที่จะเพิ่มสิทธิประโยชน์การรักษาพยาบาลของระบบประกันสังคมในการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ตับ และตับอ่อน ให้แก่ผู้ประกันตนซึ่งป่วย ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ โดยก่อนหน้านี้ สปส.ได้ให้สมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งประเทศไทยศึกษาถึงความคุ้มค่าในการรักษาผู้ป่วยด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ตับ ตับอ่อนทั้งในไทยและต่างประเทศ ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดมีอัตราเสี่ยงต่อการเสียชีวิตน้อย เพราะเทคโนโลยีทางการแพทย์และยาที่ให้การรักษามีความก้าวหน้าและทันสมัยมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใหญ่หลังผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะแล้วผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติแต่จะต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต ดังนั้น การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะจึงมีความคุ้มค่าและเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกันตนอย่างมาก เพราะถือเป็นการให้ชีวิตใหม่แก่ผู้ประกันตน
รองเลขาธิการ สปส.กล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้คณะกรรมการการแพทย์ได้เห็นชอบเรื่องนี้ไปเรียบร้อยแล้วและจัดร่างประกาศไว้เตรียมที่จะเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.)ในเร็วๆ นี้ คาดว่าประกาศคณะกรรมการการแพทย์ของ สปส.ฉบับดังกล่าวน่าจะเริ่มใช้ได้ในเดือน มี.ค.นี้โดยได้ประมาณการในปีแรกภาพรวมจะใช้งบในการผ่าตัด การดูแลรักษาและให้ยากดภูมิคุ้มกันผู้ประกันตนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตประมาณ 15 ล้านบาท หรือโดยเฉลี่ยอยู่ที่รายละประมาณ 1 ล้านบาท หลังจากนั้นในปีต่อๆ ไปจะใช้งบอยู่ที่ 50-60 ล้านบาท แต่จำนวนผู้ประกันตนที่จะรับการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ตับ ตับอ่อนนั้น ไม่สามารถประมาณการได้เพราะขึ้นอยู่กับการได้รับบริจาคอวัยวะ ส่วนโรงพยาบาลที่ให้การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ตับ ตับอ่อนให้แก่ผู้ประกันตนนั้นเป็นโรงพยาบาลซึ่งเป็นโรงเรียนแพทย์ที่มีศักยภาพสูง ได้แก่ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งจะต้องประสานงานกับศูนย์บริจาคอวัยวะของสภากาชาดไทยเพื่อขอรับบริจาคอวัยวะมาผ่าตัดเปลี่ยนให้แก่ผู้ประกันตนด้วย
นพ.สุรเดช กล่าวด้วยว่า เมื่อบอร์ด สปส.เห็นชอบร่างประกาศดังกล่าวแล้ว สปส.จะทำหนังสือแจ้งเรื่องไปยังโรงพยาบาลในระบบประกันสังคมทุกแห่ง รวมถึงโรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และสภากาชาดไทย เพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับทราบว่า สปส.ได้เพิ่มสิทธิประโยชน์การรักษาพยาบาลของระบบประกันสังคมในการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ตับ ตับอ่อน ให้แก่ผู้ประกันตนแล้ว และจะเชิญโรงพยาบาลทั้ง 3 แห่งมาทำข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกันและประชุมชี้แจงเรื่องการเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลและผ่าตัดซึ่งให้เบิกกับ สปส.โดยตรง
“ส่วนขั้นตอนการรักษานั้นเมื่อโรงพยาบาลที่ผู้ประกันตนมีบัตรรับรองสิทธิอยู่ให้การรักษาแล้ว พบว่าผู้ประกันตนจะต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ตับ หรือตับอ่อน ก็ให้แจ้งต่อ สปส.เพื่อพิจารณาอนุมัติโดยจะวินิจฉัยยึดตามเกณฑ์ของแพทยสภาและสมาคมปลูกถ่ายอวัยวะ รวมทั้งโรงพยาบาลบัตรรับรองสิทธิฯจะต้องประสานไปยังโรงพยาบาลทั้ง 3 แห่ง และสภากาชาดไทยด้วยโดยผู้ประกันตนซึ่งป่วยจะต้องเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะจะต้องเตรียมพร้อมร่างกาย จิตใจ และรอการผ่าตัดซึ่งขึ้นอยู่กับว่าจะได้รับบริจาคอวัยวะเมื่อใด เนื่องจากไม่ใช่การรักษากรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินจึงไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้ทันที” รองเลขาธิการ สปส.กล่าว