ตับ นับเป็นอวัยวะที่สำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่งในระบบร่างกายของคนเรา กระนั้นก็ดี ด้วยการใช้ชีวิต หรือพิษภัยที่มาโดยไม่รู้ตัว ก็อาจจะ “กินตับ” ของคุณจนก่อเกิดเป็นโรคร้ายถึงขั้นเสียชีวิตได้ อย่างไรก็ดี ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ การปลูกถ่ายตับ ก็ถูกหยิบยกขึ้นมา ในฐานะ “ความหวัง” ของผู้ป่วย
ผศ.นพ.บัณฑูร นนทสูตร ศัลยแพทย์ ฝ่ายศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ให้ข้อมูลว่า การปลูกถ่ายตับถือเป็นทางเลือกทางรอดของผู้ป่วยที่มีอาการเกี่ยวกับตับทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งตับ ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี ไปจนถึงท่อน้ำดีอุดตัน แต่เบื้องต้น ควรรู้ก่อนว่า ถ้าตับเก่าเราเสีย ตับใหม่ที่ได้มา จะต้องมาจากแหล่งไหนยังไงบ้าง
“อันดับแรก ก็ต้องผ่านการวินิจฉัยได้อย่างชัดเจนก่อนว่า เป็นโรคตับแข็งเรื้อรังหรือว่าเป็นมะเร็งตับระยะสุดท้าย หรือว่าอยู่ในระยะแรกซึ่งเข้าเกณฑ์ที่จะปลูกถ่ายตับได้ หรือเป็นเด็กที่มีท่อน้ำดีอุดตันมาแต่กำเนิดแล้วผ่าตัดรักษาในเบื้องต้น ไม่ได้ผล ก็จะเข้าสู่การปลูกถ่ายตับ
“ส่วนตับที่ได้มา จะมีสองแบบ คือหนึ่ง ตับที่ได้มาจากผู้เสียชีวิตจากภาวะสมองตาย ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุ กระทบกระเทือนทางสมอง เลือดออกในสมอง แล้วรักษาไม่ได้ ทำให้สมองตายในที่สุด ก็จะมีการคุยกับญาติของบุคคลนั้น หรือผู้ป่วยบางคนอาจจะมีการแสดงความจำนงไว้อยู่แล้วว่าอยากบริจาคอวัยวะ เราก็จะนำเอาอวัยวะต่างๆ ของคนไข้ที่มีภาวะสมองตาย ไปปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วยที่รออยู่ ส่วนแบบที่สอง ตับที่ได้มา จะมาจากผู้บริจาคที่มีชีวิต ส่วนใหญ่จะเป็นญาติกัน เป็นพ่อแม่พี่น้องกัน”
คนที่รับบริจาคตับ จะต้องมีอะไรที่ตรงกับผู้ให้บริจาคหรือไม่ ผศ.นพ.บัณฑูร กล่าวว่าสิ่งที่ต้องพิจารณาก็มีเพียงแค่ว่าหมู่เลือดตรงกัน หรือเข้ากันได้ ก็สามารถปลูกถ่ายตับได้แล้ว
“แต่โดยทั่วไป พอเราได้รับอวัยวะใหม่เข้ามา ร่างกายมักจะเกิดปฏิกิริยาต่อต้าน เป็นกลไกปกติ เพราะฉะนั้น ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะทุกคนจะต้องทานยากดภูมิคุ้มกัน เพื่อที่จะกดไม่ให้ร่างกายปฏิเสธตับ คือสามารถป้องกันได้ ถ้าเป็นตับที่ได้รับบริจาคจากผู้ที่มีชีวิต เราก็จะแบ่งตับมา ไม่สามารถเอามาทั้งหมดได้ เพราะไม่เช่นนั้น เจ้าของตับเดิมก็จะเสียชีวิต อย่างถ้าเป็นเด็ก เราก็อาจจะเอามาเฉพาะกลีบหนึ่งของตับข้างซ้าย”
ทั้งนี้ คนที่ถูกผ่าตัดแบ่งตับออกไป ผศ.นพ.บัณฑูร กล่าวว่าก็สามารถจะมีชีวิตปกติเหมือนคนทั่วไป ถ้าหากการผ่าตัดนั้นผ่านพ้นไปได้ด้วยดี ไม่มีปัญหาอะไร ตับก็จะงอกใหม่ได้ ในปริมาณที่มากพอเกือบจะเท่าเดิม
“สำหรับผู้ที่ถูกผ่าตัดปลูกถ่ายตับ ตับที่ใส่เข้าไปใหม่ มีโอกาสที่จะไม่ทำงาน หรือเส้นเลือดที่ต่อไว้มีการตีบตัน ทำงานไม่ได้ กลุ่มนี้ก็เป็นกลุ่มที่อันตรายมาก ต้องปลูกถ่ายตับใหม่ หรือบางรายอาจจะมีการติดเชื้อ เพราะต้องทานยากดภูมิคุ้มกัน ทำให้คนไข้กลุ่มนี้ติดเชื้อได้ง่าย หรือมีปัญหาอื่นๆ ตามมาซึ่งเป็นปัญหาผ่าตัดทั่วไป เช่น แผลติดเชื้อ ปอดบวม”
ประเด็นที่หลายคนอาจจะกำลังเกิดคำถามก็คือ เมื่อปลูกถ่ายตับใหม่แล้ว จะหายเป็นปกติหรือไม่ หรือหายขาดจากโรคเดิมนั้นๆ ได้หรือไม่ ผศ.นพ.บัณฑูร กล่าวว่า มีทั้งโรคที่หายขาด และโรคที่มีโอกาสกลับมาเป็นใหม่ได้ อย่างในกรณีของเด็ก ถ้าเป็นท่อน้ำดีอุดตัน เมื่อเราปลูกถ่ายตับไปแล้ว แล้วประสบความสำเร็จดี เขาก็จะหายขาด
“ถ้าเป็นมะเร็งตับ ก็มีโอกาสกลับมาเป็นใหม่ได้ แต่เราก็มีการจำกัดอยู่แล้วว่า ถ้าจะปลูกถ่ายตับของผู้ที่ป่วยมะเร็งตับที่เป็นระยะแรกๆ เท่านั้น ดังนั้น โอกาสที่จะกลับมาเป็นใหม่ จึงน้อย แค่ราวๆ สิบเปอร์เซ็นต์ ส่วนไวรัสตับอักเสบบี หลังจากปลูกถ่ายตับแล้ว จะต้องกินยาต้านไวรัสไปตลอดชีวิต ต้องฉีดภูมิป้องกันไวรัสตลอดชีวิตเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ไวรัสบี หลังจากปลูกถ่ายตับใหม่แล้ว เราสามารถที่จะควบคุมไม่ให้กลับมาเป็นใหม่ได้หรือหายขาดเลย
“แต่สำหรับไวรัสตับอักเสบซี เรายังไม่มียา หรือภูมิที่จะเข้ามาจัดการควบคุมมันได้ เพราะฉะนั้น ผู้ที่เป็นไวรัสซี หลังจากปลูกถ่ายตับแล้วจะกลับมาเป็นใหม่อีกครั้งทุกคน การกลับมาเป็นใหม่ภายหลังปลูกถ่ายตับแล้วก็ขึ้นอยู่กับว่า คนไหนจะเป็นแบบรุนแรงหรือไม่รุนแรง” ผศ.นพ.บัณฑูร กล่าว
ขอบคุณข้อมูล : รายการ “Health Line สายตรงสุขภาพ” รายการที่สร้างภูมิคุ้มกันโรคภัยไข้เจ็บ ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 7.00-8.00 น.ทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี และสามารถรับชมย้อนหลังได้ที่ www.manager.co.th/vdo
ผศ.นพ.บัณฑูร นนทสูตร ศัลยแพทย์ ฝ่ายศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ให้ข้อมูลว่า การปลูกถ่ายตับถือเป็นทางเลือกทางรอดของผู้ป่วยที่มีอาการเกี่ยวกับตับทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งตับ ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี ไปจนถึงท่อน้ำดีอุดตัน แต่เบื้องต้น ควรรู้ก่อนว่า ถ้าตับเก่าเราเสีย ตับใหม่ที่ได้มา จะต้องมาจากแหล่งไหนยังไงบ้าง
“อันดับแรก ก็ต้องผ่านการวินิจฉัยได้อย่างชัดเจนก่อนว่า เป็นโรคตับแข็งเรื้อรังหรือว่าเป็นมะเร็งตับระยะสุดท้าย หรือว่าอยู่ในระยะแรกซึ่งเข้าเกณฑ์ที่จะปลูกถ่ายตับได้ หรือเป็นเด็กที่มีท่อน้ำดีอุดตันมาแต่กำเนิดแล้วผ่าตัดรักษาในเบื้องต้น ไม่ได้ผล ก็จะเข้าสู่การปลูกถ่ายตับ
“ส่วนตับที่ได้มา จะมีสองแบบ คือหนึ่ง ตับที่ได้มาจากผู้เสียชีวิตจากภาวะสมองตาย ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุ กระทบกระเทือนทางสมอง เลือดออกในสมอง แล้วรักษาไม่ได้ ทำให้สมองตายในที่สุด ก็จะมีการคุยกับญาติของบุคคลนั้น หรือผู้ป่วยบางคนอาจจะมีการแสดงความจำนงไว้อยู่แล้วว่าอยากบริจาคอวัยวะ เราก็จะนำเอาอวัยวะต่างๆ ของคนไข้ที่มีภาวะสมองตาย ไปปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วยที่รออยู่ ส่วนแบบที่สอง ตับที่ได้มา จะมาจากผู้บริจาคที่มีชีวิต ส่วนใหญ่จะเป็นญาติกัน เป็นพ่อแม่พี่น้องกัน”
คนที่รับบริจาคตับ จะต้องมีอะไรที่ตรงกับผู้ให้บริจาคหรือไม่ ผศ.นพ.บัณฑูร กล่าวว่าสิ่งที่ต้องพิจารณาก็มีเพียงแค่ว่าหมู่เลือดตรงกัน หรือเข้ากันได้ ก็สามารถปลูกถ่ายตับได้แล้ว
“แต่โดยทั่วไป พอเราได้รับอวัยวะใหม่เข้ามา ร่างกายมักจะเกิดปฏิกิริยาต่อต้าน เป็นกลไกปกติ เพราะฉะนั้น ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะทุกคนจะต้องทานยากดภูมิคุ้มกัน เพื่อที่จะกดไม่ให้ร่างกายปฏิเสธตับ คือสามารถป้องกันได้ ถ้าเป็นตับที่ได้รับบริจาคจากผู้ที่มีชีวิต เราก็จะแบ่งตับมา ไม่สามารถเอามาทั้งหมดได้ เพราะไม่เช่นนั้น เจ้าของตับเดิมก็จะเสียชีวิต อย่างถ้าเป็นเด็ก เราก็อาจจะเอามาเฉพาะกลีบหนึ่งของตับข้างซ้าย”
ทั้งนี้ คนที่ถูกผ่าตัดแบ่งตับออกไป ผศ.นพ.บัณฑูร กล่าวว่าก็สามารถจะมีชีวิตปกติเหมือนคนทั่วไป ถ้าหากการผ่าตัดนั้นผ่านพ้นไปได้ด้วยดี ไม่มีปัญหาอะไร ตับก็จะงอกใหม่ได้ ในปริมาณที่มากพอเกือบจะเท่าเดิม
“สำหรับผู้ที่ถูกผ่าตัดปลูกถ่ายตับ ตับที่ใส่เข้าไปใหม่ มีโอกาสที่จะไม่ทำงาน หรือเส้นเลือดที่ต่อไว้มีการตีบตัน ทำงานไม่ได้ กลุ่มนี้ก็เป็นกลุ่มที่อันตรายมาก ต้องปลูกถ่ายตับใหม่ หรือบางรายอาจจะมีการติดเชื้อ เพราะต้องทานยากดภูมิคุ้มกัน ทำให้คนไข้กลุ่มนี้ติดเชื้อได้ง่าย หรือมีปัญหาอื่นๆ ตามมาซึ่งเป็นปัญหาผ่าตัดทั่วไป เช่น แผลติดเชื้อ ปอดบวม”
ประเด็นที่หลายคนอาจจะกำลังเกิดคำถามก็คือ เมื่อปลูกถ่ายตับใหม่แล้ว จะหายเป็นปกติหรือไม่ หรือหายขาดจากโรคเดิมนั้นๆ ได้หรือไม่ ผศ.นพ.บัณฑูร กล่าวว่า มีทั้งโรคที่หายขาด และโรคที่มีโอกาสกลับมาเป็นใหม่ได้ อย่างในกรณีของเด็ก ถ้าเป็นท่อน้ำดีอุดตัน เมื่อเราปลูกถ่ายตับไปแล้ว แล้วประสบความสำเร็จดี เขาก็จะหายขาด
“ถ้าเป็นมะเร็งตับ ก็มีโอกาสกลับมาเป็นใหม่ได้ แต่เราก็มีการจำกัดอยู่แล้วว่า ถ้าจะปลูกถ่ายตับของผู้ที่ป่วยมะเร็งตับที่เป็นระยะแรกๆ เท่านั้น ดังนั้น โอกาสที่จะกลับมาเป็นใหม่ จึงน้อย แค่ราวๆ สิบเปอร์เซ็นต์ ส่วนไวรัสตับอักเสบบี หลังจากปลูกถ่ายตับแล้ว จะต้องกินยาต้านไวรัสไปตลอดชีวิต ต้องฉีดภูมิป้องกันไวรัสตลอดชีวิตเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ไวรัสบี หลังจากปลูกถ่ายตับใหม่แล้ว เราสามารถที่จะควบคุมไม่ให้กลับมาเป็นใหม่ได้หรือหายขาดเลย
“แต่สำหรับไวรัสตับอักเสบซี เรายังไม่มียา หรือภูมิที่จะเข้ามาจัดการควบคุมมันได้ เพราะฉะนั้น ผู้ที่เป็นไวรัสซี หลังจากปลูกถ่ายตับแล้วจะกลับมาเป็นใหม่อีกครั้งทุกคน การกลับมาเป็นใหม่ภายหลังปลูกถ่ายตับแล้วก็ขึ้นอยู่กับว่า คนไหนจะเป็นแบบรุนแรงหรือไม่รุนแรง” ผศ.นพ.บัณฑูร กล่าว
ขอบคุณข้อมูล : รายการ “Health Line สายตรงสุขภาพ” รายการที่สร้างภูมิคุ้มกันโรคภัยไข้เจ็บ ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 7.00-8.00 น.ทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี และสามารถรับชมย้อนหลังได้ที่ www.manager.co.th/vdo