สพฉ. แนะวิธีปฏิบัติตัวเมื่อเกิดเหตุระเบิดสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนทั่วไป ย้ำห้ามเคลื่อนย้ายวัตถุต้องสงสัยโดยเด็ดขาด ตั้งสติและรีบออกจากพื้นที่เสี่ยงทันที พร้อมหาที่กำบังที่แข็งแรงและอยู่เหนือลม
นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่าหลังจากเกิดเหตุการณ์ความวุ่นวาย และมีเหตุระเบิดระหว่างการเดินขบวนชุมนุมที่ ถ.บรรทัดทอง จนทำให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันอันตรายจากสถานการณ์ความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นในลักษณะนี้อีก สพฉ. ได้ออกแนวปฏิบัติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์นอกโรงพยาบาล หากต้องเผชิญเหตุระเบิด เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน ดังนี้ 1. บุคลากรทางการแพทย์ต้องปฏิบัติงานในพื้นที่ปลอดภัย หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่มีหรือเสี่ยงต่อการระเบิดหรือเหตุปะทะ 2.ถ้าเกิดเหตุการณ์ระเบิด ให้ตั้งสติ แล้วรีบหมอบลงกับพื้น หรือทำตัวให้ต่ำที่สุด แล้วคลานเข้าไปอยู่ในที่กำบังอย่างรวดเร็ว พร้อมกับฟังทิศทางที่มาของเสียงระเบิด 3.สำหรับผู้สั่งการฝ่ายการแพทย์ ให้แจ้งประสานกับเจ้าของพื้นที่หรือตำรวจทันที เมื่อมีเหตุระเบิด 4.ไม่เข้าไปช่วยผู้ประสบเหตุ จนกว่าผู้บัญชาการเหตุการณ์ (commander) หรือนักทำลายล้างวัตถุระเบิด (E.O.D.) จะแจ้งว่า เหตุการณ์ปลอดภัยแล้ว 5. จะต้องกั้นเขต จัดพื้นที่ปฏิบัติการห่างจากจุดเกิดเหตุระเบิดอย่างน้อย 300 เมตร และอยู่เหนือลม 6.เจ้าหน้าที่ทุกคนจะต้องใส่ชุดอุปกรณ์ป้องกันตนเอง และเสื้อสะท้อนแสงแสดงตำแหน่งปฏิบัติการ
7.เมื่อเหตุการณ์ปลอดภัย ให้ทีมกู้ภัยมูลนิธิหรือชุดเผชิญเหตุเข้าไปนำผู้ประสบภัยออกมา โดยควรใส่เสื้อเกราะ หมวกนิรภัย และเสื้อสะท้อนแสง ปฏิบัติการอย่างรวดเร็วและออกมาจากที่เกิดเหตุโดยเร็ว 8.ให้ทีมกู้ภัยมูลนิธิหรือชุดเผชิญเหตุ คัดแยกผู้บาดเจ็บขั้นต้น ณ จุดเกิดเหตุที่ปลอดภัย หรืออาจนำผู้ประสบเหตุออกมาคัดแยก ณ จุดที่ปลอดภัย ดังนี้ โดยผู้ที่เดินได้ แจ้งให้รีบเดินหรือวิ่งออกมา เป็นผู้บาดเจ็บสีเขียว ส่วนผู้ที่ไม่หายใจหลังเปิดทางเดินหายใจแล้วหายใจ หรือหายใจช้ากว่า 10 ครั้ง/นาทีหรือ 30 ครั้ง/นาทีขึ้นไป หรือหายใจปกติแต่ชีพจรเร็ว 120 ครั้ง/นาทีขึ้นไป ให้ระบุเป็นผู้บาดเจ็บสีแดง ให้ขอทีมกู้ภัยมูลนิธิรีบเข้าไปเคลื่อนย้ายออกมาที่จุดรักษาพยาบาล และผู้บาดเจ็บที่เหลือคือ หายใจ 10-29ครั้ง/นาที, ชีพจรน้อยกว่า 120 ครั้ง/นาที, capillary refill 1-2 นาที เป็นผู้บาดเจ็บสีเหลือง ให้ขอทีมกู้ภัยมูลนิธิเข้าไปเคลื่อนย้ายออกมาเช่นกัน 9.สำหรับการรักษาพยาบาล ณ ที่เกิดเหตุ ให้ทำเท่าที่จำเป็น โดยเฉพาะภาวะคุกคามต่อชีวิต และ 10. รีบนำส่งโรงพยาบาลตามอาการฉุกเฉิน
เลขาธิการ สพฉ. กล่าวต่อว่า สำหรับประชาชนทั่วไป หากพบวัตถุต้องสงสัยให้รีบโทรแจ้ง 191 ทั้งนี้ห้ามแตะต้องหรือเคลื่อนย้ายวัตถุต้องสงสัยโดยเด็ดขาด จากนั้นต้องตั้งสติและรีบออกจากพื้นที่เสี่ยงทันที รวมทั้งเร่งอพยพผู้คนโดยด่วน แต่ทั้งนี้ต้องใช้วิธีการที่นุ่มนวลเพื่อไม่ให้เกิดอาการตื่นตระหนก แต่ทั้งนี้ หากวัตถุต้องสงสัยระเบิดหรือเกิดประกายไฟ ให้หาที่กำบังที่แข็งแรง และหากติดอยู่ภายในอาคารให้ใช้ผ้าชุบน้ำอุดช่องประตูเพื่อป้องกันแก๊สพิษ และต้องหาที่กำบังแรงระเบิดที่มั่นคงแข็งแรง โดยหลบอยู่เหนือลม ปิดเครื่องปรับอากาศและใส่เสื้อผ้าให้มิดชิดเพื่อป้องกันอันตราย และหากเป็นไปได้ให้นำยางรถยนต์ไปล้อมวัตถุต้องสงสัยไว้ และที่สำคัญหากพบเห็นผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินหรือได้รับอุบัติเหตุให้รีบโทรแจ้งสายด่วน 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง
นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่าหลังจากเกิดเหตุการณ์ความวุ่นวาย และมีเหตุระเบิดระหว่างการเดินขบวนชุมนุมที่ ถ.บรรทัดทอง จนทำให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันอันตรายจากสถานการณ์ความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นในลักษณะนี้อีก สพฉ. ได้ออกแนวปฏิบัติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์นอกโรงพยาบาล หากต้องเผชิญเหตุระเบิด เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน ดังนี้ 1. บุคลากรทางการแพทย์ต้องปฏิบัติงานในพื้นที่ปลอดภัย หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่มีหรือเสี่ยงต่อการระเบิดหรือเหตุปะทะ 2.ถ้าเกิดเหตุการณ์ระเบิด ให้ตั้งสติ แล้วรีบหมอบลงกับพื้น หรือทำตัวให้ต่ำที่สุด แล้วคลานเข้าไปอยู่ในที่กำบังอย่างรวดเร็ว พร้อมกับฟังทิศทางที่มาของเสียงระเบิด 3.สำหรับผู้สั่งการฝ่ายการแพทย์ ให้แจ้งประสานกับเจ้าของพื้นที่หรือตำรวจทันที เมื่อมีเหตุระเบิด 4.ไม่เข้าไปช่วยผู้ประสบเหตุ จนกว่าผู้บัญชาการเหตุการณ์ (commander) หรือนักทำลายล้างวัตถุระเบิด (E.O.D.) จะแจ้งว่า เหตุการณ์ปลอดภัยแล้ว 5. จะต้องกั้นเขต จัดพื้นที่ปฏิบัติการห่างจากจุดเกิดเหตุระเบิดอย่างน้อย 300 เมตร และอยู่เหนือลม 6.เจ้าหน้าที่ทุกคนจะต้องใส่ชุดอุปกรณ์ป้องกันตนเอง และเสื้อสะท้อนแสงแสดงตำแหน่งปฏิบัติการ
7.เมื่อเหตุการณ์ปลอดภัย ให้ทีมกู้ภัยมูลนิธิหรือชุดเผชิญเหตุเข้าไปนำผู้ประสบภัยออกมา โดยควรใส่เสื้อเกราะ หมวกนิรภัย และเสื้อสะท้อนแสง ปฏิบัติการอย่างรวดเร็วและออกมาจากที่เกิดเหตุโดยเร็ว 8.ให้ทีมกู้ภัยมูลนิธิหรือชุดเผชิญเหตุ คัดแยกผู้บาดเจ็บขั้นต้น ณ จุดเกิดเหตุที่ปลอดภัย หรืออาจนำผู้ประสบเหตุออกมาคัดแยก ณ จุดที่ปลอดภัย ดังนี้ โดยผู้ที่เดินได้ แจ้งให้รีบเดินหรือวิ่งออกมา เป็นผู้บาดเจ็บสีเขียว ส่วนผู้ที่ไม่หายใจหลังเปิดทางเดินหายใจแล้วหายใจ หรือหายใจช้ากว่า 10 ครั้ง/นาทีหรือ 30 ครั้ง/นาทีขึ้นไป หรือหายใจปกติแต่ชีพจรเร็ว 120 ครั้ง/นาทีขึ้นไป ให้ระบุเป็นผู้บาดเจ็บสีแดง ให้ขอทีมกู้ภัยมูลนิธิรีบเข้าไปเคลื่อนย้ายออกมาที่จุดรักษาพยาบาล และผู้บาดเจ็บที่เหลือคือ หายใจ 10-29ครั้ง/นาที, ชีพจรน้อยกว่า 120 ครั้ง/นาที, capillary refill 1-2 นาที เป็นผู้บาดเจ็บสีเหลือง ให้ขอทีมกู้ภัยมูลนิธิเข้าไปเคลื่อนย้ายออกมาเช่นกัน 9.สำหรับการรักษาพยาบาล ณ ที่เกิดเหตุ ให้ทำเท่าที่จำเป็น โดยเฉพาะภาวะคุกคามต่อชีวิต และ 10. รีบนำส่งโรงพยาบาลตามอาการฉุกเฉิน
เลขาธิการ สพฉ. กล่าวต่อว่า สำหรับประชาชนทั่วไป หากพบวัตถุต้องสงสัยให้รีบโทรแจ้ง 191 ทั้งนี้ห้ามแตะต้องหรือเคลื่อนย้ายวัตถุต้องสงสัยโดยเด็ดขาด จากนั้นต้องตั้งสติและรีบออกจากพื้นที่เสี่ยงทันที รวมทั้งเร่งอพยพผู้คนโดยด่วน แต่ทั้งนี้ต้องใช้วิธีการที่นุ่มนวลเพื่อไม่ให้เกิดอาการตื่นตระหนก แต่ทั้งนี้ หากวัตถุต้องสงสัยระเบิดหรือเกิดประกายไฟ ให้หาที่กำบังที่แข็งแรง และหากติดอยู่ภายในอาคารให้ใช้ผ้าชุบน้ำอุดช่องประตูเพื่อป้องกันแก๊สพิษ และต้องหาที่กำบังแรงระเบิดที่มั่นคงแข็งแรง โดยหลบอยู่เหนือลม ปิดเครื่องปรับอากาศและใส่เสื้อผ้าให้มิดชิดเพื่อป้องกันอันตราย และหากเป็นไปได้ให้นำยางรถยนต์ไปล้อมวัตถุต้องสงสัยไว้ และที่สำคัญหากพบเห็นผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินหรือได้รับอุบัติเหตุให้รีบโทรแจ้งสายด่วน 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง