สอศ.หนุนฟื้นครูมืออาชีพ ระบุได้ครูคุณภาพที่ผ่านการคัดเลือกและพัฒนามาอย่างดี พร้อมกับอัตราไว้รอ 140 อัตราแล้ว
นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เห็นด้วยที่กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) จะเดินหน้าโครงการผลิตครูมืออาชีพ เพราะขณะนี้ สอศ.ได้กันอัตราเกษียณไว้สำหรับครูที่จบจากโครงการดังกล่าวแล้วจำนวน 140 อัตรา เพราะที่ผ่านมาพบว่า ครูที่มาจากโครงการนี้ล้วนเป็นครูที่มีคุณภาพ เป็นคนเก่ง มีความสามารถ ทั้งด้านวิชาการ ด้านเทคนิคการสอน รวมทั้งวางตัวที่เป็นที่ยอมรับของเพื่อนครูในโรงเรียน ทั้งยังผ่านกระบวนการคัดเลือก และมีกิจกรรมพัฒนาคุณลักษณะต่างๆ อย่างต่อเนื่อง จึงคิดว่าหากได้ครูเหล่านี้มาสอนในสถานศึกษาสังกัด สอศ.จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนในทิศทางที่ดี
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้อยู่ในช่วงของการเปลี่ยนถ่ายคน เพราะจะมีครูเกษียณจำนวนมาก ดังนั้นจึงห่วงว่าจะมีช่องหว่างระหว่างครูรุ่นใหม่กับครูรุ่นเก่า โดยเฉพาะช่องว่างในส่วนของประสบการณ์ในงานอาชีพ และประสบการณ์ในเรื่องของการสอน ซึ่งถ้าเด็กกลุ่มใหม่เข้าไปและมีอะไรใหม่ๆ ที่จะไปเชื่อมประสบการณ์กับรุ่นพี่ที่กำลังจะเกษียณก็จะทำให้สอศ.ไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดช่องว่างมาก และเท่าที่ดูเด็กที่มาจากโครงการนี้ก็ค่อนข้างมีความคิดที่เปิดกว้างที่พอสมควร
“หาก ศธ.เดินหน้าโครงการผลิตครูมืออาชีพ ในส่วนของ สอศ.มีความต้องการครูในสายอาชีพทุกสาขา โดยเฉพาะสาขาทางด้านเทคโนโลยีชั้นสูง รวมถึงอยากให้ปรับรูปแบบโครงการให้ครูที่จบออกมาสามารถสอนได้รอบด้าน เพราะสภาพการสอนจริงของครูอาชีวะในหนึ่งสาขาต้องสอนให้ได้หลายวิชา อาทิ สอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาก่อสร้าง ก็จะต้องดูว่าปวส.สาขาก่อสร้างจะต้องเรียนวิชาใดบ้าง ซึ่งครูที่สอนสาขานี้ควรจะสอนได้หลายวิชาไม่ใช่วิชาใดวิชาหนึ่งเท่านั้น” นายชัยพฤกษ์ กล่าว
นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เห็นด้วยที่กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) จะเดินหน้าโครงการผลิตครูมืออาชีพ เพราะขณะนี้ สอศ.ได้กันอัตราเกษียณไว้สำหรับครูที่จบจากโครงการดังกล่าวแล้วจำนวน 140 อัตรา เพราะที่ผ่านมาพบว่า ครูที่มาจากโครงการนี้ล้วนเป็นครูที่มีคุณภาพ เป็นคนเก่ง มีความสามารถ ทั้งด้านวิชาการ ด้านเทคนิคการสอน รวมทั้งวางตัวที่เป็นที่ยอมรับของเพื่อนครูในโรงเรียน ทั้งยังผ่านกระบวนการคัดเลือก และมีกิจกรรมพัฒนาคุณลักษณะต่างๆ อย่างต่อเนื่อง จึงคิดว่าหากได้ครูเหล่านี้มาสอนในสถานศึกษาสังกัด สอศ.จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนในทิศทางที่ดี
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้อยู่ในช่วงของการเปลี่ยนถ่ายคน เพราะจะมีครูเกษียณจำนวนมาก ดังนั้นจึงห่วงว่าจะมีช่องหว่างระหว่างครูรุ่นใหม่กับครูรุ่นเก่า โดยเฉพาะช่องว่างในส่วนของประสบการณ์ในงานอาชีพ และประสบการณ์ในเรื่องของการสอน ซึ่งถ้าเด็กกลุ่มใหม่เข้าไปและมีอะไรใหม่ๆ ที่จะไปเชื่อมประสบการณ์กับรุ่นพี่ที่กำลังจะเกษียณก็จะทำให้สอศ.ไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดช่องว่างมาก และเท่าที่ดูเด็กที่มาจากโครงการนี้ก็ค่อนข้างมีความคิดที่เปิดกว้างที่พอสมควร
“หาก ศธ.เดินหน้าโครงการผลิตครูมืออาชีพ ในส่วนของ สอศ.มีความต้องการครูในสายอาชีพทุกสาขา โดยเฉพาะสาขาทางด้านเทคโนโลยีชั้นสูง รวมถึงอยากให้ปรับรูปแบบโครงการให้ครูที่จบออกมาสามารถสอนได้รอบด้าน เพราะสภาพการสอนจริงของครูอาชีวะในหนึ่งสาขาต้องสอนให้ได้หลายวิชา อาทิ สอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาก่อสร้าง ก็จะต้องดูว่าปวส.สาขาก่อสร้างจะต้องเรียนวิชาใดบ้าง ซึ่งครูที่สอนสาขานี้ควรจะสอนได้หลายวิชาไม่ใช่วิชาใดวิชาหนึ่งเท่านั้น” นายชัยพฤกษ์ กล่าว