สช.ร่อน จม.แจ้ง ร.ร.อาชีวะเอกชนปรับแผนรับ นร.ปี 57 เพิ่มยอดอีก 4 หมื่น รองรับนโยบายปรับสัดส่วนผู้เรียน เร่งสำรวจ ร.ร.ขยายจำนวนรับได้เท่าใด
นายบัณฑิตย์ ศรีพุทธางกูร เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (เลขาธิการ กช.) เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนสายอาชีวศึกษาต่อสายสามัญ เป็น 51:49 ในปีการศึกษา 2558 ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) จึงปรับแผนการรับนักเรียนของโรงเรียนอาชีวศึกษาในสังกัด สช.ใหม่ โดยแจ้งไปยังโรงเรียนในสังกัด ซึ่งมีจำนวน 441 แห่ง ว่า ในส่วนของโรงเรียนอาชีวศึกษาสังกัด สช.จะต้องเพิ่มเด็กอีก 40,000 คน ในปีการศึกษา 2557 จากปัจจุบันที่ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 1 รับเด็กประมาณ 93,000 คน รวมประมาณ 133,000 คน
ทั้งนี้ เบื้องต้นได้ให้โรงเรียนสำรวจว่ามีสถานศึกษาใดสามารถขยายจำนวนการรับได้ ซึ่งจะต้องวางแผนการรับนักเรียน โดยดูว่าสาขาใดเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน เพื่อสอนในสาขานั้น และรณรงค์ให้เด็กและผู้ปกครองเข้าใจ รวมถึงจะต้องเปิดรับครูอาจารย์ และจัดซื้ออุปกรณ์ต่างๆ เพิ่มเติมด้วย
เลขาธิการ กช.กล่าวต่อไปว่า สำหรับหลักสูตรการเรียนการสอนนั้น ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้ประกาศใช้หลักสูตรระดับ ปวช. พ.ศ.2556 แล้ว ซึ่ง สช.ก็จะนำหลักสูตรดังกล่าวมาใช้กับสถานศึกษาในสังกัด สช. ด้วยเช่นกัน โดยก่อนจบการศึกษาระดับ ปวช.เด็กทุกคนจะต้องผ่านการประเมินทักษะอาชีพ ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในหลักสูตรใหม่ หากเด็กคนใดไม่ผ่านก็จะไม่จบการศึกษา ขณะที่การจัดการเรียนการสอนก็จะเน้นระบบทวิภาคีเช่นกัน อย่างไรก็ตามนโยบายการเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนดังกล่าว จะไม่ส่งผลกระทบต่อโรงเรียนเอกชนสายสามัญ เนื่องจากโรงเรียนเอกชนที่เปิดชั้น ม.ปลาย มีเพียงไม่กี่แห่ง ส่วนใหญ่จะเป็นโรงเรียนดัง และรับเด็กเต็มตามจำนวนไปก่อนแล้ว
นายบัณฑิตย์ ศรีพุทธางกูร เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (เลขาธิการ กช.) เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนสายอาชีวศึกษาต่อสายสามัญ เป็น 51:49 ในปีการศึกษา 2558 ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) จึงปรับแผนการรับนักเรียนของโรงเรียนอาชีวศึกษาในสังกัด สช.ใหม่ โดยแจ้งไปยังโรงเรียนในสังกัด ซึ่งมีจำนวน 441 แห่ง ว่า ในส่วนของโรงเรียนอาชีวศึกษาสังกัด สช.จะต้องเพิ่มเด็กอีก 40,000 คน ในปีการศึกษา 2557 จากปัจจุบันที่ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 1 รับเด็กประมาณ 93,000 คน รวมประมาณ 133,000 คน
ทั้งนี้ เบื้องต้นได้ให้โรงเรียนสำรวจว่ามีสถานศึกษาใดสามารถขยายจำนวนการรับได้ ซึ่งจะต้องวางแผนการรับนักเรียน โดยดูว่าสาขาใดเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน เพื่อสอนในสาขานั้น และรณรงค์ให้เด็กและผู้ปกครองเข้าใจ รวมถึงจะต้องเปิดรับครูอาจารย์ และจัดซื้ออุปกรณ์ต่างๆ เพิ่มเติมด้วย
เลขาธิการ กช.กล่าวต่อไปว่า สำหรับหลักสูตรการเรียนการสอนนั้น ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้ประกาศใช้หลักสูตรระดับ ปวช. พ.ศ.2556 แล้ว ซึ่ง สช.ก็จะนำหลักสูตรดังกล่าวมาใช้กับสถานศึกษาในสังกัด สช. ด้วยเช่นกัน โดยก่อนจบการศึกษาระดับ ปวช.เด็กทุกคนจะต้องผ่านการประเมินทักษะอาชีพ ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในหลักสูตรใหม่ หากเด็กคนใดไม่ผ่านก็จะไม่จบการศึกษา ขณะที่การจัดการเรียนการสอนก็จะเน้นระบบทวิภาคีเช่นกัน อย่างไรก็ตามนโยบายการเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนดังกล่าว จะไม่ส่งผลกระทบต่อโรงเรียนเอกชนสายสามัญ เนื่องจากโรงเรียนเอกชนที่เปิดชั้น ม.ปลาย มีเพียงไม่กี่แห่ง ส่วนใหญ่จะเป็นโรงเรียนดัง และรับเด็กเต็มตามจำนวนไปก่อนแล้ว