“โยคะ” นับเป็น “ศาสตร์” อีกหนึ่งแขนงของการ “ดูแลสุขภาพ” ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในวงกว้าง เพราะสามารถเล่นได้กับ “ทุกเพศ-ทุกวัย” เป็นศาสตร์การสร้างความสมดุลของ ร่างกาย-จิตใจ-จิตวิญญาณรวมให้เป็น หนึ่งเดียว ภายใต้การควบคุมของจิตใจ ให้เกิดความสมดุลของพลัง ด้านบวกและ ด้านลบช่วยทำให้มีสติ”และอยู่บนพื้นฐานของความจริงของชีวิต
เมื่อเร็วๆ นี้ “โครงการสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กรนิติบัญญัติ” ภายใต้การสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ “ชมรมโยคะรัฐสภา” ได้จัดสัมมนาการเล่นโยคะเพื่อสุขภาพแบบเชิงลึก ภายใต้กิจกรรม “The Best Health And Fitness” โดยนำสมาชิกของชมรมโยคะรัฐสภา 30 คน เดินทางไปสัมมนานอกสถานที่ ที่ รร.รอยัลฮิลล์ กอล์ฟ รีสอร์ท แอนด์สปา จังหวัดนครนายก หลังดำเนินกิจกรรมภายในรัฐสภามาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 แล้ว โดยสมาชิกชมรมเป็น ข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐสภา และสื่อมวลชนประจำรัฐสภา ซึ่งกิจกรรมประสบผลสำเร็จในการผลักดันให้สามาชิกหันมาสนใจสุขภาพที่ดีของตัวเอง และมีสมาชิกจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี
ว่าที่ ร.ต.กฤษดา สุรำไพ วิทยากร และครูสอนโยคะประจำชมรม บอกว่าวัตถุประสงค์การพามาออกกำลังกายนอกสถานที่ เพื่ออยากให้สมาชิกทุกคนได้สัมผัสกับการดูแลรักษาสุขภาพอย่างแท้จริง เพราะนอกจากได้มีการสัมมนาข้อมูลด้านการออกกำลังกายในเชิงลึกแล้ว ยังได้มีการออกกำลังกายแบบ “โยคะโฟรว์” และแบบ “โยคะสุริยะนมัสการรับอรุณตั้งแต่ 6 โมงเช้า” เพื่อสัมผัสกับบรรยากาศความบริสุทธิ์จากธรรมชาติอย่างแท้จริง กระตุ้นให้ทุกคนได้เห็นถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญต่อมนุษย์มากที่สุด ซึ่งทำให้ผู้เข้าร่วมสัมมนามีความรู้ความเข้าใจในการดูแลและใส่ใจสุขภาพมากขึ้น อยากให้มีการจัดการสัมมนาในลักษณะอย่างนี้บ่อยขึ้น อย่างน้อยอาจปีละ 2 ครั้ง หรือสัมมนากลุ่มย่อย เพื่อให้ตระหนักถึงการออกกำลังกายมากขึ้น
กิจกรรมครั้งนี้
ว่าที่ ร.ต.กฤษดา ได้บรรยายให้ความรู้ความเข้าใจว่าการออกกำลังอย่างไรถึงจะเหมาะกับวัย และต้องใช้เวลาเท่าไหร่ถึงจะเรียกว่าเพียงพอ และได้ผล พร้อมเปิดโอกาสให้ทุกคนได้เล่าบอกเล่ามีวิธีการออกกำลังกายอย่างไรกันบ้าง ส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่าการเล่น “โยคะ” ที่รัฐสภาทุกวันจันทร์ พฤหัสบดี ศุกร์ เพียงพอแล้ว
น.ส.นุจรี ศรีดาวเดือน พยาบาลประจำศูนย์ Royal Life Anti-aging centra @ BHN ได้ร่วมบรรยายในหัวข้อเวชศาสตร์ชะลอวัยกับนวัตกรรมการดูแลสุขภาพเชิงรุก (Anti-aging medicine) โดยเน้นการสร้างความเข้าใจในการดูแลร่างกาย การดูแลตัวเองจากภายใน การรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ พร้อมต้องการออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย การพักผ่อนให้เต็มที่ สิ่งสำคัญคือต้องตรวจสุขภาพประจำปีว่ามีอะไรที่เราขาดเพื่อเติมเต็มให้กับร่างกาย เพราะฉะนั้นอาหารเสริม ผิวเนียน ผิวขาวใส วิตามินต่างๆแทบจะไม่จำเป็นเลย
ขณะที่ น.ส.สุภาวดี สุทธิ วิทยาการชำนาญพิเศษ สภาผู้แทนราษฎร อายุ 59 ปี บอกว่า ก่อนที่จะมาเล่นโยคะที่รัฐสภา มีอาการปวดหลัง และปวดไหล่มาก โดยเฉพาะตรงบริเวณหัวเข่าเวลาเดินจะมีเสียงดังก๊อกแก๊ก เวลาเดินขึ้นสะพานลอยจะต้องพักครึ่งทางตลอด จากนั้นก็ไปรักษากับแพทย์ที่ รพ.พระมงกุฎฯ และที่ศูนย์สิรินธร กระทรวงสาธารณสุข ให้ใส่เข็มขัดบล็อกหลัง และต้องไปทำกายภาพบำบัดที่ศูนย์บำบัดร่างกายที่ 904 ตลอด แต่เมื่อโครงการสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กรนิติบัญญัติ ภายใต้การสนับสนุนของ สสส.เปิดช่องทางให้ตัวเองเล่นโยคะที่รัฐสภาได้ 2 ปีมาแล้ว อาการเหล่านี้ก็หายไป ทุกวันนนี้ไม่เคยไปหาหมอ และไม่ต้องไปทำกายภาพบำบัดอีกเลย ที่บริเวณหัวเข่าดีขึ้นไม่มีเสียงดัง หรือเดินขึ้นสะพานลอยสบายๆ มาก อาการปวดหลัง ปวดไหล่หายไป ต้องขอบคุณ สสส.มาก
ด้านนางสุวรรณา มารีนี นักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร บอกว่า ความจริงเล่นโยคะที่อื่นมาระยะหนึ่งแล้ว แต่เมื่อ สสส.เปิดที่รัฐสภาก็มาเล่น เพราะสะดวกในการเดินทาง หลังเลิกงานก็เล่นทันที รวมแล้วเล่นโยคะมาประมาณ 5 ปี เมื่อก่อนยอมรับว่า ก่อนที่จะเป็นประจำเดือนทุกครั้งจะปวดท้อง และปวดเข้าไปถึงกระดูก ปวดมากถึงขนาดต้องใช้มือทุบขาตัวเอง แต่พอมาเล่นโยคะรู้สึกดีขึ้นมาก อาการเหล่านี้ก็จะค่อยหายไป เพราะฉะนั้นตอนนี้เวลาเป็นประจำเดือนไม่ปวดท้อง หรือปวดกระดูกอีกเลย นอกจากนี้ยังชวนสามีซึ่งเป็นชาวอิตาเลียน มาเล่นด้วยเนื่องจากตอนเด็กๆเขาผ่าตัดที่ขา เวลาจะนั่งขัดตะหมาดทำไม่ได้ ขาจะแข็งมาก แต่หลังจากเล่นโยคะ 2 ปีตอนนี้ก็สามารถนั่งขัดตะมาดได้เยอะขึ้น และกระดูกสามารถยืดหยุ่น และทำได้มากขึ้นด้วย
การฝึกท่า “โยคะ” เป็นการฝึกสร้างความสมดุลของ “ร่างกาย-จิตใจ-จิตวิญญาณ” ซึ่งจะประกอบไปด้วยส่วนที่สำคัญ 3 อย่าง ได้แก่ “การออกกำลังกาย” หรือ “การฝึกท่าโยคะ” “การหายใจ” หรือ “ลมปราณ” และ “การทำสมาธิ”
การฝึกท่า “โยคะ” เป็นการกระตุ้นอวัยวะและต่อมต่างๆ ในร่างกายให้ทำงานดีขึ้น “การหายใจ” เป็นแหล่งก่อให้เกิดพลังของชีวิต “การทำสมาธิ” การควบคุมการหายใจจะทำให้จิตใจดีขึ้น การฝึกทั้ง 3 อย่างจะทำให้ผู้ฝึกมีสุขภาพที่แข็งแรง จิตใจผ่องใสและเข้มแข็ง
“โยคะ” จึงเป็นการค้นหา “ความสุขที่แท้จริง” ความสุขที่ไม่ใช่เกิดจาก “ความพอใจ” หรือ “ความรื่นรมย์” ทำให้ร่างกายมีความสมดุลของ “ระบบประสาท” และรู้ความหมายแท้จริงของชีวิต จิตใจ ไม่หวั่นไหวตามสิ่งแวดล้อม ไม่เสียใจ ไม่ดีใจเกินไป เป็นการฝึกจนเกิดปัญญา
ประโยชน์จากการฝึก “โยคะ” จะช่วยให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย ช่วยผ่อนคลายความเครียดและอาการปวดเมื่อย ช่วยทำให้รูปร่างและทรวดทรงดีขึ้น ทำให้การเคลื่อนไหวของข้อดีขึ้น ทำให้มีสมาธิในการทำงานดีขึ้น ทำให้มีสติดีขึ้นรู้ว่าเรากำลังทำอะไร เพื่ออะไร ทำให้ใจเย็นลง และช่วยลดอาการปวดประจำเดือน ฯลฯ
เมื่อเร็วๆ นี้ “โครงการสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กรนิติบัญญัติ” ภายใต้การสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ “ชมรมโยคะรัฐสภา” ได้จัดสัมมนาการเล่นโยคะเพื่อสุขภาพแบบเชิงลึก ภายใต้กิจกรรม “The Best Health And Fitness” โดยนำสมาชิกของชมรมโยคะรัฐสภา 30 คน เดินทางไปสัมมนานอกสถานที่ ที่ รร.รอยัลฮิลล์ กอล์ฟ รีสอร์ท แอนด์สปา จังหวัดนครนายก หลังดำเนินกิจกรรมภายในรัฐสภามาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 แล้ว โดยสมาชิกชมรมเป็น ข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐสภา และสื่อมวลชนประจำรัฐสภา ซึ่งกิจกรรมประสบผลสำเร็จในการผลักดันให้สามาชิกหันมาสนใจสุขภาพที่ดีของตัวเอง และมีสมาชิกจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี
ว่าที่ ร.ต.กฤษดา สุรำไพ วิทยากร และครูสอนโยคะประจำชมรม บอกว่าวัตถุประสงค์การพามาออกกำลังกายนอกสถานที่ เพื่ออยากให้สมาชิกทุกคนได้สัมผัสกับการดูแลรักษาสุขภาพอย่างแท้จริง เพราะนอกจากได้มีการสัมมนาข้อมูลด้านการออกกำลังกายในเชิงลึกแล้ว ยังได้มีการออกกำลังกายแบบ “โยคะโฟรว์” และแบบ “โยคะสุริยะนมัสการรับอรุณตั้งแต่ 6 โมงเช้า” เพื่อสัมผัสกับบรรยากาศความบริสุทธิ์จากธรรมชาติอย่างแท้จริง กระตุ้นให้ทุกคนได้เห็นถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญต่อมนุษย์มากที่สุด ซึ่งทำให้ผู้เข้าร่วมสัมมนามีความรู้ความเข้าใจในการดูแลและใส่ใจสุขภาพมากขึ้น อยากให้มีการจัดการสัมมนาในลักษณะอย่างนี้บ่อยขึ้น อย่างน้อยอาจปีละ 2 ครั้ง หรือสัมมนากลุ่มย่อย เพื่อให้ตระหนักถึงการออกกำลังกายมากขึ้น
กิจกรรมครั้งนี้
ว่าที่ ร.ต.กฤษดา ได้บรรยายให้ความรู้ความเข้าใจว่าการออกกำลังอย่างไรถึงจะเหมาะกับวัย และต้องใช้เวลาเท่าไหร่ถึงจะเรียกว่าเพียงพอ และได้ผล พร้อมเปิดโอกาสให้ทุกคนได้เล่าบอกเล่ามีวิธีการออกกำลังกายอย่างไรกันบ้าง ส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่าการเล่น “โยคะ” ที่รัฐสภาทุกวันจันทร์ พฤหัสบดี ศุกร์ เพียงพอแล้ว
น.ส.นุจรี ศรีดาวเดือน พยาบาลประจำศูนย์ Royal Life Anti-aging centra @ BHN ได้ร่วมบรรยายในหัวข้อเวชศาสตร์ชะลอวัยกับนวัตกรรมการดูแลสุขภาพเชิงรุก (Anti-aging medicine) โดยเน้นการสร้างความเข้าใจในการดูแลร่างกาย การดูแลตัวเองจากภายใน การรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ พร้อมต้องการออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย การพักผ่อนให้เต็มที่ สิ่งสำคัญคือต้องตรวจสุขภาพประจำปีว่ามีอะไรที่เราขาดเพื่อเติมเต็มให้กับร่างกาย เพราะฉะนั้นอาหารเสริม ผิวเนียน ผิวขาวใส วิตามินต่างๆแทบจะไม่จำเป็นเลย
ขณะที่ น.ส.สุภาวดี สุทธิ วิทยาการชำนาญพิเศษ สภาผู้แทนราษฎร อายุ 59 ปี บอกว่า ก่อนที่จะมาเล่นโยคะที่รัฐสภา มีอาการปวดหลัง และปวดไหล่มาก โดยเฉพาะตรงบริเวณหัวเข่าเวลาเดินจะมีเสียงดังก๊อกแก๊ก เวลาเดินขึ้นสะพานลอยจะต้องพักครึ่งทางตลอด จากนั้นก็ไปรักษากับแพทย์ที่ รพ.พระมงกุฎฯ และที่ศูนย์สิรินธร กระทรวงสาธารณสุข ให้ใส่เข็มขัดบล็อกหลัง และต้องไปทำกายภาพบำบัดที่ศูนย์บำบัดร่างกายที่ 904 ตลอด แต่เมื่อโครงการสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กรนิติบัญญัติ ภายใต้การสนับสนุนของ สสส.เปิดช่องทางให้ตัวเองเล่นโยคะที่รัฐสภาได้ 2 ปีมาแล้ว อาการเหล่านี้ก็หายไป ทุกวันนนี้ไม่เคยไปหาหมอ และไม่ต้องไปทำกายภาพบำบัดอีกเลย ที่บริเวณหัวเข่าดีขึ้นไม่มีเสียงดัง หรือเดินขึ้นสะพานลอยสบายๆ มาก อาการปวดหลัง ปวดไหล่หายไป ต้องขอบคุณ สสส.มาก
ด้านนางสุวรรณา มารีนี นักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร บอกว่า ความจริงเล่นโยคะที่อื่นมาระยะหนึ่งแล้ว แต่เมื่อ สสส.เปิดที่รัฐสภาก็มาเล่น เพราะสะดวกในการเดินทาง หลังเลิกงานก็เล่นทันที รวมแล้วเล่นโยคะมาประมาณ 5 ปี เมื่อก่อนยอมรับว่า ก่อนที่จะเป็นประจำเดือนทุกครั้งจะปวดท้อง และปวดเข้าไปถึงกระดูก ปวดมากถึงขนาดต้องใช้มือทุบขาตัวเอง แต่พอมาเล่นโยคะรู้สึกดีขึ้นมาก อาการเหล่านี้ก็จะค่อยหายไป เพราะฉะนั้นตอนนี้เวลาเป็นประจำเดือนไม่ปวดท้อง หรือปวดกระดูกอีกเลย นอกจากนี้ยังชวนสามีซึ่งเป็นชาวอิตาเลียน มาเล่นด้วยเนื่องจากตอนเด็กๆเขาผ่าตัดที่ขา เวลาจะนั่งขัดตะหมาดทำไม่ได้ ขาจะแข็งมาก แต่หลังจากเล่นโยคะ 2 ปีตอนนี้ก็สามารถนั่งขัดตะมาดได้เยอะขึ้น และกระดูกสามารถยืดหยุ่น และทำได้มากขึ้นด้วย
การฝึกท่า “โยคะ” เป็นการฝึกสร้างความสมดุลของ “ร่างกาย-จิตใจ-จิตวิญญาณ” ซึ่งจะประกอบไปด้วยส่วนที่สำคัญ 3 อย่าง ได้แก่ “การออกกำลังกาย” หรือ “การฝึกท่าโยคะ” “การหายใจ” หรือ “ลมปราณ” และ “การทำสมาธิ”
การฝึกท่า “โยคะ” เป็นการกระตุ้นอวัยวะและต่อมต่างๆ ในร่างกายให้ทำงานดีขึ้น “การหายใจ” เป็นแหล่งก่อให้เกิดพลังของชีวิต “การทำสมาธิ” การควบคุมการหายใจจะทำให้จิตใจดีขึ้น การฝึกทั้ง 3 อย่างจะทำให้ผู้ฝึกมีสุขภาพที่แข็งแรง จิตใจผ่องใสและเข้มแข็ง
“โยคะ” จึงเป็นการค้นหา “ความสุขที่แท้จริง” ความสุขที่ไม่ใช่เกิดจาก “ความพอใจ” หรือ “ความรื่นรมย์” ทำให้ร่างกายมีความสมดุลของ “ระบบประสาท” และรู้ความหมายแท้จริงของชีวิต จิตใจ ไม่หวั่นไหวตามสิ่งแวดล้อม ไม่เสียใจ ไม่ดีใจเกินไป เป็นการฝึกจนเกิดปัญญา
ประโยชน์จากการฝึก “โยคะ” จะช่วยให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย ช่วยผ่อนคลายความเครียดและอาการปวดเมื่อย ช่วยทำให้รูปร่างและทรวดทรงดีขึ้น ทำให้การเคลื่อนไหวของข้อดีขึ้น ทำให้มีสมาธิในการทำงานดีขึ้น ทำให้มีสติดีขึ้นรู้ว่าเรากำลังทำอะไร เพื่ออะไร ทำให้ใจเย็นลง และช่วยลดอาการปวดประจำเดือน ฯลฯ