รพ.พระมงกุฏฯ แนะหญิงท้องออกกำลังกายเบาๆ ช่วยลดอาการปวดหลัง ขาบวม เบาหวานขณะตั้งครรภ์ กล้ามเนื้อแข็งแรงช่วยคลอดง่าย แต่ต้องผ่านเกณฑ์ประเมินก่อน ย้ำเลี่ยงกีฬาที่มีการสะบัด เหวี่ยง ระวังเรื่องการทรงตัว และไม่ควรออกกำลังหนักเกินไป
พ.อ.หญิง ผศ.ปริศนา พานิชกุล กองสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า เปิดเผยถึงเรื่อง การออกกำลังกายในสตรีตั้งครรภ์ ในชุดโครงการ “รวมพลัง ขยับกาย สร้างสังคมไทย ไร้พุง” เครือข่ายคนไทยไร้พุง ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ว่า ภาวะตั้งครรภ์ อาจทำให้เกิดความเหนื่อยอ่อนเพลียได้มากขึ้น จากน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ซึ่งพบว่าการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ มีส่วนช่วยให้เกิดความกระฉับกระเฉงและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยจะลดอาการปวดหลัง ท้องผูก ท้องอืด และขาบวม อาจช่วยป้องกันการเกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และอาจช่วยในการรักษากรณีเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เพิ่มพลังงาน เสริมความสมบูรณ์ ความแข็งแรง และความคงทนของกล้ามเนื้อ อารมณ์แจ่มใส และเพิ่มความสามารถในการเตรียมตัวคลอด
“ก่อนเริ่มออกกำลังกาย สตรีตั้งครรภ์ควรได้รับการประเมินก่อนว่า มีข้อห้ามของการออกกำลังกายขณะตั้งครรภ์หรือไม่ เช่น มีเลือดออกทางช่องคลอด เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ถุงน้ำคร่ำแตก มีรกเกาะต่ำ เป็นการตั้งครรภ์แฝด หรือหากมีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนว่าจะสามารถออกกำลังกายได้หรือไม่ หรือการออกกำลังชนิดใดที่เหมาะสม และหากระหว่างออกกำลังเช่น หายใจติดขัด หายใจไม่ทัน เจ็บหน้าอก มีมดลูกหดรัดตัว มีน้ำหรือเลือดออกจากช่องคลอด ปวดศีรษะ หน้ามืด หรือรู้สึกทารกในครรภ์ดิ้นน้อยลง ควรหยุดออกกำลังกายทันที และพบสูตินรีแพทย์” พ.อ.หญิง ผศ.ปริศนา กล่าว
พ.อ.หญิง ผศ.ปริศนา กล่าวว่า วิธีออกกำลังกายของหญิงตั้งครรภ์นั้น ช่วง 3 เดือนแรกควรเลือกออกกำลังกายเบาๆ ทำอย่างช้าๆ โดยเฉพาะคนที่ไม่เคยออกกำลังกายสม่ำเสมอ โดยสามารถทำได้ต่อเนื่องวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3 วัน และเริ่มลดการออกกำลังกายลงใน 3 เดือนสุดท้ายก่อนคลอด ทั้งนี้ ข้อควรระวังในการออกกำลังช่วงตั้งครรภ์ คือ 1.เลี่ยงกีฬาที่มีการสะบัด เหวี่ยง กระแทก กระโดด เพราะเอ็นยึดข้อจะคลายตัวมากกว่าปกติ จึงเสี่ยงบาดเจ็บได้ 2.ระวังเรื่องการทรงตัว เนื่องจากสมดุลของร่างกายเปลี่ยนแปลง และ 3.ไม่ควรออกกำลังหนักเกินไป เพราะร่างกายทำงานหนักอยู่แล้วในการเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ฉะนั้น จึงควรออกกำลังเบาๆ ช้าๆ เช่นการเดิน ออกกำลังกายในน้ำ โดยต้องเตรียมกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังก่อนเสมอ และออกกำลังกายในที่อากาศถ่ายเท พื้นเรียบ สวมใส่เสื้อผ้าสบาย รองเท้ากระชับ เสื้อชั้นในกระชับพอดี ดื่มน้ำมากๆป้องกันอุณหภูมิร่างกายสูงและขาดน้ำ และไม่ควรออกกำลังหลังทานอาหารเสร็จ
พ.อ.หญิง ผศ.ปริศนา พานิชกุล กองสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า เปิดเผยถึงเรื่อง การออกกำลังกายในสตรีตั้งครรภ์ ในชุดโครงการ “รวมพลัง ขยับกาย สร้างสังคมไทย ไร้พุง” เครือข่ายคนไทยไร้พุง ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ว่า ภาวะตั้งครรภ์ อาจทำให้เกิดความเหนื่อยอ่อนเพลียได้มากขึ้น จากน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ซึ่งพบว่าการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ มีส่วนช่วยให้เกิดความกระฉับกระเฉงและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยจะลดอาการปวดหลัง ท้องผูก ท้องอืด และขาบวม อาจช่วยป้องกันการเกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และอาจช่วยในการรักษากรณีเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เพิ่มพลังงาน เสริมความสมบูรณ์ ความแข็งแรง และความคงทนของกล้ามเนื้อ อารมณ์แจ่มใส และเพิ่มความสามารถในการเตรียมตัวคลอด
“ก่อนเริ่มออกกำลังกาย สตรีตั้งครรภ์ควรได้รับการประเมินก่อนว่า มีข้อห้ามของการออกกำลังกายขณะตั้งครรภ์หรือไม่ เช่น มีเลือดออกทางช่องคลอด เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ถุงน้ำคร่ำแตก มีรกเกาะต่ำ เป็นการตั้งครรภ์แฝด หรือหากมีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนว่าจะสามารถออกกำลังกายได้หรือไม่ หรือการออกกำลังชนิดใดที่เหมาะสม และหากระหว่างออกกำลังเช่น หายใจติดขัด หายใจไม่ทัน เจ็บหน้าอก มีมดลูกหดรัดตัว มีน้ำหรือเลือดออกจากช่องคลอด ปวดศีรษะ หน้ามืด หรือรู้สึกทารกในครรภ์ดิ้นน้อยลง ควรหยุดออกกำลังกายทันที และพบสูตินรีแพทย์” พ.อ.หญิง ผศ.ปริศนา กล่าว
พ.อ.หญิง ผศ.ปริศนา กล่าวว่า วิธีออกกำลังกายของหญิงตั้งครรภ์นั้น ช่วง 3 เดือนแรกควรเลือกออกกำลังกายเบาๆ ทำอย่างช้าๆ โดยเฉพาะคนที่ไม่เคยออกกำลังกายสม่ำเสมอ โดยสามารถทำได้ต่อเนื่องวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3 วัน และเริ่มลดการออกกำลังกายลงใน 3 เดือนสุดท้ายก่อนคลอด ทั้งนี้ ข้อควรระวังในการออกกำลังช่วงตั้งครรภ์ คือ 1.เลี่ยงกีฬาที่มีการสะบัด เหวี่ยง กระแทก กระโดด เพราะเอ็นยึดข้อจะคลายตัวมากกว่าปกติ จึงเสี่ยงบาดเจ็บได้ 2.ระวังเรื่องการทรงตัว เนื่องจากสมดุลของร่างกายเปลี่ยนแปลง และ 3.ไม่ควรออกกำลังหนักเกินไป เพราะร่างกายทำงานหนักอยู่แล้วในการเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ฉะนั้น จึงควรออกกำลังเบาๆ ช้าๆ เช่นการเดิน ออกกำลังกายในน้ำ โดยต้องเตรียมกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังก่อนเสมอ และออกกำลังกายในที่อากาศถ่ายเท พื้นเรียบ สวมใส่เสื้อผ้าสบาย รองเท้ากระชับ เสื้อชั้นในกระชับพอดี ดื่มน้ำมากๆป้องกันอุณหภูมิร่างกายสูงและขาดน้ำ และไม่ควรออกกำลังหลังทานอาหารเสร็จ