อย.บุกทลายแหล่งผลิต/ขายยาสัตว์ผิดกฎหมาย พบยาสลบ ยาฆ่าเชื้อ ยาฆ่าพยาธิ เพียบ ของกลางรวมกว่า 5 ล้านบาท ชี้ยาบางชนิดเป็นอันตรายต่อสัตว์ ทั้งระบบหัวใจ เลือด มดลูกสัตว์ อาจถึงขั้นตาย เบื้องต้นแจ้ง 3 ข้อหาใหญ่
วันนี้ (24 ธ.ค.)นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แถลงข่าวบุกตรวจแหล่งผลิต/จำหน่ายยาสัตว์และวัตถุอันตรายที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน ย่านมีนบุรี ว่า อย. ได้รับแจ้งจากกรมปศุสัตว์ให้ตรวจสอบสถานที่ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์กำจัดเห็บหมัดที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน ดังนั้น เมื่อวันที่ 20 ธ.ค.จึงได้ประสานไปยังตำรวจ บก.ปคบ.นำหมายค้นของศาลเข้าตรวจสอบ บริษัท วรรณกิจ จำกัด ตั้งอยู่ที่ 56/50 หมู่บ้านธีรวรรณ ซ.พระยาสุเรนทร์ 4 ถ.รามอินทรา 109 กรุงเทพฯ ซึ่งจากการตรวจสอบเป็นสถานที่ผลิตยาโดยไม่ได้รับอนุญาต และผลิต/ขายยาสัตว์ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา รวมทั้งมีการผลิตและครอบครองเพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย แชมพูกำจัดเห็บหมัด และผลิตภัณฑ์หยดหลังกำจัดเห็บหมัด ที่ต้องขึ้นทะเบียนแต่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน
นพ.บุญชัย กล่าวอีกว่า จากการตรวจสอบพบตัวยาสำคัญ ได้แก่ กลุ่มยาสลบและยากันชักสุนัขและแมว ยาฆ่าเชื้อและยาฆ่าพยาธิ ซึ่งใช้รักษาโรคสัตว์ต่างๆ เช่น ท้องเสีย บิด ถ่ายพยาธิ เป็นต้น อาทิ ยาไอเวอร์เมคติน (Ivermectin) ยาซัลฟาเมทาโซน (Sulfamethazole) ยาเอ็นโรฟล็อกซาซิน (Enrofloxacin) และยาปิเปอราซิน ซิเตรท (Piperazin citrate) กลุ่มยาฆ่าเชื้อทางผิวหนัง เช่น ยาโพวิโดน ไอโอดีน (Povidone Iodine) กลุ่มยาคุมสำหรับสัตว์ เช่น ยาเมทดรอกซีโปรเจสเตอโรน (Medroxyprogesterone acetate) รวมทั้งพบผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายกำจัดเห็บหมัด ได้แก่ แป้งกำจัดเห็บ-หมัด ยี่ห้อ BRAVE แชมพูกำจัดเห็บ-หมัด ยี่ห้อ BRAVE และผลิตภัณฑ์หยดหลังกำจัดเห็บหมัด ฯลฯ ซึ่งอาจจัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 หรือ 3โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะต้องขอขึ้นทะเบียนและแจ้งการดำเนินการหรือขออนุญาต
“อย.ได้ยึดของกลางทั้งหมดประมาณ 5 ล้านบาท และนำส่งตรวจวิเคราะห์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อหาสารต้องห้ามและตัวยาสำคัญต่อไป นอกจากนี้ ยังยึดสติกเกอร์ ฉลากยา และวัตถุอันตราย ขวดและกล่องบรรจุผลิตภัณฑ์ แผ่นพับ ใบแทรกเอกสารกำกับยา ซึ่งยังไม่ได้ขออนุญาตการโฆษณาจาก อย.จำนวนมาก อีกทั้งยังพบวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ไดอาซีแพม (Digzepam) ซึ่งจัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 โดยมีไว้เพื่อขายอีกด้วยส่วนของการดำเนินคดี” เลขาธิการ อย.กล่าว
นพ.บุญชัย กล่าวด้วยว่า เบื้องต้นได้แจ้งข้อหา ดังนี้ ข้อหาเกี่ยวกับยาสัตว์ 1.ผลิตและขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท 2.ผลิตหรือขายยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 3.โฆษณาขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท ข้อหาเกี่ยวกับวัตถุอันตรายคือ 1.กรณีครอบครองวัตถุอันตรายที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนให้ถูกต้อง หากเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ผู้จำหน่ายจะถูก ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากพบว่าเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 2.ผลิตวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 โดยมิได้แจ้งการดำเนินการผลิต มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และข้อหาเกี่ยวกับวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท คือ กรณีพบวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ไดอาซีแพม ซึ่งจัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือ ประเภท 4 โดยมีไว้เพื่อขาย ฝ่าฝืนมาตรา 16 บทลงโทษตามมาตรา 90 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับ ไม่เกิน 100,000 บาท
“หากมีการใช้ยาสำหรับสัตว์และวัตถุอันตรายอย่างไม่ถูกต้อง เช่น การให้ยาในปริมาณที่สูงเป็นระยะเวลานาน โดยไม่ได้ปรึกษาสัตวแพทย์ อาจทำให้สัตว์ได้รับอันตราย อย่างยารักษาโรคพยาธิหัวใจในสัตว์ หากมีการใช้ในปริมาณสูง จะมีอันตรายต่อสุนัขบางสายพันธุ์ทำให้ได้รับอันตรายถึงชีวิต ยาคุมสำหรับสัตว์ หากใช้ระยะเวลานาน จะมีผลทำให้มดลูกในสัตว์อักเสบ และยาฆ่าเชื้อ เพื่อรักษาการติดเชื้อในสัตว์ อาจทำให้สัตว์นั้นดื้อยา” เลขาธิการ อย.กล่าวและว่า
นพ.บุญชัย กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ยาและวัตถุอันตรายบางชนิดมีผลข้างเคียงที่รุนแรง เช่น มีพิษต่อตับ ไต ส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท รวมถึงระบบทางเดินหายใจ อาจถึงขั้นพิการและเสียชีวิตได้ จึงขอเตือนผู้ผลิต จำหน่ายยาและวัตถุอันตรายสำหรับสัตว์อย่าลักลอบผลิตหรือจำหน่ายยาสำหรับสัตว์ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน เพราะอาจส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อตัวสัตว์ ซึ่งสัตว์ก็เป็นสิ่งมีชีวิตเช่นเดียวกับมนุษย์ ควรให้ความสำคัญในการใช้ยาและวัตถุอันตราย และขอให้ประชาชนระมัดระวังในการใช้ยาและวัตถุอันตรายสำหรับสัตว์ โดยเลือกใช้ยาที่ได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายจาก อย.และควรใช้ภายใต้การควบคุมและกำกับดูแลของสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง หรือต้องมีใบสั่งยาจากสัตวแพทย์ชั้นหนึ่งในกรณีที่เป็นยาควบคุมพิเศษ
วันนี้ (24 ธ.ค.)นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แถลงข่าวบุกตรวจแหล่งผลิต/จำหน่ายยาสัตว์และวัตถุอันตรายที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน ย่านมีนบุรี ว่า อย. ได้รับแจ้งจากกรมปศุสัตว์ให้ตรวจสอบสถานที่ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์กำจัดเห็บหมัดที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน ดังนั้น เมื่อวันที่ 20 ธ.ค.จึงได้ประสานไปยังตำรวจ บก.ปคบ.นำหมายค้นของศาลเข้าตรวจสอบ บริษัท วรรณกิจ จำกัด ตั้งอยู่ที่ 56/50 หมู่บ้านธีรวรรณ ซ.พระยาสุเรนทร์ 4 ถ.รามอินทรา 109 กรุงเทพฯ ซึ่งจากการตรวจสอบเป็นสถานที่ผลิตยาโดยไม่ได้รับอนุญาต และผลิต/ขายยาสัตว์ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา รวมทั้งมีการผลิตและครอบครองเพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย แชมพูกำจัดเห็บหมัด และผลิตภัณฑ์หยดหลังกำจัดเห็บหมัด ที่ต้องขึ้นทะเบียนแต่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน
นพ.บุญชัย กล่าวอีกว่า จากการตรวจสอบพบตัวยาสำคัญ ได้แก่ กลุ่มยาสลบและยากันชักสุนัขและแมว ยาฆ่าเชื้อและยาฆ่าพยาธิ ซึ่งใช้รักษาโรคสัตว์ต่างๆ เช่น ท้องเสีย บิด ถ่ายพยาธิ เป็นต้น อาทิ ยาไอเวอร์เมคติน (Ivermectin) ยาซัลฟาเมทาโซน (Sulfamethazole) ยาเอ็นโรฟล็อกซาซิน (Enrofloxacin) และยาปิเปอราซิน ซิเตรท (Piperazin citrate) กลุ่มยาฆ่าเชื้อทางผิวหนัง เช่น ยาโพวิโดน ไอโอดีน (Povidone Iodine) กลุ่มยาคุมสำหรับสัตว์ เช่น ยาเมทดรอกซีโปรเจสเตอโรน (Medroxyprogesterone acetate) รวมทั้งพบผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายกำจัดเห็บหมัด ได้แก่ แป้งกำจัดเห็บ-หมัด ยี่ห้อ BRAVE แชมพูกำจัดเห็บ-หมัด ยี่ห้อ BRAVE และผลิตภัณฑ์หยดหลังกำจัดเห็บหมัด ฯลฯ ซึ่งอาจจัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 หรือ 3โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะต้องขอขึ้นทะเบียนและแจ้งการดำเนินการหรือขออนุญาต
“อย.ได้ยึดของกลางทั้งหมดประมาณ 5 ล้านบาท และนำส่งตรวจวิเคราะห์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อหาสารต้องห้ามและตัวยาสำคัญต่อไป นอกจากนี้ ยังยึดสติกเกอร์ ฉลากยา และวัตถุอันตราย ขวดและกล่องบรรจุผลิตภัณฑ์ แผ่นพับ ใบแทรกเอกสารกำกับยา ซึ่งยังไม่ได้ขออนุญาตการโฆษณาจาก อย.จำนวนมาก อีกทั้งยังพบวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ไดอาซีแพม (Digzepam) ซึ่งจัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 โดยมีไว้เพื่อขายอีกด้วยส่วนของการดำเนินคดี” เลขาธิการ อย.กล่าว
นพ.บุญชัย กล่าวด้วยว่า เบื้องต้นได้แจ้งข้อหา ดังนี้ ข้อหาเกี่ยวกับยาสัตว์ 1.ผลิตและขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท 2.ผลิตหรือขายยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 3.โฆษณาขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท ข้อหาเกี่ยวกับวัตถุอันตรายคือ 1.กรณีครอบครองวัตถุอันตรายที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนให้ถูกต้อง หากเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ผู้จำหน่ายจะถูก ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากพบว่าเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 2.ผลิตวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 โดยมิได้แจ้งการดำเนินการผลิต มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และข้อหาเกี่ยวกับวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท คือ กรณีพบวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ไดอาซีแพม ซึ่งจัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือ ประเภท 4 โดยมีไว้เพื่อขาย ฝ่าฝืนมาตรา 16 บทลงโทษตามมาตรา 90 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับ ไม่เกิน 100,000 บาท
“หากมีการใช้ยาสำหรับสัตว์และวัตถุอันตรายอย่างไม่ถูกต้อง เช่น การให้ยาในปริมาณที่สูงเป็นระยะเวลานาน โดยไม่ได้ปรึกษาสัตวแพทย์ อาจทำให้สัตว์ได้รับอันตราย อย่างยารักษาโรคพยาธิหัวใจในสัตว์ หากมีการใช้ในปริมาณสูง จะมีอันตรายต่อสุนัขบางสายพันธุ์ทำให้ได้รับอันตรายถึงชีวิต ยาคุมสำหรับสัตว์ หากใช้ระยะเวลานาน จะมีผลทำให้มดลูกในสัตว์อักเสบ และยาฆ่าเชื้อ เพื่อรักษาการติดเชื้อในสัตว์ อาจทำให้สัตว์นั้นดื้อยา” เลขาธิการ อย.กล่าวและว่า
นพ.บุญชัย กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ยาและวัตถุอันตรายบางชนิดมีผลข้างเคียงที่รุนแรง เช่น มีพิษต่อตับ ไต ส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท รวมถึงระบบทางเดินหายใจ อาจถึงขั้นพิการและเสียชีวิตได้ จึงขอเตือนผู้ผลิต จำหน่ายยาและวัตถุอันตรายสำหรับสัตว์อย่าลักลอบผลิตหรือจำหน่ายยาสำหรับสัตว์ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน เพราะอาจส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อตัวสัตว์ ซึ่งสัตว์ก็เป็นสิ่งมีชีวิตเช่นเดียวกับมนุษย์ ควรให้ความสำคัญในการใช้ยาและวัตถุอันตราย และขอให้ประชาชนระมัดระวังในการใช้ยาและวัตถุอันตรายสำหรับสัตว์ โดยเลือกใช้ยาที่ได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายจาก อย.และควรใช้ภายใต้การควบคุมและกำกับดูแลของสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง หรือต้องมีใบสั่งยาจากสัตวแพทย์ชั้นหนึ่งในกรณีที่เป็นยาควบคุมพิเศษ