อาชีวะปลื้ม! เด็กส่งขอทำธุรกิจในกองทุนตั้งตัวได้ปีแรก ได้รับทุนถึง 16 ธุรกิจ ธุรกิจที่ทุนสูงสุด คือ 2 ล้านบาทจาก วท.หาดใหญ่ทำธุรกิจกาแฟสด
นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) เปิดเผยความคืบหน้าการดำเนินโครงการกองทุนตั้งตัวได้ ว่า โครงการนี้เกิดจากการที่รัฐบาลต้องการให้นักศึกษาที่กำลังเรียนอยู่และประชาชนที่ทำงานมาแล้วไม่เกิน 3-5 ปี ได้มีเงินลงทุนทำธุรกิจ ซึ่งปีการศึกษา 2556 ถือเป็นปีแรกที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้ขอเข้าร่วมโครงการ และได้รับอนุมัติเงินทุนทั้งสิ้น 16 คน โดยก่อนการเสนอของรับทุนนั้น สอศ.ได้จัดให้มีหน่วย ABI สาธิต รวม 29 แห่งทั่วประเทศ เพื่อจัดอบรม คัดเลือกนักศึกษาและผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตามเงื่อนไขโดยเน้นกลุ่มที่ต้องการขยายธุรกิจ ก่อนให้กลุ่มที่ผ่านการคัดเลือกจัดทำร่างแผนธุรกิจและแผนการเงินเสนอขอรับทุนจากกองทุนฯ
“เงินในกองทุนฯ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกเป็นเงินของกองทุนฯ เองส่วนที่ 2-3 เป็นเงินของธนาคาร ดังนั้นการจะได้เงินทุนจะต้องเสนอแผนให้ธนาคารพิจารณาอนุมัติสินเชื่อก่อนจึงจะได้รับเงินทุน โดยในปีแรกของ สอศ.นี้มีผู้เสนอแผนธุรกิจทั้งสิ้น 23 คนและได้รับอนุมัติจากกองทุนฯ 16 คน รวมสินเชื่อที่ได้รับการอนุมัติทั้งสิ้น 8,887,000 บาท” เลขาธิการ กอศ.กล่าวและว่า สำหรับผู้ที่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อทั้ง 16 คน แบ่งเป็น 1.ได้รับทุนแบบไม่มีเงื่อนไข 5 คน อาทิ น.ส.ขวัญนภา อยู่ยิ่ง วิทยาลัยอาชีวศึกษา (วอศ.) อุตรดิตถ์ ได้รับอนุมัติเงินทุน 840,000 บาท เพื่อประกอบธุรกิจบริการตัดเย็บเสื้อผ้า เป็นต้น และ 2.ได้รับทุนแบบมีเงื่อนไข 11 คน โดยผู้ที่ได้รับทุนสูงสุด คือ นายณัฐวัชร์ เพชรแก้ว วท.หาดใหญ่ ได้รับอนุมัติเงินทุน 2,000,000 บาททำธุรกิจร้านกาแฟสด เป็นต้น
นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) เปิดเผยความคืบหน้าการดำเนินโครงการกองทุนตั้งตัวได้ ว่า โครงการนี้เกิดจากการที่รัฐบาลต้องการให้นักศึกษาที่กำลังเรียนอยู่และประชาชนที่ทำงานมาแล้วไม่เกิน 3-5 ปี ได้มีเงินลงทุนทำธุรกิจ ซึ่งปีการศึกษา 2556 ถือเป็นปีแรกที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้ขอเข้าร่วมโครงการ และได้รับอนุมัติเงินทุนทั้งสิ้น 16 คน โดยก่อนการเสนอของรับทุนนั้น สอศ.ได้จัดให้มีหน่วย ABI สาธิต รวม 29 แห่งทั่วประเทศ เพื่อจัดอบรม คัดเลือกนักศึกษาและผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตามเงื่อนไขโดยเน้นกลุ่มที่ต้องการขยายธุรกิจ ก่อนให้กลุ่มที่ผ่านการคัดเลือกจัดทำร่างแผนธุรกิจและแผนการเงินเสนอขอรับทุนจากกองทุนฯ
“เงินในกองทุนฯ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกเป็นเงินของกองทุนฯ เองส่วนที่ 2-3 เป็นเงินของธนาคาร ดังนั้นการจะได้เงินทุนจะต้องเสนอแผนให้ธนาคารพิจารณาอนุมัติสินเชื่อก่อนจึงจะได้รับเงินทุน โดยในปีแรกของ สอศ.นี้มีผู้เสนอแผนธุรกิจทั้งสิ้น 23 คนและได้รับอนุมัติจากกองทุนฯ 16 คน รวมสินเชื่อที่ได้รับการอนุมัติทั้งสิ้น 8,887,000 บาท” เลขาธิการ กอศ.กล่าวและว่า สำหรับผู้ที่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อทั้ง 16 คน แบ่งเป็น 1.ได้รับทุนแบบไม่มีเงื่อนไข 5 คน อาทิ น.ส.ขวัญนภา อยู่ยิ่ง วิทยาลัยอาชีวศึกษา (วอศ.) อุตรดิตถ์ ได้รับอนุมัติเงินทุน 840,000 บาท เพื่อประกอบธุรกิจบริการตัดเย็บเสื้อผ้า เป็นต้น และ 2.ได้รับทุนแบบมีเงื่อนไข 11 คน โดยผู้ที่ได้รับทุนสูงสุด คือ นายณัฐวัชร์ เพชรแก้ว วท.หาดใหญ่ ได้รับอนุมัติเงินทุน 2,000,000 บาททำธุรกิจร้านกาแฟสด เป็นต้น