กรมวิทย์เผยครีมทาผิวแบบแบ่งขายพบส่วนผสมสารสเตียรอยด์ชนิดทาภายนอกที่มีความรุนแรงสูงสุดเพียบ เสี่ยงผิวบาง เกิดจ้ำเลือดง่าย หลังพบโจ๋สาวสมุทรสาครเกิดอาการแพ้อื้อ แนะอ่านฉลาก เลือกซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้
นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า การทาครีมบำรุงผิวเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นเป็นเรื่องจำเป็นในหน้าหนาว เพราะผิวหนังมักจะแห้ง แต่จากการลงพื้นที่สุ่มเก็บตัวอย่างครีมจำนวน 11 ตัวอย่างที่วางขายในท้องตลาด โดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 5 สมุทรสงคราม ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าว มีกลุ่มนักเรียนอายุ 16-18 ปี มีอาการแพ้ ผื่นคัน ผิวหนังแตก ซึ่งเกิดจากการใช้เครื่องสำอางที่มีการปลอมปนสเตียรอยด์ โดยแบ่งเป็นครีม 4 ประเภท ได้แก่ ครีมที่ผสมเองแบ่งขายใส่กระปุกที่ไม่มีฉลาก ครีมที่ผสมเองแบ่งขายใส่กระปุกที่มีฉลากแต่ไม่ได้จดแจ้ง ครีมที่มีฉลากภาษาจีน และครีมที่มีฉลากภาษาจีนที่เป็นยาใช้ภายนอก ซึ่งมีข้อมูลว่าใช้เป็นส่วนผสมของครีมที่ผสมใช้เอง พบว่า มีปริมาณสารสเตียรอยด์ชนิดโคลเบทาซอลโพรพิโอเนต (Clobetasol propionate) อยู่ในช่วง 8.0 - 449.8 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม นอกจากนั้น ยังตรวจพบคีโตโคนาโซล (Ketoconazole) ในทุกตัวอย่าง และตรวจพบวัตถุกันเสียชนิดเมทิลพาราเบน (Methylparaben) และโพรพิลพาราเบน (Propylparaben) ในบางตัวอย่างอีกด้วย
“โคลเบทาซอลโพรพิโอเนต จัดเป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอางตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง เป็นยาสเตียรอยด์ชนิดทาภายนอกที่มีความแรงสูงสุด มักใช้ในโรคสะเก็ดเงิน ผื่นผิวหนังที่ดื้อยาสเตียรอยด์แบบความแรงอ่อนและปานกลาง หรือใช้ในบริเวณผิวหนังที่หนา เช่น ที่ขาหรือเท้า ผลข้างเคียงของยาเมื่อทาไปนานๆ ทำให้ผิวหนังบางลง เกิดจ้ำเลือดง่าย หรือมีรอยแตกบริเวณผิวหนัง ซึ่งเป็นอาการเดียวกันกับที่พบในเด็กนักเรียนที่ใช้เครื่องสำอางที่ตรวจพบว่ามีสารชนิดนี้ปลอมปน” อธิบดีกรมวิทย์ กล่าว
นพ.อภิชัย กล่าวอีกว่า สำหรับครีมที่มีฉลากภาษาจีนที่เป็นยาใช้ภายนอก ที่มีข้อมูลว่าใช้เป็นส่วนผสมของครีมที่ผสมใช้เองนั้น เมื่อสังเกตที่ข้างกล่องจะมีตัวย่อ OTC (Over the counter drug) ปรากฏอยู่ หมายถึงกลุ่มยาที่ประชาชนสามารถเลือกซื้อใช้ได้เองจากร้านขายยาและร้านค้าทั่วไปในประเทศจีน แต่ยาประเภทครีมที่มีตัวยาดังกล่าวในประเทศไทยจัดเป็นยาอันตรายต้องซื้อจากร้านขายยาที่มีเภสัชกรประจำอยู่เท่านั้น ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยจึงไม่ควรซื้อครีมที่มีการผสมเองหรือครีมแบ่งขายมาใช้ โดยครีมที่เลือกซื้อฉลากต้องมีรายละเอียดตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ ชื่อและประเภทผลิตภัณฑ์ สารที่ใช้เป็นส่วนผสม วิธีใช้ ชื่อและที่ตั้งแหล่งผลิต วันเดือนปีที่ผลิต ปริมาณสุทธิ คำเตือนและหมายเลขที่จดแจ้งกับ อย.จำนวน 10 หลักอย่างชัดเจน และควรเลือกซื้อเครื่องสำอางจากแหล่งที่เชื่อถือได้ หากใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางแล้วเกิดอาการแพ้ ผื่นคัน ควรหยุดใช้ทันที
นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า การทาครีมบำรุงผิวเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นเป็นเรื่องจำเป็นในหน้าหนาว เพราะผิวหนังมักจะแห้ง แต่จากการลงพื้นที่สุ่มเก็บตัวอย่างครีมจำนวน 11 ตัวอย่างที่วางขายในท้องตลาด โดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 5 สมุทรสงคราม ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าว มีกลุ่มนักเรียนอายุ 16-18 ปี มีอาการแพ้ ผื่นคัน ผิวหนังแตก ซึ่งเกิดจากการใช้เครื่องสำอางที่มีการปลอมปนสเตียรอยด์ โดยแบ่งเป็นครีม 4 ประเภท ได้แก่ ครีมที่ผสมเองแบ่งขายใส่กระปุกที่ไม่มีฉลาก ครีมที่ผสมเองแบ่งขายใส่กระปุกที่มีฉลากแต่ไม่ได้จดแจ้ง ครีมที่มีฉลากภาษาจีน และครีมที่มีฉลากภาษาจีนที่เป็นยาใช้ภายนอก ซึ่งมีข้อมูลว่าใช้เป็นส่วนผสมของครีมที่ผสมใช้เอง พบว่า มีปริมาณสารสเตียรอยด์ชนิดโคลเบทาซอลโพรพิโอเนต (Clobetasol propionate) อยู่ในช่วง 8.0 - 449.8 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม นอกจากนั้น ยังตรวจพบคีโตโคนาโซล (Ketoconazole) ในทุกตัวอย่าง และตรวจพบวัตถุกันเสียชนิดเมทิลพาราเบน (Methylparaben) และโพรพิลพาราเบน (Propylparaben) ในบางตัวอย่างอีกด้วย
“โคลเบทาซอลโพรพิโอเนต จัดเป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอางตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง เป็นยาสเตียรอยด์ชนิดทาภายนอกที่มีความแรงสูงสุด มักใช้ในโรคสะเก็ดเงิน ผื่นผิวหนังที่ดื้อยาสเตียรอยด์แบบความแรงอ่อนและปานกลาง หรือใช้ในบริเวณผิวหนังที่หนา เช่น ที่ขาหรือเท้า ผลข้างเคียงของยาเมื่อทาไปนานๆ ทำให้ผิวหนังบางลง เกิดจ้ำเลือดง่าย หรือมีรอยแตกบริเวณผิวหนัง ซึ่งเป็นอาการเดียวกันกับที่พบในเด็กนักเรียนที่ใช้เครื่องสำอางที่ตรวจพบว่ามีสารชนิดนี้ปลอมปน” อธิบดีกรมวิทย์ กล่าว
นพ.อภิชัย กล่าวอีกว่า สำหรับครีมที่มีฉลากภาษาจีนที่เป็นยาใช้ภายนอก ที่มีข้อมูลว่าใช้เป็นส่วนผสมของครีมที่ผสมใช้เองนั้น เมื่อสังเกตที่ข้างกล่องจะมีตัวย่อ OTC (Over the counter drug) ปรากฏอยู่ หมายถึงกลุ่มยาที่ประชาชนสามารถเลือกซื้อใช้ได้เองจากร้านขายยาและร้านค้าทั่วไปในประเทศจีน แต่ยาประเภทครีมที่มีตัวยาดังกล่าวในประเทศไทยจัดเป็นยาอันตรายต้องซื้อจากร้านขายยาที่มีเภสัชกรประจำอยู่เท่านั้น ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยจึงไม่ควรซื้อครีมที่มีการผสมเองหรือครีมแบ่งขายมาใช้ โดยครีมที่เลือกซื้อฉลากต้องมีรายละเอียดตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ ชื่อและประเภทผลิตภัณฑ์ สารที่ใช้เป็นส่วนผสม วิธีใช้ ชื่อและที่ตั้งแหล่งผลิต วันเดือนปีที่ผลิต ปริมาณสุทธิ คำเตือนและหมายเลขที่จดแจ้งกับ อย.จำนวน 10 หลักอย่างชัดเจน และควรเลือกซื้อเครื่องสำอางจากแหล่งที่เชื่อถือได้ หากใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางแล้วเกิดอาการแพ้ ผื่นคัน ควรหยุดใช้ทันที