กกจ.เผยภาวะการว่างงานดีขึ้น เดือนเดียวลดลงถึง 8 หมื่นคน เหตุจากแรงงานอยู่ในภาคการเกษตรช่วงปลายปี ชี้เหตุเลิกจ้างมาจากนายจ้างปิดกิจการ
นายธนิช นุ่มน้อย รองอธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงแนวโน้มการมีงานทำของแรงงานไทยในปี 2557 ว่า เบื้องต้นกระทรวงแรงงานได้ตั้งคณะกรรมการขึ้น 2 ชุด โดยกรรมการชุดแรกให้ดำเนินการวางมาตรการเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และชุดที่สอง เพื่อศึกษาอัตราแรงงานที่มีอยู่ภายในประเทศ โดยฝึกอบรมให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ทั้งนี้ จะมีการพิจารณาไปถึงการเปิดรับแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศ ในกลุ่มแรงงานระดับล่าง ซึ่งต้องเป็นอาชีพที่แรงงานไทยไม่ทำ
รองอธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวอีกว่า จากข้อมูลกองวิจัยตลาดแรงงาน พบว่าอัตราการว่างงานจะสูงที่สุด และปรับตัวลดลงต่ำสุดในช่วงปลายปี เนื่องจากโครงสร้าง การมีงานทำของแรงงานยังอยู่ในภาคเกษตรกรรม ซึ่งช่วงต้นปีเป็นช่วงนอกฤดูการเกษตร ทำให้มีผู้ว่างงานจากภาคเกษตรเพิ่มขึ้น ส่วนช่วงปลายปีอัตราการว่างงานลดลง เนื่องจากเป็นช่วงฤดูการเก็บเกี่ยวผลผลิตในภาคเกษตรกรรม และสถานประกอบการจะเร่งผลิตสินค้าและบริการเพื่อจำหน่ายให้ทันในช่วงเทศกาลคริสต์มาส และเทศกาลปีใหม่ ทำให้มีการจ้างงานเพิ่มมากขึ้นจำนวนผู้ว่างงานจึงลดต่ำลงกว่าช่วงต้นปีและกลางปี
นายธนิช กล่าวด้วยว่า กรมการจัดหางานได้นำข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาทำการวิเคราะห์ในเชิงสถิติแล้วเห็นว่าในเดือน ธ.ค.2556 จะมีผู้ว่างงานประมาณ 200,000 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.5 ของกำลังแรงงาน ซึ่งจำนวนผู้ว่างงานจะลดลงจากเดือนก่อนหน้า 8 หมื่นคน และอัตราการว่างงานลดลงจากเดือนก่อนหน้า ร้อยละ 0.2 (จากร้อยละ 0.7 เป็นร้อยละ 0.5)ในจำนวนผู้ว่างงานนี้เป็นผู้ที่ไม่เคยทำงานมาก่อน 6.5 หมื่นคน และผู้ที่เคยทำงานมาก่อน 1.35 แสนคน โดยทำงานอยู่ในภาคบริการและการค้ามากที่สุดจำนวน 5.7 หมื่นคน รองลงมาอยู่ในภาคการผลิตจำนวน 5.1 หมื่นคน และภาคเกษตรกรรม 2.7 หมื่นคน ตามลำดับ
“สาเหตุการเลิกจ้างงานมาจากนายจ้างปิดกิจการมากที่สุด รองลงมาได้แก่ นายจ้างลดจำนวนพนักงาน ส่วนสาเหตุอื่นๆ เช่น สุขภาพไม่ดี หยุดกิจการชั่วคราว คิดเป็นร้อยละ 19.84 ไม่ผ่านการประเมิน/ทดลองงาน คิดเป็นร้อยละ 3.71 มีความผิด คิดเป็นร้อยละ 1.18 นายจ้างใช้เครื่องจักรที่ทันสมัย คิดเป็นร้อยละ 0.28 และสาเหตุการลาออกจากงานส่วนใหญ่มาจากความต้องการเปลี่ยนงานมากที่สุด” นายธนิช กล่าว
นายธนิช นุ่มน้อย รองอธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงแนวโน้มการมีงานทำของแรงงานไทยในปี 2557 ว่า เบื้องต้นกระทรวงแรงงานได้ตั้งคณะกรรมการขึ้น 2 ชุด โดยกรรมการชุดแรกให้ดำเนินการวางมาตรการเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และชุดที่สอง เพื่อศึกษาอัตราแรงงานที่มีอยู่ภายในประเทศ โดยฝึกอบรมให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ทั้งนี้ จะมีการพิจารณาไปถึงการเปิดรับแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศ ในกลุ่มแรงงานระดับล่าง ซึ่งต้องเป็นอาชีพที่แรงงานไทยไม่ทำ
รองอธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวอีกว่า จากข้อมูลกองวิจัยตลาดแรงงาน พบว่าอัตราการว่างงานจะสูงที่สุด และปรับตัวลดลงต่ำสุดในช่วงปลายปี เนื่องจากโครงสร้าง การมีงานทำของแรงงานยังอยู่ในภาคเกษตรกรรม ซึ่งช่วงต้นปีเป็นช่วงนอกฤดูการเกษตร ทำให้มีผู้ว่างงานจากภาคเกษตรเพิ่มขึ้น ส่วนช่วงปลายปีอัตราการว่างงานลดลง เนื่องจากเป็นช่วงฤดูการเก็บเกี่ยวผลผลิตในภาคเกษตรกรรม และสถานประกอบการจะเร่งผลิตสินค้าและบริการเพื่อจำหน่ายให้ทันในช่วงเทศกาลคริสต์มาส และเทศกาลปีใหม่ ทำให้มีการจ้างงานเพิ่มมากขึ้นจำนวนผู้ว่างงานจึงลดต่ำลงกว่าช่วงต้นปีและกลางปี
นายธนิช กล่าวด้วยว่า กรมการจัดหางานได้นำข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาทำการวิเคราะห์ในเชิงสถิติแล้วเห็นว่าในเดือน ธ.ค.2556 จะมีผู้ว่างงานประมาณ 200,000 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.5 ของกำลังแรงงาน ซึ่งจำนวนผู้ว่างงานจะลดลงจากเดือนก่อนหน้า 8 หมื่นคน และอัตราการว่างงานลดลงจากเดือนก่อนหน้า ร้อยละ 0.2 (จากร้อยละ 0.7 เป็นร้อยละ 0.5)ในจำนวนผู้ว่างงานนี้เป็นผู้ที่ไม่เคยทำงานมาก่อน 6.5 หมื่นคน และผู้ที่เคยทำงานมาก่อน 1.35 แสนคน โดยทำงานอยู่ในภาคบริการและการค้ามากที่สุดจำนวน 5.7 หมื่นคน รองลงมาอยู่ในภาคการผลิตจำนวน 5.1 หมื่นคน และภาคเกษตรกรรม 2.7 หมื่นคน ตามลำดับ
“สาเหตุการเลิกจ้างงานมาจากนายจ้างปิดกิจการมากที่สุด รองลงมาได้แก่ นายจ้างลดจำนวนพนักงาน ส่วนสาเหตุอื่นๆ เช่น สุขภาพไม่ดี หยุดกิจการชั่วคราว คิดเป็นร้อยละ 19.84 ไม่ผ่านการประเมิน/ทดลองงาน คิดเป็นร้อยละ 3.71 มีความผิด คิดเป็นร้อยละ 1.18 นายจ้างใช้เครื่องจักรที่ทันสมัย คิดเป็นร้อยละ 0.28 และสาเหตุการลาออกจากงานส่วนใหญ่มาจากความต้องการเปลี่ยนงานมากที่สุด” นายธนิช กล่าว