สอศ.ผุดศูนย์ความชำนาญเฉพาะทาง 23 ศูนย์ ใน 23 วิทยาลัย พร้อมเปิดเป็นห้องเรียนพิเศษ รับนร.ทุนพระราชทาน และ นร.ทั่วไป 1 ห้อง ในปี 57 พร้อมนำโครงการพระราชดำริในหลวงมาปรับใช้กับหลักสูตรอาชีวะ
นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จัดตั้ง “ศูนย์ความชำนาญเฉพาะทาง” ขึ้นเพื่อเชื่อมโยงความรู้จากโครงการอันเนื่องพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เข้ากับหลักสูตรอาชีวะ โดยใช้พื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นห้องเรียน และฝึกปฏิบัติงานนั้น ทั้งนี้ในปีการศึกษา 2557 สถานศึกษาที่จัดตั้งศูนย์ฯ ทั้ง 23 แห่ง จะเปิดรับนักศึกษาจากนักเรียนทุนพระราชทาน และนักเรียนทั่วไป เข้าศึกษาต่อ ปวช.ในห้องเรียนพิเศษที่ละ 1 ห้อง ดังนี้ วิทยาลัยกาญจนาภิเษก วิทยาลัยช่างทองหลวง สาขาวิชาช่างทอง วิทยาลัยการอาชีพ (วก.) กาญจนาภิเษกหนองจอก สาขางานไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยเทคนิค (วท.) กาญจนาภิเษกเชียงราย สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ วท.กาญจนาภิเษกปัตตานี สาขางานพลังงานทดแทน วท.กาญจนาภิเษกมหานคร สาขางานเชื่อมโลหะ วท.กาญจนาภิเษกสมุทรปราการ สาขางานพลังงานทดแทน
วท.กาญจนาภิเษกอุดรธานี สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง วก.นวมินทราชูทิศ สาขางานโทรคมนาคม วก.นวมินทราชินีมุกดาหาร สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ วก.นวมินทราชินีแม่ฮ่องสอน สาขางานการก่อสร้าง วก.วังไกลกังวล สาขาเทคโนโลยีระบบภาพและเสียง วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการวังไกลกังวล สาขาการโรงแรม วท.จุฬาภรณ์ สาขางานช่างไฟฟ้า วิทยาลัยประมงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ วท.ดุสิต สาขาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช สาขาช่างสิบหมู่ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี (วษท.) บางไทร สาขาช่างสิบหมู่ วษท.ศรีสะเกษ สาขาการพัฒนาโคนม วษท.กาญจนบุรี สาขาการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อย วษท.กระบี่ สาขาการพัฒนาปาล์มน้ำมันและพืชพลังงานทดแทน และ วษท.เชียงใหม่ สาขาการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพืชไร้ดิน
นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จัดตั้ง “ศูนย์ความชำนาญเฉพาะทาง” ขึ้นเพื่อเชื่อมโยงความรู้จากโครงการอันเนื่องพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เข้ากับหลักสูตรอาชีวะ โดยใช้พื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นห้องเรียน และฝึกปฏิบัติงานนั้น ทั้งนี้ในปีการศึกษา 2557 สถานศึกษาที่จัดตั้งศูนย์ฯ ทั้ง 23 แห่ง จะเปิดรับนักศึกษาจากนักเรียนทุนพระราชทาน และนักเรียนทั่วไป เข้าศึกษาต่อ ปวช.ในห้องเรียนพิเศษที่ละ 1 ห้อง ดังนี้ วิทยาลัยกาญจนาภิเษก วิทยาลัยช่างทองหลวง สาขาวิชาช่างทอง วิทยาลัยการอาชีพ (วก.) กาญจนาภิเษกหนองจอก สาขางานไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยเทคนิค (วท.) กาญจนาภิเษกเชียงราย สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ วท.กาญจนาภิเษกปัตตานี สาขางานพลังงานทดแทน วท.กาญจนาภิเษกมหานคร สาขางานเชื่อมโลหะ วท.กาญจนาภิเษกสมุทรปราการ สาขางานพลังงานทดแทน
วท.กาญจนาภิเษกอุดรธานี สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง วก.นวมินทราชูทิศ สาขางานโทรคมนาคม วก.นวมินทราชินีมุกดาหาร สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ วก.นวมินทราชินีแม่ฮ่องสอน สาขางานการก่อสร้าง วก.วังไกลกังวล สาขาเทคโนโลยีระบบภาพและเสียง วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการวังไกลกังวล สาขาการโรงแรม วท.จุฬาภรณ์ สาขางานช่างไฟฟ้า วิทยาลัยประมงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ วท.ดุสิต สาขาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช สาขาช่างสิบหมู่ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี (วษท.) บางไทร สาขาช่างสิบหมู่ วษท.ศรีสะเกษ สาขาการพัฒนาโคนม วษท.กาญจนบุรี สาขาการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อย วษท.กระบี่ สาขาการพัฒนาปาล์มน้ำมันและพืชพลังงานทดแทน และ วษท.เชียงใหม่ สาขาการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพืชไร้ดิน