สธ.ประกาศชื่อนักการสาธารณสุขดีเด่น รางวัล “ชัยนาทนเรนทร” ปีแรก 5 สาขา พบ ผอ.รพ.สต.สวนป่า นครศรีธรรมราช ซิวด้านงานบริการ ระบุกำลังขอพระราชานุญาตจากสมเด็จพระบรมฯ เพื่อขอเข้าเฝ้าฯรับพระราชทานเงินรางวัลและใบประกาศเกียรติคุณ
วันนี้ (27 พ.ย.) ศ.เกียรติยศ นพ.สงคราม ทรัพย์เจริญ ประธานมูลนิธิสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร พร้อมด้วย นพ.ประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และ นพ.ชาญวิทย์ ทระเทพ รองปลัด สธ.ร่วมแถลงข่าว ผลการคัดเลือกนักการสาธารณสุขดีเด่น รางวัลชัยนาทนเรนทร ประจำปี 2556
ศ.เกียรติยศ นพ.สงคราม กล่าวว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ทรงมีคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อวงการแพทย์และการสาธารณสุขไทย ขณะทรงเป็นอธิบดีกรมสาธารณสุขคนแรก ในปี 2461 ได้ทรงวางรากฐานงานสาธารณสุขของประเทศ ทั้งการศึกษา การฝึกอบรม การควบคุมป้องกันโรค ตลอดจนระเบียบการบริหารงานทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จนเจริญก้าวหน้าในปัจจุบัน เพื่อเทิดพระเกียรติ และเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากรด้านสาธารณสุข มูลนิธิฯ จึงได้ร่วมกับ สธ.และมหาวิทยาลัยนเรศวร จัดให้มีการมอบรางวัลแก่ผู้ที่มีผลงานด้านการพัฒนาสาธารณสุขดีเด่น ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้อัญเชิญพระนาม “ชัยนาทนเรนทร” เป็นชื่อรางวัล
ศ.เกียรติยศ นพ.สงคราม กล่าวอีกว่า สำหรับรางวัลประกอบด้วย เงินรางวัล 200,000 บาท และใบประกาศเกียรติคุณ จากมูลนิธิฯ เข็มกลัดนักการสาธารณสุขดีเด่น จาก สธ.และพระรูปหล่อจำลอง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ขนาดฐานกว้าง 5 นิ้ว สูง 15 นิ้ว จาก ม.นเรศวร โดยมูลนิธิฯ อยู่ระหว่างขั้นตอนการขอพระราชทานพระราชานุญาตจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เพื่อโปรดเกล้าฯ ให้นักการสาธารณสุขดีเด่น รางวัลชัยนาทนเรนทร เข้าเฝ้าฯรับพระราชทานเงินรางวัลและใบประกาศเกียรติคุณต่อไป
นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า การคัดเลือกนักการสาธารณสุขดีเด่น รางวัลชัยนาทนเรนทร จะพิจารณาจากบุคลากรด้านสาธารณสุข ทั้งในและนอกสังกัด สธ.ภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไป ที่มีผลงานก่อให้เกิดการสาธารณสุขที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค มีผลงานเป็นที่ประจักษ์และส่งผลในระดับชาติ อย่างน้อย 5 ปี มีความประพฤติ ปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งการครองตน ครองคน และครองงาน รวมทั้งไม่เคยถูกลงโทษทางวินัย หรืออยู่ระหว่างสอบสวนทางวินัย หรือถูกลงโทษทางคดี แบ่งเป็น 5 ประเภท ได้แก่ ประเภทบริหาร ประเภทบริการ ประเภทวิชาการ ประเภทผู้นำชุมชน และ ประเภทประชาชน
นพ.ประสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า สำหรับปี 2556 ซึ่งเป็นปีแรกของรางวัล มีผู้ได้รับการเสนอชื่อทั้งหมด 77 ราย โดยผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นนักการสาธารณสุขดีเด่น ประกอบด้วย 1.ประเภทบริหาร ได้แก่ นางเกษร วงศ์มณี สาธารณสุขอำเภอหล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ 2.ประเภทบริการ ได้แก่ นายธีระวัฒน์ แดงกะเปา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสี่แยกสวนป่า ตำบลสวนป่า อำเภอบางขัน จ.นครศรีธรรมราช 3.ประเภทวิชาการ ได้แก่ นพ.สำลี เปลี่ยนบางช้าง ผอ.องค์การอนามัยโลกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 4.ประเภทผู้นำชุมชน ได้แก่ นพ.บุญยงค์ วงศ์รักมิตร อดีต ผอ.รพ.น่าน และ 5.ประเภทประชาชน ได้แก่ นายพงษ์ศักดิ์ ฉิ่งสุวรรณโรจน์ จ.ชุมพร
ด้าน นพ.ชาญวิทย์ กล่าวว่า เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณและเชิดชูเกียรติของนักการสาธารณสุขดีเด่น ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุขประจำปี ซึ่งเป็นเวทีวิชาการที่สำคัญของบุคลากรด้านการแพทย์และการสาธารณสุขทั่วประเทศ กระทรวงสาธารณสุขจะจัดให้มีการบรรยายทางวิชาการของผู้ได้รับรางวัลทั้ง 5 คน เพื่อถ่ายทอดแนวคิดและประสบการณ์การทำงาน ไปสู่บุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุขในสังกัด ได้นำไปขยายผล ปรับใช้ในการดำเนินงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน รวมทั้งจัดนิทรรศการเผยแพร่ผลงานของนักการสาธารณสุขดีเด่นแต่ละประเภทในการประชุมวิชาการแต่ละปีด้วย
ประวัติผู้นักการสาธารณสุขดีเด่น รางวัลชัยนาทนเรนทร ปี 2556
1.ประเภทบริหาร นางเกษร วงศ์มณี สาธารณสุขอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
นางเกษร วงศ์มณี ผู้สร้างผลงานต้นแบบการเปลี่ยนแปลงสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเป็นครั้งแรกของประเทศ โดยนำแนวคิด “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” ของนายแพทย์ประเวศ วะสี มาดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม สร้างการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และใช้ประชาคมร่วมกับการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการทำงาน ทำให้ชุมชนมีความเป็นหนึ่งเดียวกัน โดยใช้โครงการ 2 บาท ร่วมลงขันสร้างสรรค์โรงพยาบาลตำบล ให้ชาวบ้านใช้เงินลงขันคนละ 2 บาทต่อเดือน เพื่อร่วมบริหารจัดการ ทำให้เกิดความรู้สึกมีส่วนร่วมและเป็นเจ้าของสถานบริการ และขยายบริการไปถึงบ้านของประชาชน ตามแนวคิด Home Ward มีทีมสุขภาพให้คำแนะนำดูแล ทำให้ได้รับรางวัลหน่วยบริการนวัตกรรมหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าดีเด่น ระดับทองประเภทการให้บริการ (Universal Coverage Innovation Award) จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2547 และเป็นที่ศึกษาดูงานของจังหวัดอื่นๆ และองค์กรต่างๆ กว่า 400 องค์กร
2.ประเภทบริการ นายธีระวัฒน์ แดงกะเปา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสี่แยกสวนป่า ตำบลสวนป่า อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช
นายธีระวัฒน์ แดงกะเปา เป็นผู้ที่ทำงานคลุกคลีกับชาวบ้านในชุมชนตั้งแต่เริ่มรับราชการในปี 2531 และมีความคิดในการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง เป็นผู้นำการจัดระบบสถานีอนามัย 24 ชั่วโมง เป็นแห่งแรกๆ จนมีการขยายผลไปทั่วประเทศ และสร้างระบบการเรียนรู้ของอสม.และประชาชนในพื้นที่ โดยจัดตั้งโรงเรียน อสม.แห่งแรกของประเทศ ที่เป็นแหล่งเรียนรู้และฝึกอบรม สร้าง “อสม.พันธุ์ใหม่ หัวใจพิสุทธิ์” ซึ่งต่อมาได้พัฒนาไปสู่โรงเรียนนวัตกรรมสุขภาพชุมชน และเป็นศูนย์เรียนรู้การสร้างและใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ องค์การอนามัยโลก ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งได้นำกระบวนการประชาคมมาใช้ในการสร้างสุขภาพในพื้นที่จนประสบความสำเร็จ อาทิ การควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกด้วยภูมิปัญญาไทย การปรับพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนเพื่อป้องกันและลดปัญหาโรคเรื้อรัง การสร้างประชาสังคมตำบลบ้านนิคม อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานภาคใต้ นครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับภาครัฐ ท้องถิ่น แกนนำชุมชน และประชาชน ศึกษากระบวนการประชาสังคมอย่างเป็นรูปธรรม ทำให้เกิดการสร้างงานสร้างคนในพื้นที่ตำบลบ้านนิคมจำนวนมาก
3.ประเภทวิชาการ นพ.สำลี เปลี่ยนบางช้าง ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศอินเดีย
นพ.สำลี เปลี่ยนบางช้าง เป็นแพทย์ไทยคนแรก ที่ได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี พ.ศ. 2547 และได้รับการลงคะแนนอย่างเป็นเอกฉันท์จากผู้แทน 11 ประเทศภาคีสมาชิกองค์การอนามัยโลก ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วย บังกลาเทศ ภูฏาน เกาหลี อินเดีย อินโดนีเซีย มัลดีฟส์ พม่า เนปาล ศรีลังกา ติมอร์-เลสเต และไทย ให้ดำรงตำแหน่งเป็นสมัยที่ 2 จนถึงปัจจุบัน ระหว่างรับราชการอยู่ในกระทรวงสาธารณสุข ได้สร้างผลงานด้านวิชาการที่ดีเด่นไว้หลายประการ เช่น ผลักดันงานสุขภาพดีถ้วนหน้าในระดับชาติในระยะเริ่มต้น จัดให้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่องานดังกล่าว ผลักดันงานสาธารณสุขมูลฐานในระดับประเทศ เป็นหัวหน้าคณะวางแผนและร่วมในการเจรจางบประมาณของโครงการ Development of Integrated Evaluation and Delivery System - โครงการลำปาง ซึ่งได้รับเงินทุนสนับสนุนโดยประเทศสหรัฐอเมริกา จำนวนประมาณ 4.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นับเป็นโครงการวิจัยและพัฒนาในด้านสุขภาพที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา
ขณะดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังคงมุ่งมั่นและให้ความสำคัญแก่การพัฒนางานสาธารณสุขมูลฐาน และระบบบริการสุขภาพของภูมิภาค โดยสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์เครือข่าย อาทิ สนับสนุนประเทศไทย โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (คณะเภสัชศาสตร์) และมหาวิทยาลัยมหิดล ให้เป็นศูนย์เครือข่ายฐานข้อมูลและการศึกษาการใช้ยาอย่างเหมาะสม สนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นฐานของเครือข่ายศูนย์ประสานความร่วมมือช่วยเหลือ (WHOCCR) และผู้เชี่ยวชาญขององค์การอนามัยโลก (WHO-Network for Collaborating Centers and Centers of Expertise (WHO New-CCET) และสนับสนุนให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์และวิทยาลัยการสาธารณสุข ได้รับการพิจารณาแต่งตั้งจากองค์การอนามัยโลกให้เป็น WHOCCR ของภูมิภาค ด้านการฝึกอบรมและพัฒนาสุขภาพ
4.ประเภทผู้นำชุมชน นพ.บุญยงค์ วงศ์รักมิตร
นพ.บุญยงค์ วงศ์รักมิตร ประธานคณะทำงานโครงการปิดทองหลังพระ สืบสานตามแนวพระราชดำริ จังหวัดน่าน (ภาคประชาคม) และเป็นแพทย์ชนบทดีเด่น อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลน่าน ผู้มีความสามารถสูงด้านการรักษาพยาบาลที่เชี่ยวชาญหลายสาขา เป็นที่ยอมรับในหมู่แพทย์อย่างกว้างขวาง และเป็นที่รักของประชาชน ขณะรับราชการ ได้พัฒนางานของโรงพยาบาล เป็นผู้ริเริ่มให้มีการจัดตั้งและพัฒนาในฝ่ายต่างๆ ของโรงพยาบาล ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์และมีคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาด้านศัลยกรรมสงคราม งานระบบส่งต่อผู้ป่วยระบบสาธารณสุขมูลฐานเขตเมือง และการส่งเสริมงานบัตรสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ และยังเป็นผู้ที่ยืนหยัดช่วยเหลือพลเรือน ทหาร ตำรวจ ที่ได้รับบาดเจ็บจากการต่อสู้กับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ในพื้นที่จังหวัดน่านและจังหวัดใกล้เคียง เป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักบริหารในวงการแพทย์และสาธารณสุขทุกระดับ
หลังเกษียณอายุราชการ ได้เป็นผู้นำท้องถิ่นที่เข้มแข็ง ก่อให้เกิดการรวมตัวของกลุ่มพลังมวลชนต่างๆ ในการพัฒนาจังหวัดน่านให้เจริญก้าวหน้า อาทิ เป็นผู้นำในการเรียกร้องให้มีการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาให้เกิดขึ้นในจังหวัดน่าน ตามนโยบายการขยายโอกาสทางการศึกษาไปสู่ชนบทของรัฐบาล เป็นแกนนำในการจัดตั้งศูนย์ประสานงานประชาคม จังหวัดน่าน รวมทั้งปัจจุบันยังเป็นที่ปรึกษาโครงการปิดทองหลังพระจังหวัดน่าน ที่มุ่งเน้นการพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน สืบสานแนวพระราชดำริ
และ 5.ประเภทประชาชน นายพงษ์ศักดิ์ ฉิ่งสุวรรณโรจน์ เจ้าของสวนนายดำ ตำบลตะโก อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร
นายพงษ์ศักดิ์ เป็นผู้มีผลงานด้านการพัฒนางานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในภาคส่วนของประชาชน ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาในระดับประเทศ เช่น การกำจัดขยะมูลฝอย การพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสีย การพัฒนาส้วมสาธารณะให้ได้มาตรฐาน สะอาด เพียงพอ และปลอดภัย หรือ HAS และมีรูปแบบสวยงาม แปลกตา จนได้รับรางวัลสุดยอดส้วมระดับประเทศ ในปี 2549 และได้รับแต่งตั้งเป็น “ทูตส้วมกรมอนามัย” ทำให้สวนนายดำ เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้การพัฒนาส้วมสาธารณะไทยของกรมอนามัย ที่มีเครือข่ายต่างๆ ทั่วประเทศมาศึกษาดูงานปีละกว่า 1 แสนคน และส้วมสาธารณะไทยได้รับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด จนเป็นแนวหน้าของประเทศในภูมิภาคอาเซียน
นอกจากนี้ ได้พัฒนา “ทุ่งตะโกโมเดล” ใช้อำเภอเป็นศูนย์กลางการพัฒนาส่งเสริมสุขภาพและสิ่งแวดล้อมแบบบูรณาการ เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของพลังภาคประชาชนในการพัฒนาสังคม ซึ่งได้ขยายผลไปเป็นนโยบาย “อำเภอสุขภาพดี 80 ปียังแจ๋ว” ของกรมอนามัยในปัจจุบัน
วันนี้ (27 พ.ย.) ศ.เกียรติยศ นพ.สงคราม ทรัพย์เจริญ ประธานมูลนิธิสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร พร้อมด้วย นพ.ประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และ นพ.ชาญวิทย์ ทระเทพ รองปลัด สธ.ร่วมแถลงข่าว ผลการคัดเลือกนักการสาธารณสุขดีเด่น รางวัลชัยนาทนเรนทร ประจำปี 2556
ศ.เกียรติยศ นพ.สงคราม กล่าวว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ทรงมีคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อวงการแพทย์และการสาธารณสุขไทย ขณะทรงเป็นอธิบดีกรมสาธารณสุขคนแรก ในปี 2461 ได้ทรงวางรากฐานงานสาธารณสุขของประเทศ ทั้งการศึกษา การฝึกอบรม การควบคุมป้องกันโรค ตลอดจนระเบียบการบริหารงานทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จนเจริญก้าวหน้าในปัจจุบัน เพื่อเทิดพระเกียรติ และเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากรด้านสาธารณสุข มูลนิธิฯ จึงได้ร่วมกับ สธ.และมหาวิทยาลัยนเรศวร จัดให้มีการมอบรางวัลแก่ผู้ที่มีผลงานด้านการพัฒนาสาธารณสุขดีเด่น ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้อัญเชิญพระนาม “ชัยนาทนเรนทร” เป็นชื่อรางวัล
ศ.เกียรติยศ นพ.สงคราม กล่าวอีกว่า สำหรับรางวัลประกอบด้วย เงินรางวัล 200,000 บาท และใบประกาศเกียรติคุณ จากมูลนิธิฯ เข็มกลัดนักการสาธารณสุขดีเด่น จาก สธ.และพระรูปหล่อจำลอง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ขนาดฐานกว้าง 5 นิ้ว สูง 15 นิ้ว จาก ม.นเรศวร โดยมูลนิธิฯ อยู่ระหว่างขั้นตอนการขอพระราชทานพระราชานุญาตจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เพื่อโปรดเกล้าฯ ให้นักการสาธารณสุขดีเด่น รางวัลชัยนาทนเรนทร เข้าเฝ้าฯรับพระราชทานเงินรางวัลและใบประกาศเกียรติคุณต่อไป
นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า การคัดเลือกนักการสาธารณสุขดีเด่น รางวัลชัยนาทนเรนทร จะพิจารณาจากบุคลากรด้านสาธารณสุข ทั้งในและนอกสังกัด สธ.ภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไป ที่มีผลงานก่อให้เกิดการสาธารณสุขที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค มีผลงานเป็นที่ประจักษ์และส่งผลในระดับชาติ อย่างน้อย 5 ปี มีความประพฤติ ปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งการครองตน ครองคน และครองงาน รวมทั้งไม่เคยถูกลงโทษทางวินัย หรืออยู่ระหว่างสอบสวนทางวินัย หรือถูกลงโทษทางคดี แบ่งเป็น 5 ประเภท ได้แก่ ประเภทบริหาร ประเภทบริการ ประเภทวิชาการ ประเภทผู้นำชุมชน และ ประเภทประชาชน
นพ.ประสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า สำหรับปี 2556 ซึ่งเป็นปีแรกของรางวัล มีผู้ได้รับการเสนอชื่อทั้งหมด 77 ราย โดยผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นนักการสาธารณสุขดีเด่น ประกอบด้วย 1.ประเภทบริหาร ได้แก่ นางเกษร วงศ์มณี สาธารณสุขอำเภอหล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ 2.ประเภทบริการ ได้แก่ นายธีระวัฒน์ แดงกะเปา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสี่แยกสวนป่า ตำบลสวนป่า อำเภอบางขัน จ.นครศรีธรรมราช 3.ประเภทวิชาการ ได้แก่ นพ.สำลี เปลี่ยนบางช้าง ผอ.องค์การอนามัยโลกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 4.ประเภทผู้นำชุมชน ได้แก่ นพ.บุญยงค์ วงศ์รักมิตร อดีต ผอ.รพ.น่าน และ 5.ประเภทประชาชน ได้แก่ นายพงษ์ศักดิ์ ฉิ่งสุวรรณโรจน์ จ.ชุมพร
ด้าน นพ.ชาญวิทย์ กล่าวว่า เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณและเชิดชูเกียรติของนักการสาธารณสุขดีเด่น ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุขประจำปี ซึ่งเป็นเวทีวิชาการที่สำคัญของบุคลากรด้านการแพทย์และการสาธารณสุขทั่วประเทศ กระทรวงสาธารณสุขจะจัดให้มีการบรรยายทางวิชาการของผู้ได้รับรางวัลทั้ง 5 คน เพื่อถ่ายทอดแนวคิดและประสบการณ์การทำงาน ไปสู่บุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุขในสังกัด ได้นำไปขยายผล ปรับใช้ในการดำเนินงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน รวมทั้งจัดนิทรรศการเผยแพร่ผลงานของนักการสาธารณสุขดีเด่นแต่ละประเภทในการประชุมวิชาการแต่ละปีด้วย
ประวัติผู้นักการสาธารณสุขดีเด่น รางวัลชัยนาทนเรนทร ปี 2556
1.ประเภทบริหาร นางเกษร วงศ์มณี สาธารณสุขอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
นางเกษร วงศ์มณี ผู้สร้างผลงานต้นแบบการเปลี่ยนแปลงสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเป็นครั้งแรกของประเทศ โดยนำแนวคิด “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” ของนายแพทย์ประเวศ วะสี มาดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม สร้างการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และใช้ประชาคมร่วมกับการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการทำงาน ทำให้ชุมชนมีความเป็นหนึ่งเดียวกัน โดยใช้โครงการ 2 บาท ร่วมลงขันสร้างสรรค์โรงพยาบาลตำบล ให้ชาวบ้านใช้เงินลงขันคนละ 2 บาทต่อเดือน เพื่อร่วมบริหารจัดการ ทำให้เกิดความรู้สึกมีส่วนร่วมและเป็นเจ้าของสถานบริการ และขยายบริการไปถึงบ้านของประชาชน ตามแนวคิด Home Ward มีทีมสุขภาพให้คำแนะนำดูแล ทำให้ได้รับรางวัลหน่วยบริการนวัตกรรมหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าดีเด่น ระดับทองประเภทการให้บริการ (Universal Coverage Innovation Award) จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2547 และเป็นที่ศึกษาดูงานของจังหวัดอื่นๆ และองค์กรต่างๆ กว่า 400 องค์กร
2.ประเภทบริการ นายธีระวัฒน์ แดงกะเปา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสี่แยกสวนป่า ตำบลสวนป่า อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช
นายธีระวัฒน์ แดงกะเปา เป็นผู้ที่ทำงานคลุกคลีกับชาวบ้านในชุมชนตั้งแต่เริ่มรับราชการในปี 2531 และมีความคิดในการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง เป็นผู้นำการจัดระบบสถานีอนามัย 24 ชั่วโมง เป็นแห่งแรกๆ จนมีการขยายผลไปทั่วประเทศ และสร้างระบบการเรียนรู้ของอสม.และประชาชนในพื้นที่ โดยจัดตั้งโรงเรียน อสม.แห่งแรกของประเทศ ที่เป็นแหล่งเรียนรู้และฝึกอบรม สร้าง “อสม.พันธุ์ใหม่ หัวใจพิสุทธิ์” ซึ่งต่อมาได้พัฒนาไปสู่โรงเรียนนวัตกรรมสุขภาพชุมชน และเป็นศูนย์เรียนรู้การสร้างและใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ องค์การอนามัยโลก ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งได้นำกระบวนการประชาคมมาใช้ในการสร้างสุขภาพในพื้นที่จนประสบความสำเร็จ อาทิ การควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกด้วยภูมิปัญญาไทย การปรับพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนเพื่อป้องกันและลดปัญหาโรคเรื้อรัง การสร้างประชาสังคมตำบลบ้านนิคม อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานภาคใต้ นครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับภาครัฐ ท้องถิ่น แกนนำชุมชน และประชาชน ศึกษากระบวนการประชาสังคมอย่างเป็นรูปธรรม ทำให้เกิดการสร้างงานสร้างคนในพื้นที่ตำบลบ้านนิคมจำนวนมาก
3.ประเภทวิชาการ นพ.สำลี เปลี่ยนบางช้าง ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศอินเดีย
นพ.สำลี เปลี่ยนบางช้าง เป็นแพทย์ไทยคนแรก ที่ได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี พ.ศ. 2547 และได้รับการลงคะแนนอย่างเป็นเอกฉันท์จากผู้แทน 11 ประเทศภาคีสมาชิกองค์การอนามัยโลก ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วย บังกลาเทศ ภูฏาน เกาหลี อินเดีย อินโดนีเซีย มัลดีฟส์ พม่า เนปาล ศรีลังกา ติมอร์-เลสเต และไทย ให้ดำรงตำแหน่งเป็นสมัยที่ 2 จนถึงปัจจุบัน ระหว่างรับราชการอยู่ในกระทรวงสาธารณสุข ได้สร้างผลงานด้านวิชาการที่ดีเด่นไว้หลายประการ เช่น ผลักดันงานสุขภาพดีถ้วนหน้าในระดับชาติในระยะเริ่มต้น จัดให้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่องานดังกล่าว ผลักดันงานสาธารณสุขมูลฐานในระดับประเทศ เป็นหัวหน้าคณะวางแผนและร่วมในการเจรจางบประมาณของโครงการ Development of Integrated Evaluation and Delivery System - โครงการลำปาง ซึ่งได้รับเงินทุนสนับสนุนโดยประเทศสหรัฐอเมริกา จำนวนประมาณ 4.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นับเป็นโครงการวิจัยและพัฒนาในด้านสุขภาพที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา
ขณะดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังคงมุ่งมั่นและให้ความสำคัญแก่การพัฒนางานสาธารณสุขมูลฐาน และระบบบริการสุขภาพของภูมิภาค โดยสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์เครือข่าย อาทิ สนับสนุนประเทศไทย โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (คณะเภสัชศาสตร์) และมหาวิทยาลัยมหิดล ให้เป็นศูนย์เครือข่ายฐานข้อมูลและการศึกษาการใช้ยาอย่างเหมาะสม สนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นฐานของเครือข่ายศูนย์ประสานความร่วมมือช่วยเหลือ (WHOCCR) และผู้เชี่ยวชาญขององค์การอนามัยโลก (WHO-Network for Collaborating Centers and Centers of Expertise (WHO New-CCET) และสนับสนุนให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์และวิทยาลัยการสาธารณสุข ได้รับการพิจารณาแต่งตั้งจากองค์การอนามัยโลกให้เป็น WHOCCR ของภูมิภาค ด้านการฝึกอบรมและพัฒนาสุขภาพ
4.ประเภทผู้นำชุมชน นพ.บุญยงค์ วงศ์รักมิตร
นพ.บุญยงค์ วงศ์รักมิตร ประธานคณะทำงานโครงการปิดทองหลังพระ สืบสานตามแนวพระราชดำริ จังหวัดน่าน (ภาคประชาคม) และเป็นแพทย์ชนบทดีเด่น อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลน่าน ผู้มีความสามารถสูงด้านการรักษาพยาบาลที่เชี่ยวชาญหลายสาขา เป็นที่ยอมรับในหมู่แพทย์อย่างกว้างขวาง และเป็นที่รักของประชาชน ขณะรับราชการ ได้พัฒนางานของโรงพยาบาล เป็นผู้ริเริ่มให้มีการจัดตั้งและพัฒนาในฝ่ายต่างๆ ของโรงพยาบาล ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์และมีคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาด้านศัลยกรรมสงคราม งานระบบส่งต่อผู้ป่วยระบบสาธารณสุขมูลฐานเขตเมือง และการส่งเสริมงานบัตรสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ และยังเป็นผู้ที่ยืนหยัดช่วยเหลือพลเรือน ทหาร ตำรวจ ที่ได้รับบาดเจ็บจากการต่อสู้กับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ในพื้นที่จังหวัดน่านและจังหวัดใกล้เคียง เป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักบริหารในวงการแพทย์และสาธารณสุขทุกระดับ
หลังเกษียณอายุราชการ ได้เป็นผู้นำท้องถิ่นที่เข้มแข็ง ก่อให้เกิดการรวมตัวของกลุ่มพลังมวลชนต่างๆ ในการพัฒนาจังหวัดน่านให้เจริญก้าวหน้า อาทิ เป็นผู้นำในการเรียกร้องให้มีการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาให้เกิดขึ้นในจังหวัดน่าน ตามนโยบายการขยายโอกาสทางการศึกษาไปสู่ชนบทของรัฐบาล เป็นแกนนำในการจัดตั้งศูนย์ประสานงานประชาคม จังหวัดน่าน รวมทั้งปัจจุบันยังเป็นที่ปรึกษาโครงการปิดทองหลังพระจังหวัดน่าน ที่มุ่งเน้นการพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน สืบสานแนวพระราชดำริ
และ 5.ประเภทประชาชน นายพงษ์ศักดิ์ ฉิ่งสุวรรณโรจน์ เจ้าของสวนนายดำ ตำบลตะโก อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร
นายพงษ์ศักดิ์ เป็นผู้มีผลงานด้านการพัฒนางานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในภาคส่วนของประชาชน ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาในระดับประเทศ เช่น การกำจัดขยะมูลฝอย การพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสีย การพัฒนาส้วมสาธารณะให้ได้มาตรฐาน สะอาด เพียงพอ และปลอดภัย หรือ HAS และมีรูปแบบสวยงาม แปลกตา จนได้รับรางวัลสุดยอดส้วมระดับประเทศ ในปี 2549 และได้รับแต่งตั้งเป็น “ทูตส้วมกรมอนามัย” ทำให้สวนนายดำ เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้การพัฒนาส้วมสาธารณะไทยของกรมอนามัย ที่มีเครือข่ายต่างๆ ทั่วประเทศมาศึกษาดูงานปีละกว่า 1 แสนคน และส้วมสาธารณะไทยได้รับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด จนเป็นแนวหน้าของประเทศในภูมิภาคอาเซียน
นอกจากนี้ ได้พัฒนา “ทุ่งตะโกโมเดล” ใช้อำเภอเป็นศูนย์กลางการพัฒนาส่งเสริมสุขภาพและสิ่งแวดล้อมแบบบูรณาการ เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของพลังภาคประชาชนในการพัฒนาสังคม ซึ่งได้ขยายผลไปเป็นนโยบาย “อำเภอสุขภาพดี 80 ปียังแจ๋ว” ของกรมอนามัยในปัจจุบัน