สธ.จับมือ สสส.และ ภาคีฯ จัดสัมมนา “เฝ้าระวังโรคระบาดอย่างมีส่วนร่วมโดยใช้เทคโนโลยีดิจิตอล” เอเชีย เสี่ยงเป็นจุดกำเนิดโรคระบาดใหม่ เน้นใช้เทคโนโลยีเชื่อมระบบสาธารณสุข ควบคุม-ติดตามโรค สร้างสังคมสุขภาวะ พบตรวจจับเร็วลดวงระบาดได้ ชี้ 1 คนติด แพร่ 12 คน
วันนี้ (21 พ.ย.) ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สถาบันเชนจ์ฟิวชั่น บริษัท โอเพ่นดรีม จำกัด และ สกอล โกลบอล เทรธส์ ฟันด์ (Skoll Global Threats Fund) จัดสัมมนา หัวข้อ “การเฝ้าระวังโรคระบาดอย่างมีส่วนร่วมโดยใช้เทคโนโลยีดิจิตอล” หรือ Digital Disease Detection (DDD) โดยมี นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โรคติดต่อถือเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องเฝ้าระวัง ในปัจจุบันโลกที่เชื่อมกันทำให้การระบาดเดินทางอย่างรวดเร็ว สิ่งที่สำคัญที่สุด จึงเป็นการตรวจจับโรคให้ได้เร็วที่สุด ซึ่งทั่วโลกมีการพัฒนาเพื่อทำให้ระบบดังกล่าวมีประสิทธิภาพที่สุด จึงจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยี การสื่อสาร มาเชื่อมกับการทำงานเพื่อเฝ้าระวังโรค ที่สำคัญคือต้องทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและมีส่วนร่วมด้วย ขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมต่อไป
ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ รองผู้จัดการ สสส.กล่าวว่า เทคโนโลยีกับสาธารณสุข ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เนื่องจากเทคโนโลยีมีความสำคัญอย่างมากต่อการส่งเสริมและป้องกันโรค ดังนั้น สสส.ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายต่างๆ พัฒนาแอปพลิเคชันด้านสุขภาพอยู่ตลอดเวลา อาทิ แอปพลิเคชัน Doctor Me, Me Sex เครื่องมือเรียนรู้เรื่องสุขภาวะทางเพศสำหรับวัยรุ่น, แอปพลิเคชัน “SaraphiHealth” เครื่องมือสำหรับจัดเก็บข้อมูลด้านสุขภาพในทุกมิติ เป็นต้น ดังนั้นยิ่งเทคโนโลยีทางการแพทย์ล้ำหน้าเท่าไหร่ ยิ่งสามารถรักษาชีวิตคนได้มากเท่านั้น
ด้าน Dr.Mark Smolinski ผู้อำนวยการ Skoll Global Threats Fund กล่าวว่า มีภารกิจที่สำคัญในการหยุดยั้งเรื่องที่เป็นภัยคุกคามต่อมนุษยชาติ ด้วยการหาวิธีการ เครือข่ายที่เข้มแข็ง และกระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติ เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาและการป้องกันในอนาคต ซึ่ง DDD เป็นการเชื่อมโยงนักนวัตกรรม และนักปฏิบัติจากหลายภาคส่วน อาทิ ผู้เชี่ยวชาญทางสาธารณสุข นักวิชาการ หน่วยงานโทรคมนาคม สื่อมวลชน หน่วยงานภาครัฐ รวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยี และผู้ที่มีความสำคัญในการสร้างระบบสาธารณสุขแบบมีส่วนร่วม เพื่อค้นหาต้นตอของโรคระบาดที่จะเกิดขึ้นใหม่ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากประเทศต่างๆ เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกัน
ในขณะนี้ทวีปเอเชียกำลังก้าวเข้าสู่การเป็นทวีปที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี แต่ขณะเดียวกันก็ยังเป็นทวีปที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นจุดกำเนิดของโรคระบาด จึงหวังว่าเทคโนโลยีในปัจจุบันจะมีศักยภาพในการช่วยให้มนุษยชาติค้นพบ และติดตามสัญญาณของโรคระบาดที่จะเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น โดยพบว่าโรคระบาดนั้น 1 คน จะสามารถติดต่อได้อีก 12 คน หากสามารถสร้างระบบการตรวจจับและรายงานโรคอย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะหยุดการแพร่ระบาดของโรคได้ในวงแคบลง
“เมื่อปี 1996 การค้นพบโรคระบาดใช้เวลาถึง 167 วัน แต่เมื่อปี 2009 ใช้เวลาค้นหาโรคระบาดเพียง 23 วัน ด้วยการสร้างระบบเฝ้าระวังโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาท ทำให้สามารหยุดสถานการณ์การระบาดได้เร็วขึ้น ดังนั้นการเสริมสร้างศักยภาพ และการสร้างเครือข่ายในทุกภาคส่วนของทวีปเอเชีย จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะลดการเกิดโรคระบาดที่จะเกิดขึ้นใหม่ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก” Dr.Mark กล่าว
Dr.Larry Brilliant ประธาน Skoll Global Threats Fund กล่าวว่า เทคโนโลยีมีความสำคัญอย่างมาก ต่อการพัฒนาวิธีการทำงานในระบบสาธารณสุข ทั้งการผสมผสานความเชี่ยวชาญ ด้านสุขภาพเข้ากับระบบการระดมความช่วยเหลือทางออนไลน์ ระบบค้นหาผ่านทางเว็บไซต์ แอปพลิเคชันบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือสื่อใหม่ออนไลน์ ดังนั้นการร่วมมือข้ามภาคส่วน จึงเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งในการค้นหาสัญญาณของสิ่งที่เป็นภัยต่อมนุษยชาติ DDD จึงถือเป็นพื้นที่หลอมรวมระหว่างเทคโนโลยี และการสาธารณสุข เพื่อสร้างสังคมที่ปลอดภัย และเป็นสังคมที่มีสุขภาวะที่ดี
วันนี้ (21 พ.ย.) ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สถาบันเชนจ์ฟิวชั่น บริษัท โอเพ่นดรีม จำกัด และ สกอล โกลบอล เทรธส์ ฟันด์ (Skoll Global Threats Fund) จัดสัมมนา หัวข้อ “การเฝ้าระวังโรคระบาดอย่างมีส่วนร่วมโดยใช้เทคโนโลยีดิจิตอล” หรือ Digital Disease Detection (DDD) โดยมี นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โรคติดต่อถือเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องเฝ้าระวัง ในปัจจุบันโลกที่เชื่อมกันทำให้การระบาดเดินทางอย่างรวดเร็ว สิ่งที่สำคัญที่สุด จึงเป็นการตรวจจับโรคให้ได้เร็วที่สุด ซึ่งทั่วโลกมีการพัฒนาเพื่อทำให้ระบบดังกล่าวมีประสิทธิภาพที่สุด จึงจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยี การสื่อสาร มาเชื่อมกับการทำงานเพื่อเฝ้าระวังโรค ที่สำคัญคือต้องทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและมีส่วนร่วมด้วย ขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมต่อไป
ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ รองผู้จัดการ สสส.กล่าวว่า เทคโนโลยีกับสาธารณสุข ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เนื่องจากเทคโนโลยีมีความสำคัญอย่างมากต่อการส่งเสริมและป้องกันโรค ดังนั้น สสส.ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายต่างๆ พัฒนาแอปพลิเคชันด้านสุขภาพอยู่ตลอดเวลา อาทิ แอปพลิเคชัน Doctor Me, Me Sex เครื่องมือเรียนรู้เรื่องสุขภาวะทางเพศสำหรับวัยรุ่น, แอปพลิเคชัน “SaraphiHealth” เครื่องมือสำหรับจัดเก็บข้อมูลด้านสุขภาพในทุกมิติ เป็นต้น ดังนั้นยิ่งเทคโนโลยีทางการแพทย์ล้ำหน้าเท่าไหร่ ยิ่งสามารถรักษาชีวิตคนได้มากเท่านั้น
ด้าน Dr.Mark Smolinski ผู้อำนวยการ Skoll Global Threats Fund กล่าวว่า มีภารกิจที่สำคัญในการหยุดยั้งเรื่องที่เป็นภัยคุกคามต่อมนุษยชาติ ด้วยการหาวิธีการ เครือข่ายที่เข้มแข็ง และกระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติ เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาและการป้องกันในอนาคต ซึ่ง DDD เป็นการเชื่อมโยงนักนวัตกรรม และนักปฏิบัติจากหลายภาคส่วน อาทิ ผู้เชี่ยวชาญทางสาธารณสุข นักวิชาการ หน่วยงานโทรคมนาคม สื่อมวลชน หน่วยงานภาครัฐ รวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยี และผู้ที่มีความสำคัญในการสร้างระบบสาธารณสุขแบบมีส่วนร่วม เพื่อค้นหาต้นตอของโรคระบาดที่จะเกิดขึ้นใหม่ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากประเทศต่างๆ เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกัน
ในขณะนี้ทวีปเอเชียกำลังก้าวเข้าสู่การเป็นทวีปที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี แต่ขณะเดียวกันก็ยังเป็นทวีปที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นจุดกำเนิดของโรคระบาด จึงหวังว่าเทคโนโลยีในปัจจุบันจะมีศักยภาพในการช่วยให้มนุษยชาติค้นพบ และติดตามสัญญาณของโรคระบาดที่จะเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น โดยพบว่าโรคระบาดนั้น 1 คน จะสามารถติดต่อได้อีก 12 คน หากสามารถสร้างระบบการตรวจจับและรายงานโรคอย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะหยุดการแพร่ระบาดของโรคได้ในวงแคบลง
“เมื่อปี 1996 การค้นพบโรคระบาดใช้เวลาถึง 167 วัน แต่เมื่อปี 2009 ใช้เวลาค้นหาโรคระบาดเพียง 23 วัน ด้วยการสร้างระบบเฝ้าระวังโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาท ทำให้สามารหยุดสถานการณ์การระบาดได้เร็วขึ้น ดังนั้นการเสริมสร้างศักยภาพ และการสร้างเครือข่ายในทุกภาคส่วนของทวีปเอเชีย จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะลดการเกิดโรคระบาดที่จะเกิดขึ้นใหม่ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก” Dr.Mark กล่าว
Dr.Larry Brilliant ประธาน Skoll Global Threats Fund กล่าวว่า เทคโนโลยีมีความสำคัญอย่างมาก ต่อการพัฒนาวิธีการทำงานในระบบสาธารณสุข ทั้งการผสมผสานความเชี่ยวชาญ ด้านสุขภาพเข้ากับระบบการระดมความช่วยเหลือทางออนไลน์ ระบบค้นหาผ่านทางเว็บไซต์ แอปพลิเคชันบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือสื่อใหม่ออนไลน์ ดังนั้นการร่วมมือข้ามภาคส่วน จึงเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งในการค้นหาสัญญาณของสิ่งที่เป็นภัยต่อมนุษยชาติ DDD จึงถือเป็นพื้นที่หลอมรวมระหว่างเทคโนโลยี และการสาธารณสุข เพื่อสร้างสังคมที่ปลอดภัย และเป็นสังคมที่มีสุขภาวะที่ดี